ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

การบันทึกเสียงที่แอบบันทึกขณะมีการสนทนา ศาลสามารถให้นำมารับฟังได้ในระหว่างสืบพยาน เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 ไม่ได้บัญญัติห้ามไม่ให้นำไปใช้กับการแสวงหาพยานหลักฐานของบุคคลธรรมดา

อ้างอิงจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2555 ที่ได้วางบรรทัดฐานใหม่เอาไว้อย่างชัดเจนว่า พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบแต่ได้มาโดยการกระทำที่ไม่ชอบโดยเอกชน ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226/1

 

คำพิพากษาย่อ (ย่อสั้น)

 

การแอบบันทึกเทปขณะที่มีการสนทนากันระหว่างโจทก์ร่วมกับพยานและจำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์ร่วมและพยานไม่ทราบมาก่อน เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานนั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 แม้หลักกฎหมายดังกล่าวจะใช้ตัดพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานของรัฐเพื่อคุ้ม ครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนมิให้เจ้าพนักงานของรัฐใช้วิธีการแสวงหาพยานหลัก ฐานโดยมิชอบ แต่ ป.วิ.อ. มาตรา 226 ไม่ได้บัญญัติห้ามไม่ให้นำไปใช้กับการแสวงหาพยานหลักฐานของบุคคลธรรมดา อย่างไรก็ตาม ระหว่างพิจารณาคดีได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมาตรา 11 บัญญัติให้เพิ่มมาตรา 226/1 ป.วิ.อ. กำหนดให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบได้ ถ้าพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอัน เกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญา ศาลจึงนำบันทึกเทปดังกล่าวมารับฟังได้

 

 

คำพิพากษาฉบับเต็ม (ย่อยาว)

 

โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 337, 337 ประกอบมาตรา 86, 362, 364, 365, 91 ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้เงิน 100,000 บาท แก่ผู้เสียหาย


จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ


ระหว่างพิจารณา นายสมชาย ผู้เสียหาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต


ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 วรรคแรก, 365 (1) (2) ประกอบมาตรา 362, 364 การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 337 วรรคแรก ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 3 ปี ให้จำเลยที่ 2 คืนหรือใช้เงิน 100,000 บาท แก่โจทก์ร่วม ส่วนจำเลยที่ 1 ให้ยกฟ้อง


จำเลยที่ 2 อุทธรณ์


ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 และยกคำขอที่ให้จำเลยที่ 2 คืนหรือใช้เงิน 100,000 บาท แก่โจทก์ร่วมด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น


โจทก์และโจทก์ร่วมฎีกา


ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เห็นว่า ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวันประกอบกับนางชิดได้พูดเสนอให้เงินคนร้าย 100,000 บาท หากพยานมองไม่เห็นหน้าจะเจรจาต่อรองกับคนร้ายได้อย่างไร ไม่ปรากฏว่าคนร้ายทั้งสี่ได้อำพรางใบหน้าแต่อย่างใด เชื่อว่าถ้าพยานเคยเห็นหน้าหรือรู้จักกันมาก่อนก็ย่อมจำได้ว่าเป็นใคร

 

นอกจากนี้โจทก์ร่วมตอบคำถามค้านทนายจำเลยที่ 2 ว่า หลังจากจำเลยที่ 2 ถูกดำเนินคดีแล้วจำเลยที่ 2 เคยมาพูดคุยกับโจทก์ร่วมเกี่ยวกับคดีจะมีการบันทึกเสียงไว้หรือไม่ โจทก์ร่วมไม่ทราบ

 

ทนายจำเลยที่ 2 ได้นำเทปบันทึกเสียงพร้อมกับบันทึกการถอดเทปมาประกอบการถามค้านโจทก์ร่วมและอ้างเป็นพยานวัตถุและพยานเอกสาร ซึ่งแสดงว่าการบันทึกเทปดังกล่าวเป็นการแอบบันทึกขณะที่มีการสนทนากัน ระหว่างโจทก์ร่วมกับพยานและจำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์ร่วมและพยานไม่ทราบมาก่อน จึงเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226

 

แม้หลักกฎหมายดังกล่าวจะใช้ตัดพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานของรัฐเพื่อคุ้ม ครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในกรณีเจ้าพนักงานของรัฐใช้วิธีการแสวงหาพยาน หลักฐานโดยมิชอบ

 

แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 ไม่ได้บัญญัติห้ามไม่ให้นำไปใช้กับการแสวงหาพยานหลักฐานของบุคคลธรรมดา

 

แต่อย่างไรก็ตามระหว่างพิจารณาคดีได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมาตรา 11 บัญญัติให้เพิ่มมาตรา 226/1 ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบได้ถ้าพยานหลักฐานนั้นจะเป็น ประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐาน ของระบบงานยุติธรรมทางอาญา

 

เห็นว่า บทบัญญัติดังกล่าวเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 จึงต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับในการรับฟังพยานหลักฐานของจำเลยที่ 2

 

ดังนั้น เทปบันทึกเสียงรวมทั้งบันทึกการถอดเทปดังกล่าวแม้จะได้มาโดยมิชอบ แต่เมื่อศาลนำมาฟังจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอัน เกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญาตามบทบัญญัติดังกล่าว

 

ศาลฎีกาจึงนำพยานหลักฐานดังกล่าวมารับฟังได้ เมื่อพิจารณาเนื้อหาจากบันทึกการถอดเทปดังกล่าวได้ใจความว่าโจทก์ร่วมไม่ สมัครใจและไม่มีความเป็นอิสระในการชี้ตัวจำเลยที่ 2 จึงมีข้อสงสัยตามสมควรว่าโจทก์ร่วมและนางกุลพยานโจทก์และโจทก์ร่วมได้ชี้ภาพถ่ายจำเลยที่ 2 และตัวจำเลยที่ 2 ผิดตัวหรือไม่

 

พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีเหตุอันควรแก่การสงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ฎีกาของโจทก์และโจทก์ร่วมฟังไม่ขึ้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามา ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย


พิพากษายืน

 

คำพิพากษาฉบับเต็ม

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2542 เวลากลางวัน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านเบิก อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี กับพวกอีก 3 คนที่หลบหนีไม่ได้ตัวมาฟ้อง ร่วมกันบุกรุกเข้าไปภายในบ้านอันเป็นเคหสถานที่อยู่อาศัยของนายสมชาย เพียรแย้ม ผู้เสียหาย โดยไม่มีเหตุอันสมควร และโดยไม่ได้รับอนุญาต แล้วร่วมกันตรวจค้นจับกุมผู้เสียหายโดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยปกติสุข

 

จากนั้นจำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมให้หรือยอมจะให้เงิน 100,000 บาท แก่จำเลยที่ 2  โดยจำเลยกับพวกร่วมกันใส่กุญแจมือผู้เสียหายไขว้หลัง ทำให้ผู้เสียหายปราศจากเสรีภาพในร่างกายจนยินยอมมอบเงินส่วนที่ขาด 30,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 กับพวกผ่านจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีภูธรอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

 

ในภายหลัง จำเลยที่ 1 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่จับกุมจำเลยที่ 2 กับพวก เมื่อพบเหตุดังกล่าว อันเป็นการมิชอบต่อหน้าที่เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 2 กับพวกในการกระทำความผิดดังกล่าวโดยพูดไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่ 2 กับพวกรับเงิน 70,000 บาท จากผู้เสียหาย และต่อมาผู้เสียหายกับพวกนำเงิน 30,000 บาท มาชำระคืนแก่จำเลยที่ 1 อันเป็นการสนับสนุนจำเลยที่ 2 กับพวกในการกระทำความผิดต่อกฎหมาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 337, 337 ประกอบมาตรา 86, 362, 364, 365, 91 ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้เงิน 100,000 บาท แก่ผู้เสียหาย
 

จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ
 

ระหว่างพิจารณา นายสมชาย แย้มเพียร ผู้เสียหาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต
 

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 วรรคแรก, 365(1)(2) ประกอบมาตรา 362, 364 การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 337 วรรคแรก ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 3 ปี ให้จำเลยที่ 2 คืนหรือใช้เงิน 100,000 บาทแก่โจทก์ร่วม ส่วนจำเลยที่ 1 ให้ยกฟ้อง
 

จำเลยที่ 2 อุทธรณ์
 

ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 และยกคำขอที่ให้จำเลยที่ 2 คืนหรือใช้เงิน 100,000 บาท แก่โจทก์ร่วมด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
 

โจทก์และโจทก์ร่วมฎีกา
 

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า

“พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นฟังได้ว่า ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง มีคนร้ายสี่คนอ้างตนเองว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นจับกุมนายสมชาย แย้มเพียร โจทก์ร่วม โดยกล่าวหาว่าขายเมทแอมเฟตามีน แล้วเรียกเงิน 100,000 บาท เมื่อโจทก์ร่วมยินยอมจ่ายให้จึงปล่อยตัวโจทก์ร่วมอันเป็นการกรรโชกทรัพย์ โจทก์ร่วม คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์และโจทก์ร่วมว่า จำเลยที่ 2 ร่วมเป็นคนร้ายกรรโชกทรัพย์โจทก์ร่วมหรือไม่

 

ได้ความจากพยานโจทก์และโจทก์ร่วมปากนายสมชายซึ่งเป็นโจทก์ร่วมและนางกุล ชูเชิด ภริยาโจทก์ร่วมว่า

 

หลังเกิดเหตุถูกคนร้ายกรรโชกทรัพย์ประมาณ 4 ถึง 5 วัน เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางพลีได้นำหมายค้นเข้าค้นบ้านโจทก์ ร่วมแต่ไม่พบสิ่งผิดกฎหมาย และโจทก์ร่วมได้โวยวายว่าเพิ่งถูกตรวจค้นและเสียเงินไป 100,000 บาท เจ้าพนักงานตำรวจที่มาตรวจสอบถามว่าเสียเงินให้ใคร โจทก์ร่วมจึงแจ้งเรื่องที่ถูกกรรโชกทรัพย์ให้ทราบ

 

เจ้าพนักงานตำรวจจึงนำโจทก์ร่วมและนางกุลไปสอบปากคำและให้ดูภาพถ่ายเจ้าพนักงานตำรวจของสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางพลี

 

โจทก์ร่วมและนางกุลจำได้และชี้ภาพถ่ายจำเลยที่ 2 ตามบันทึกการชี้รูปและภาพถ่ายหมาย จ.2 จ.9 และ จ.10

 

ต่อมาจำเลยที่ 2 เข้ามอบตัวต่อสู้คดี พนักงานสอบสวนจัดให้โจทก์ร่วมและนางกุลชี้ตัวจำเลยที่ 2 ได้ถูกต้องตามบันทึกการชี้ตัวผู้ต้องหาและภาพถ่ายเอกสารหมาย จ.4 จ.12 และ จ.13

 

แต่กลับได้ความจากโจทก์ร่วมตอบโจทก์ว่า รู้จักกับจำเลยที่ 2 มาก่อนเนื่องจากเป็นญาติทางมารดา ก่อนเกิดเหตุเคยมาที่บ้านและไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกัน หากเป็นจริงดังที่โจทก์ร่วมตอบโจทก์ เหตุไฉนเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรบางพลีสอบถามว่าใครเป็นคนกรรโชกทรัพย์ ในวันเกิดเหตุโจทก์ร่วม ทำไมไม่ระบุชื่อจำเลยที่ 2 เลย หาจำต้องไปดูภาพถ่ายของเจ้าพนักงานตำรวจของสถานีตำรวจภูธรอำเภอบางพลีไม่

 

ส่วนพยานโจทก์และโจทก์ร่วมปากนางชิด บัวทอง มารดาโจทก์ร่วมตอบคำถามค้านทนายจำเลยที่ 2 ว่า วันเกิดเหตุจำหน้าและลักษณะของคนร้ายทั้งสี่คนไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นญาติกันไม่ทราบชื่อและชื่อสกุลจริงเรียกจ่าน้อย

 

ดังนั้น ในวันเกิดเหตุถ้าจำเลยที่ 2 อยู่ในที่เกิดเหตุด้วย เชื่อว่านางชิดน่าจะจำหน้าได้

 

ที่นางชิดตอบทนายโจทก์ว่า ก่อนเกิดเหตุตาเป็นต้อกระจกไม่สามารถจำชายคนร้ายทั้งสี่คนได้

 

เห็นว่า ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางวันประกอบกับนางชิดได้พูดเสนอให้เงินคนร้าย 100,000 บาท หากพยานมองไม่เห็นหน้าจะเจรจาต่อรองกับคนร้ายได้อย่างไร ไม่ปรากฏว่าคนร้ายทั้งสี่ได้อำพรางใบหน้าแต่อย่างใด เชื่อว่าถ้าพยานเคยเห็นหน้าหรือรู้จักกันมาก่อนก็ย่อมจำได้ว่าเป็นใคร

 

นอกจากนี้โจทก์ร่วมตอบคำถามค้านทนายจำเลยที่ 2 ว่าหลังจากจำเลยที่ 2 ถูกดำเนินคดีแล้ว จำเลยที่ 2 เคยมาพูดคุยกับโจทก์ร่วมเกี่ยวกับคดีจะมีการบันทึกเสียงไว้หรือไม่ โจทก์ร่วมไม่ทราบ

 

ทนายจำเลยที่ 2 ได้นำเทปบันทึกเสียงพร้อมกับบันทึกการถอดเทปมาประกอบการถามค้านโจทก์ร่วมและอ้างเป็นพยานวัตถุและพยานเอกสารตาม ว.ล.1 และ ว.ล.3

 

ซึ่งแสดงว่าการ บันทึกเทปดังกล่าวเป็นการแอบบันทึกขณะที่มีการสนทนากันระหว่างโจทก์ร่วมกับ พยานและจำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์ร่วมและพยานไม่ทราบมาก่อน จึงเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ ห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 แม้หลักกฎหมายดังกล่าวจะใช้ตัดพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในกรณีที่เจ้าพนักงานของรัฐใช้วิธีการแสวงหาพยาน หลักฐานโดยมิชอบ

 

แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 ไม่ได้บัญญัติห้ามไม่ให้นำไปใช้กับการแสวงหาพยานหลักฐานของบุคคลธรรมดา

 

แต่อย่างไรก็ตาม ระหว่างพิจารณาคดีได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมาตรา 11 บัญญัติให้เพิ่มเติมมาตรา 226/1 ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบได้ ถ้าพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอัน เกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญา

 

เห็นว่า บทบัญญัติดังกล่าวเป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 จึงต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับในการรับฟังพยานหลักฐานของจำเลยที่ 2

 

ดังนั้น เทปบันทึกเสียงรวมทั้งบันทึกการถอดเทปดังกล่าว แม้จะได้มาโดยมิชอบแต่เมื่อศาลนำมาฟังจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความ ยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญาตามบทบัญญัติดังกล่าว

 

ศาลฎีกาจึงนำพยานหลักฐานดังกล่าวมารับฟังได้ เมื่อพิจารณาเนื้อหาจากบันทึกการถอดเทปดังกล่าว ได้ใจความว่าโจทก์ร่วมไม่สมัครใจและไม่มีความเป็นอิสระในการชี้ตัวจำเลยที่ 2 จึงมีข้อสงสัยตามสมควรว่า โจทก์ร่วมและนางกุลพยานโจทก์และโจทก์ร่วมได้ชี้ภาพถ่ายจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ผิดตัวหรือไม่

 

พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีเหตุอันควรแก่การสงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรค 2 ฎีกาของโจทก์และโจทก์ร่วมฟังไม่ขึ้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษา ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย”
 

พิพากษายืน

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226/1

 

คู่ความ

พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ        โจทก์
นายสมชาย แย้มเพียร        โจทก์ร่วม
จ่าสิบตำรวจ ยุทธนา ศรีตระกูล กับพวก        จำเลย

 

ผู้พิพากษา

วัชรินทร์ ปัจเจกวิญญูสกุล
พิศล พิรุณ
ปิ่น ศรีเมือง

 

อ่าน : วิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาที่ 2281/2555 :สถานะของพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบโดยเอกชน ได้เพิ่มเติมที่นี่ครับ http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1907



16/Jul/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา