ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ลูกจ้างลงลายมือในสัญญาจ้างแล้ว แม้นายจ้างยังไม่ได้ลงลายมือชื่อ ถือว่าสัญญาจ้างแรงงานเกิดขึ้นแล้ว ต่อมานายจ้างระงับการทำสัญญา ลูกจ้างฟ้องค่าเสียหายได้

อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2557

 

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายคลื่นวิทยุมีกำหนด 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 ตกลงค่าจ้างเดือนละ 45,000 บาท ต่อมาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 อันเป็นวันก่อนที่โจทก์จะเริ่มทำงานเพียง 1 วัน จำเลยบอกเลิกสัญญา โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหาย 335,000 บาท

 

จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญาจ้างดังกล่าวยังไม่เป็นสัญญาจ้างตามกฎหมายเนื่องจากโจทก์ลงนามฝ่ายเดียว ผู้อำนวยการใหญ่ของจำเลยยังไม่ได้ลงนาม ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินจำนวน 45,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย

 

จำเลยอุทธรณ์

 

ศาลฎีกาเห็นว่า ในการทำสัญญาจ้างพนักงานของจำเลยมิได้ปรากฏความตอนใดเลยว่า การบรรจุแต่งตั้งพนักงานของจำเลยนั้นจะต้องมุ่งทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือ ทั้งตามข้อบังคับก็มิได้กำหนดหลักเกณฑ์การต้องทำสัญญาจ้างพนักงานเป็นหนังสือไว้ ประกอบกับสัญญาจ้างก็มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวเช่นกัน

 

ดังนั้นการที่จำเลยอนุมัติตำแหน่งงานของโจทก์ จึงได้ทำสัญญาจ้างและให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้ จึงเป็นการที่โจทก์สนองรับการเสนอการจ้างจำเลย ก่อให้เกิดเป็นสัญญาจ้างแรงงานระหว่างกัน ซึ่งทุกฝ่ายมีสิทธิและหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวแล้ว แม้ตามสัญญาจ้างกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของจำเลยยังมิได้ลงลายมือชื่อไว้ก็ตาม แต่เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องภายในของจำเลยเท่านั้น จำเลยจึงมีสิทธิและหน้าที่ต้องผูกพันตามสัญญาจ้างแล้ว



27/Aug/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา