ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

การที่นายจ้างด่วนเลิกจ้างลูกจ้างหลังจากลูกจ้างทำงานเพียง ๕๐ วัน และไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๒ จำเลยจ้างโจทก์ทำงานตำแหน่งรองผู้อำนวยการ ค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกสิ้นเดือน วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้กระทำความผิด อ้างว่าโจทก์ไม่เหมาะสมกับงานที่ทำให้มีผลเลิกจ้างวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๒ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอบังคับให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย พร้อมดอกเบี้ย

 

จำเลยให้การว่า จำเลยจ้างโจทก์ มีกำหนดระยะเวลาจ้างนับแต่วันที่ ๒๖ เมษายน – ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๒ ก่อนเริ่มงาน โจทก์ตกลงกับจำเลยว่า โจทก์จะดำเนินการติดตั้งตู้สมาร์ทล็อกเกอร์ ๒๐๐ ชุด ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๒ แต่เวลาผ่านไปเกือบสองเดือน โจทก์กลับไม่มีผลงานใด ๆ ประพฤติตัวไม่เหมาะสม

 

จำเลยให้โจทก์ทราบถึง ผลงานและปรับเปลี่ยนความประพฤติเสียใหม่ แต่โจทก์กลับไม่เข้าทำงานนับแต่วันที่ ๒๒ – ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์

 

ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยโดยนาย A ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและธุรการ เป็นผู้ติดต่อกับโจทก์ให้มาทำงาน ผ่านเอเจนซี่จัดหางานของสาธารณรัฐประชาชนจีน

 

ต่อมาวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒ เวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น. จำเลยไล่โจทก์ออกด้วยวาจา การที่โจทก์ไม่กลับไปทำงานตั้งแต่ วันที่ ๒๒ – ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ จะถือว่าขาดงานไม่ได้ แม้จำเลยจะกล่าวอ้างว่าโจทก์ทำงานไม่ได้ตามเป้าหมายก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงการทำงานแล้ว โจทก์ทำงานได้เพียง ๕๐ วัน จะครบ ๓ เดือน ในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๒ และการเจรจากับผู้ที่ต้องใช้บริการติดตั้งตู้สมาร์ทล็อกเกอร์นั้นก็เป็นเรื่องที่จะต้องใช้เวลาในการเจรจาตกลง ทั้งจะต้องรอการประเมินของผู้ต้องการใช้บริการ สภาพพื้นที่

 

การที่จำเลยด่วนเลิกจ้าง โจทก์หลังจากโจทก์ทำงานเพียง ๕๐ วัน และไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร พิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ๒๐๐,๐๐๐ บาท สินจ้างแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้า ๒๖๖,๖๖๖.๖๗ บาท ค่าจ้างค้างจ่าย ๙๕,๙๓๓.๔๒ บาท พร้อมดอกเบี้ย

 

จำเลยอุทธรณ์ ในทำนองว่าสัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและกำหนดความสำเร็จของงานไว้เป็น การแน่นอนตายตัวการเลิกจ้างจึงไม่ถือว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร

 

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ เห็นว่า การพิจารณาว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ หรือไม่ หาใช่ พิจารณาแต่เพียงว่านายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาจ้างตามข้อตกลงในสัญญาจ้างประการเดียวเท่านั้นไม่ แต่จะต้องพิจารณาด้วยว่ากรณีการเลิกจ้างมีเหตุแห่งการเลิกจ้างและเป็นเหตุอันสมควรเลิกจ้างหรือไม่

 

ดังนั้นเมื่อจำเลยด่วนเลิกจ้างโจทก์หลังทำงานได้เพียง ๕๐ วัน ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลแรงงานฯ มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษไม่รับวินิจฉัย

 

อ้างอิงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๗๓๑/๒๕๖๓ (เลิกจ้างไม่เป็นธรรม)

 



22/Aug/2020

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา