ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ย้อนมองสถานการณ์แรงงานข้ามชาติในรอบปี 2558 : ได้สิทธิแรงงานน้อยนิด อยู่อย่างปกปิด และมักถูกลืมในกฎหมายคุ้มครองแรงงานเสมอ

อย่างน้อยมาถึงวันนี้ก็ไม่จำเป็นต้องถกเถียงแล้วว่า “แรงงานข้ามชาติ” สำคัญอย่างไรกับประเทศไทย เพราะกลุ่มแรงงานที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไม่ใช่เพียงแค่แรงงานในระบบและแรง งานนอกระบบเท่านั้น เคยมีนักเศรษฐศาสตร์คำนวณไว้ว่า ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยได้รับจากการจ้างแรงงานข้ามชาติในปี 2555 ช่วยเพิ่มผลผลิตมวลรวม (GDP) ประเทศไทย ให้เพิ่มขึ้นประมาณ 0.5-1.2 % ของ GDP ทั้งหมดในปีนั้น สอดคล้องกับงานวิจัยเรื่อง “แรงงานข้ามชาติและขีดความสามารถของเศรษฐกิจไทย” ของ ศ.ดร.พิริยะ ผลพิรุฬห์ เมื่อปี 2557 ก็ระบุชัดเจนว่า “ถ้ามีการจ้างแรงงานข้ามชาติไร้ทักษะร้อยละ 10 จะสามารถประหยัดต้นทุนต่อเงินเดือนได้ประมาณ 5,746 บาทต่อคนต่อปี บริษัทจะมีกำไรเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 21 และจะลงทุนมากขึ้นร้อยละ 8”

 

ตัวเลขของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 ระบุว่า ประเทศไทยมีแรงงานข้ามชาติที่มาจากประเทศพม่า ลาว กัมพูชา ที่ถูกกฎหมาย รวมทั้งสิ้น 2,388,782 คน (พม่า 1,499,679 คน ลาว 204,335 คน และกัมพูชา 684,768 คน) โดยแยกเป็น

2015-12-17 13.25.01

 

  • กลุ่มที่พิสูจน์สัญชาติเดิม ซึ่งเป็นแรงงานที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยไม่ถูกต้องตามกฎหมายแต่มีการปรับ สถานะให้ถูกต้องผ่านการพิสูจน์สัญชาติ จำนวน 1,042,674 คน
  • กลุ่มที่นำเข้าตาม MOU ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลพม่า ลาว และกัมพูชา 281,315 คน
  • กลุ่มที่จดทะเบียนแบบ One Stop Service เมื่อวันที่ 1 เมษายน- 30 มิถุนายน 2558 จำนวน 1,010,391 คน
  • กลุ่มกิจการประมงทะเล จำนวน 54,402 คน

 

แรงงานข้ามชาติใน 2 กลุ่มแรกได้กระจายตัวทำงานอยู่ในกิจการต่างๆ 10 อันดับแรก ได้แก่ ก่อสร้าง 236,204 คน, การให้บริการต่างๆ เช่น การซักอบรีด การบริการที่พัก 221,870 คน, เกษตรและปศุสัตว์ 170,348 คน, กิจการต่อเนื่องการเกษตร 128,404 คน, ต่อเนื่องประมงทะเล 97,132 คน, ผลิตหรือจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป 79,800 คน, จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม 56,768 คน, งานรับใช้ในบ้าน 44,302 คน, ผลิตหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติก 43,160 คน และค้าส่ง ค้าปลีก แผงลอย 34,909 คน

 

โดยทำงานอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการมากที่สุด จำนวน 112,895 คน รองลงมาสมุทรสาคร 145,004 คน ปทุมธานี 134,593 คน กรุงเทพมหานคร 109,701 คน และเชียงใหม่ 81,625 คน ตามลำดับ

 

สำหรับการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติแบบ One Stop Service ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน- 30 มิถุนายน 2558 เพื่อให้แรงงานมารายงานตัวเพื่อขอรับบัตรใหม่ รวมทั้งสิ้น 1,049,326 คน โดยเป็นแรงงานข้ามชาติ 1,010,391 คน (พม่า 436,154 คน ลาว 135,150 คน และกัมพูชา 439,087 คน) และ ผู้ติดตาม 38,935 คน แรงงานข้ามชาติกลุ่มนี้ถูกเรียกว่า “กลุ่มบัตรสีชมพู” ได้รับสิทธิผ่อนผันให้ทำงานอยู่ในประเทศไทยได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2559 และอยู่ในระหว่างการพิสูจน์สัญชาติกับประเทศต้นทาง

 

แรงงานกลุ่มนี้ทำงานอยู่ในพื้นที่ต่างๆของประเทศไทย 5 อันดับแรก คือ กรุงเทพมหานคร 220,749 คน, สมุทรปราการ 62,255 คน, ปทุมธานี 59,399 คน, สมุทรสาคร 59,547 คน และชลบุรี 100,680 คน

 

DSC07634

ส่วนกิจการประมงทะเล ที่จดทะเบียนใหม่ในช่วงเวลาเดียวกัน มีจำนวนทั้งสิ้น 54,402 คน (พม่า 30,479 คน ลาว 1,159 คน กัมพูชา 22,764 คน)

 

นอกจากนั้นแล้วในประเทศไทยยังมีแรงงานข้ามชาติกลุ่มเด็กที่ยังไม่สามารถ ทำงานได้แต่อาศัยอยู่ในประเทศไทย จำนวนกว่า 3 แสนกว่าคนที่เป็นการสำรวจขององค์กรพัฒนาเอกชนด้านการศึกษาเด็กต่างชาติ

 

อีกทั้งยังมีแรงงานข้ามชาติกลุ่มอื่นๆที่ไม่ได้มาจดทะเบียนให้ถูกต้องตาม กฎหมาย และยังหลบซ่อนตัวอีกไม่น้อยทำงานอยู่ ปรากฏเป็นข่าวกรณีตำรวจเข้าจับกุมแทบทุกวัน ซึ่งยังไม่ทราบจำนวนที่แท้จริง

 

เมื่อพิจารณาแนวโน้มโครงสร้างประชากรไทยที่มีอัตราการเกิดต่ำและการเข้า สู่สังคมผู้สูงอายุ จึงพบว่าวันนี้แรงงานข้ามชาติไม่ได้แค่ทำงานในครัวเรือนที่เป็นลูกจ้างทำงาน บ้าน บนเรือประมง ในเรือกสวนไร่นาตามภาคเกษตร บนตึกสูงนั่งร้านไซท์ก่อสร้าง หรือในร้านอาหาร ที่เรียกว่างานประเภท 3D Dangerous Difficult and Dirty เพียงเท่านั้นแล้ว แต่ยังพบแรงงานข้ามชาติในภาคอุตสาหกรรมอีกจำนวนมาก อย่างน้อยกว่า 404,932 คน ซึ่งไม่ใช่เพียงในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม แต่ยังพบในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน รวมถึงภาคไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

 

อ้างอิงจากสถิติผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติในระบบประกันสังคม ข้อมูล ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2558 สำนักงานประกันสังคมระบุว่า มีจำนวนผู้ประกันตนต่างชาติทั้งหมด 489,914 คน  คิดเป็นร้อยละ 4.81 ของจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33 ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกันตนสัญชาติพม่า จำนวน 305,709 คน สัญชาติกัมพูชา จำนวน 87,433 คน สัญชาติลาว จำนวน 11,790 คน และสัญชาติอื่นๆ จำนวน 84,982 คน

 

โดยทั่วไปแล้วเมื่อแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทย อย่างน้อยประโยชน์จากการเข้ามาทำงาน คือ ได้รับทักษะทางอาชีพที่เป็นประโยชน์และสามารถส่งเงินรายได้กลับบ้านเป็นค่า ใช้จ่ายของครอบครัว ใช้ปรับปรุงบ้านเรือน ใช้ในการลงทุนค้าขาย ทำให้เกิดธุรกิจขนาดเล็กและกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนประเทศต้นทาง ส่วนใหญ่แล้วแรงงานข้ามชาติเกือบทั้งหมดมีพื้นฐานมาจากภาคการเกษตร ในอนาคตแรงงานกลุ่มนี้จะคุ้นเคยกับการทำงานในระบบอุตสาหกรรมมากขึ้น มีความรู้และมีฝีมือดีขึ้น พัฒนาเป็นแรงงานกึ่งทักษะและเป็นหัวหน้างานในประเทศไทยเนื่องจากมี ประสบการณ์ทำงานเป็นเวลานาน

 

อย่างไรก็ตามแรงงานข้ามชาติอีกส่วนหนึ่งกลับไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร ทั้งไม่ได้รับทักษะด้านอาชีพและไม่สามารถเก็บเงินหรือส่งเงินกลับบ้านได้ ยิ่งไปกว่านั้นมีแรงงานส่วนหนึ่งที่ตกเป็นเหยื่อของกระบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งเกิดจากสาเหตุของระบบการจ้างแรงงานของรัฐบาลไทยที่ไม่มีประสิทธิภาพ เป็นช่องทางให้ขบวนการผิดกฎหมายลักลอบส่งแรงงานเข้าเมือง มีการปลอมแปลงเอกสารเข้าเมือง และการเรียกเก็บค่าบริการสูงเกินจริง แม้จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อย และมีผู้ถูกละเมิดสิทธิเป็นจำนวนมาก แต่การบริหารจัดการเพื่อหยุดยั้งการค้ามนุษย์เป็นเรื่องที่ทำได้ยากจน กระทั่งบัดนี้ เพราะมีขบวนการที่ซับซ้อนและมีผลประโยชน์มหาศาล

 

เมื่อแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทย ไม่ว่าแรงงานผู้นั้นจะเป็นแรงงานถูกหรือไม่ถูกกฎหมายก็ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เป็นกฎหมายที่ไม่ได้ยกเว้นการคุ้มครองบุคคลผู้นั้นเมื่อมีสถานะเป็น “ลูกจ้าง” ที่จักต้องได้รับสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดไว้ทุกประการ เฉกเช่นเดียวกับแรงงานไทย

 

แต่กลับพบว่าในรอบปี 2558 ที่ผ่านมา บทบาทของกระทรวงแรงงานดำเนินการแค่เพียง 2 เรื่องเท่านั้น คือ

 

  • การขยายการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ และผู้ติดตามที่ยังไม่ผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติออกไปเป็นเวลาอีก 1 ปี (ซึ่งขณะนี้ได้เปิดให้มีการจดทะเบียนในกลุ่มแรงงานเวียดนาม) โดยผ่านศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ในทุกจังหวัด เพื่อจัดทำทะเบียนประวัติ ออกบัตรประจำตัว ตรวจสุขภาพ และออกใบอนุญาตทำงานชั่วคราวในระหว่างที่รอการพิสูจน์สัญชาติ เมื่อเดือนเมษายน-มิถุนายน 2558

 

ซึ่งในขณะนี้ก็พบว่าเกิดปัญหาในกลุ่มที่มีการจ้างงานครบ 4 ปี และ 6 ปี กล่าวคือ มีจดหมายลงวันที่ 16 ธันวาคม 2558 (ที่ รง 0307/ว133167) จากกรมจัดหางานถึงจัดหางานทุกจังหวัดว่า แรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่าที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้ว และครบกำหนดวาระการจ้างงาน 4 ปี หรือ 6 ปี นายจ้างต้องยื่นคำร้องขอนำแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานใหม่ภายใต้ MOU เท่านั้น

 

โดยมีเงื่อนไขว่า (1) ไม่อนุญาตให้บุคคลธรรมดานำเข้าแรงงานข้ามชาติ (2) ไม่อนุญาตให้ทำงานในตำแหน่งผู้รับใช้ในบ้าน (3) ในการนำเข้าแรงงานข้ามชาติเพศหญิง ต้องมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 5 คน / ครั้ง (4) การยื่นคำร้องขอนำเข้าแรงงานข้ามชาติแต่ละครั้ง สามารถระบุจำนวนได้ไม่เกิน 400 คน/ครั้ง (5) การอนุญาตให้แรงงานจากพม่าเข้ามาทำงานประเทศไทยนั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบ จากคณะรัฐมนตรีของประเทศพม่า

 

อย่างไรก็ตามในช่วงนี้หากนายจ้างมีความประสงค์จะจ้างแรงงานข้ามชาติกลุ่มเดิมต่อไป ทางการพม่าและทางการไทยได้มีการหารือเพื่อผ่อนปรนเงื่อนไขดังกล่าว โดยต้องรีบยื่นคำร้องขอนำเข้าแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานภายใต้ MOU แทน

 

นอกจากปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังพบปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวกับกระบวนการพิสูจน์สัญชาติด้วยเช่นกัน

 

(2) ขยายเวลาการจดทะเบียนแรงงานประมง ณ ศูนย์ประสานงานแรงงานประมงในจังหวัดชายทะเล 22 จังหวัด มีการออกกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล

 

แต่สำหรับในเรื่องการปกป้องและคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติแล้ว พบว่ายังมีความย่อหย่อนและไร้ประสิทธิภาพในการดำเนินการเรื่องนี้อย่างมาก จากการติดตามสถานการณ์แรงงานข้ามชาติโดยเฉพาะในกลุ่มที่ทำงานในสถานประกอบ การในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ผ่านการรับเรื่องร้องเรียนจากองค์กรสมาชิกของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) มาตลอดปี 2558 พบปัญหาการเข้าไม่ถึงการคุ้มครองด้านสิทธิแรงงาน ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญมาก ดังนี้

 

อ่านต่อทั้งหมดได้ที่นี่ click หรือกดตรงนี้



17/Dec/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา