ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

สรุปการเสวนา เรื่อง “พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ผลกระทบต่อการใช้สิทธิของแรงงานตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518”

สรุปการเสวนา เรื่อง “พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ผลกระทบต่อการใช้สิทธิของแรงงานตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518” จัดโดยสมาพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับ INDUSTRIALL GLOBAL UNION วันศุกร์ที่ 25  มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 10.00-16.00 น. ณ  ศูนย์ฝึกอบรมเพื่อคนทำงาน ต.บางเกลือ อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา

 

ข้อสรุปสำคัญ

 

(1) ไม่มีกฎหมายฉบับใดที่จะเขียนขึ้นมาแล้วสมบูรณ์ ทุกฉบับต่างมีช่องว่างอย่างแน่นอน ดังนั้นการตีความจะเป็นอย่างไร มองว่าถ้าเป็นเวลาช่วงบ้านเมืองอยู่ในภาวะปกติ โอกาสที่การตีความจะเอื้อกับแรงงาน ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ก็จะมีมากกว่าในภาวะบ้านเมืองแบบนี้ ที่มองว่าการชุมนุมเป็นเรื่องการก่อความรำคาญและทำให้สังคมได้รับผลกระทบมาก ทำให้จึงถูกมองในแง่ของการเข้าข่ายตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 เป็นตัวตั้งในการตัดสินใจมากกว่า เช่น ไปปิดถนน ให้คนอื่นสัญจรไม่ได้ ไม่กล้าสัญจร

 

(2) ทางตัวแทนจากกระทรวงแรงงานเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าเพราะยังไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน จึงส่งผลต่อความลักลั่นในการดำเนินการที่คาบเกี่ยวกับการชุมนุมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 หลายประการ โดยเฉพาะระยะเวลาการชุมนุมที่มีความยากมากที่จะแจ้งก่อน 24 ชั่วโมง ทั้งนี้รับปากว่าจะนำประเด็นที่เป็นช่องว่างและไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าควรจะดำเนินการอย่างไร กลับไปหารือกับกระทรวงแรงงานต่อไป รวมทั้งการหารือกับสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในแต่ละจังหวัดถึงกรณีการชุมนุมของแรงงานตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 

 

(3) การดำเนินการในตอนนี้เมื่อยังไม่ชัดเจนและไม่มีแนวปฏิบัติ ตัวแทนจากกระทรวงแรงงานเสนอแนะว่าให้แจ้งสถานีตำรวจในพื้นที่ตามขั้นตอนจะเป็นทางที่เหมาะสมและเพื่อเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งกันและกัน เป็นการแจ้งเพื่อทราบ ไม่ใช่เพื่ออนุมัติหรือต้องอนุญาตว่าทำได้ไม่ได้แต่อย่างใด

 

(4) สำหรับการชุมนุมในพื้นที่เอกชนทุกกรณีถือว่าไม่ใช่สถานที่สาธารณะ จึงไม่เข้าเงื่อนไขกฎหมายการชุมนุมสาธารณะจึงไม่ต้องแจ้งตำรวจ นอกจากว่าจะเลยออกมาใช้พื้นที่สาธารณะ นั้นก็เป็นอีกกรณีที่ต้องแจ้ง ถ้าตำรวจไม่เข้าใจในกรณีนี้ก็ต้องอธิบายให้เข้าใจ เพราะตำรวจจำนวนมากก็ยังใหม่กับกฎหมายนี้และยังไม่เข้าใจแนวปฏิบัติเช่นเดียวกัน เป็นข้อสัญญาของเอกชนกับเอกชน รัฐไม่สามารถแทรกแซงได้

 

(5) ตราบใดที่กระทรวงแรงงานยังไม่จัดทำแนวปฏิบัติออกมา สิ่งที่แรงงานจะต้องเตรียมไว้ก่อนที่จะจัดชุมนุม ได้แก่ (5.1) เตรียมลาหยุดงานในวันทำงานอย่างน้อยควรมากกว่า 3 วัน เพราะตามกฎหมายแล้วถ้าคนงานขาดงานติดต่อกัน 3 วัน สามารถถูกให้ออกจากงานถูกเลิกจ้างได้ ถ้าเกิดมีการชุมนุมยืดเยื้อหรือผู้นำแรงงานมีเหตุให้ต้องถูกดำเนินคดี (5.2) การเตรียมเครื่องสแกนวัตถุระเบิด อาวุธต่างๆ เพราะคงไม่สามารถควบคุมได้ว่าใครจะนำหรือไม่นำอาวุธเข้ามาในที่ชุมนุม (5.3) การเตรียมเงินประกันตัวให้พร้อมยามเกิดกรณีคดีความต่างๆ 

 

 

อ่านสรุปทั้งฉบับได้ที่นี่ CLICK



27/Mar/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา