ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

14 กันยายน 2559 อย่าขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแบบ “เสียไม่ได้”: ภาพสะท้อนความไร้น้ำยาของบอร์ดค่าจ้างแบบไทยๆ

ระหว่างกำลังดื่มด่ำกับกาแฟถ้วยโปรด ดิฉันก็นั่งอ่านบทความเรื่องหนึ่งไปด้วย พลันก็ทำให้กาแฟตรงหน้าราวกับไม่อร่อยไปพริบตาและไม่อยากดื่มอีกต่อไป หลังจากได้อ่านบทความของยงยุทธ แฉล้มวงษ์ จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยเรื่อง “ถึงเวลาปรับค่าจ้างขั้นต่ำได้หรือยัง” ซึ่งเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์คมชัดลึกเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา และอยู่ในช่วงเวลาที่คณะกรรมการค่าจ้างจะมีการพิจารณาขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำปี 2560 ในวันที่ 14 กันยายน 2559 ที่จะถึงนี้

 

โดยมีแนวโน้มว่าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะพิจารณาเป็นรายพื้นที่แทน โดยอ้างอิงจากภาพรวมการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำที่อนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด 77 จังหวัด เสนอมาที่ 4-60 บาท ใน 13 จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ สกลนคร พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ชลบุรี อ่างทอง สระบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร กระบี่ ภูเก็ต นราธิวาส ส่วนอีก 64 จังหวัดที่เหลือไม่เสนอขอปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแต่อย่างใด

 

แม้เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปไม่ว่าจะซื้อกาแฟ Amazon , Starbucks , D'Oro, Black Canyon , บ้านไร่กาแฟ กระทั่งในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น (7-Eleven) ที่จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก หนองคาย นครสวรรค์ สงขลา ฉะเชิงเทรา สระบุรี นครราชสีมา สมุทรสงคราม หรือในกรุงเทพ รสชาติจะเหมือนกันทุกร้าน เฉกเช่นเดียวกับราคาที่ต้องจ่ายค่ากาแฟก็จะเท่ากันหมดทุกพื้นที่

 

สาระสำคัญในบทความสามารถสรุปได้ว่า

 

(1) นับตั้งแต่ประเทศไทยขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับแรงงานแรกเข้าเป็น 300 บาท และใช้มาตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน ปรากฏว่ายังมีแรงงานทั่วประเทศไม่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 2.11 ล้านคน หรือ 14.8 % โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีคนทำงานไม่เกิน 50 คน ในจังหวัดนราธิวาส (67 %) แม่ฮ่องสอน (58 %) ปัตตานี (55 %) ยะลา (55 %) ตรัง (52 %) ตาก (48 %) สตูล (48 %) กำแพงเพชร (47 %) แพร่ (46 %) และระนอง (4.3 %)

 

(2) แม้สหภาพแรงงานจะเรียกร้องมาตั้งแต่ปี 2558 แต่คณะกรรมการค่าจ้างแห่งชาติก็ยังขอเวลาตรวจสอบข้อมูลจากคณะกรรมการค่าจ้างจังหวัด พบว่า จังหวัดที่มีความพร้อมที่จะเห็นด้วยที่จะให้ขึ้นค่าจ้างมีมากขึ้นเป็นหลัก 10 จังหวัด (ไม่ทราบจำนวนชัดเจน) ด้วยเรื่องค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งแน่นอนไม่เท่ากันในแต่ละจังหวัด และทำให้ค่าเงิน 300 บาทที่เคยได้รับ เมื่อเทียบกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้อำนาจซื้อของแรงงานในแต่ละจังหวัดลดลงทุกปีไปด้วย


(3) ปัจจัยที่ไม่สนับสนุนการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เช่น ความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง, ตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะฟื้นตัวช้า และควันหลงจากการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศก็ยังไม่หมดไป

 

(4) ข้อเสนอส่วนตัวของผู้เขียน คือ ขอให้คณะกรรมการค่าจ้างแห่งชาติพิจารณาปรับค่าจ้างขั้นต่ำโดยอัตโนมัติตามสภาวะของค่าเฉลี่ยดัชนีค่าครองชีพ (CPI) ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาให้กับแรงงานทุกจังหวัดโดยอัตโนมัติ เนื่องจาก CPI แต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน ดังนั้นค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับจะไม่เท่ากันในแต่ละจังหวัด

 

(5) ส่วนนายจ้างจะขึ้นค่าจ้างเพิ่มเติมจากค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับตามค่าครองชีพแล้ว (การขึ้นค่าจ้างประจำปี) เป็นเรื่องของผู้ประกอบการที่จะพิจารณากันต่อไปเอง และจะให้ดียิ่งขึ้นไปอีกนายจ้างก็ควรขึ้นค่าจ้างตามความสามารถหรือสมรรถนะของแรงงาน ก็จะทำให้ทั้งแรงงานและนายจ้างมีความพึงพอใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย

 

ใครบางคนเคยบอกดิฉันไว้ว่า “แค่เกิดมาเป็นกรรมกรในโรงงาน ทำงานได้แค่ในไลน์ผลิต ก็ผิดตั้งแต่เกิดแล้ว” คำพูดนี้จึงไม่เลื่อนลอยแต่อย่างใดเลย เราแทบจะไม่เคยเห็นการออกมาตั้งคำถามของสังคมต่อเรื่องการขึ้นเงินเดือนของข้าราชการ นักการเมือง ทหาร ตำรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กระทั่งภาครัฐวิสาหกิจ ว่าทำไมต้องขึ้นเงินเดือนเท่ากันทั่วประเทศ ทำไมไม่ขึ้นเงินเดือนคนเหล่านี้ตามดัชนีค่าครองชีพ (CPI) ในแต่ละจังหวัดแทน เหมือนกรรมกรในโรงงานบ้าง

 

รศ.แล ดิลวิทยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงต้องย้ำบ่อยครั้งว่า

 

“ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเรื่องของลูกจ้าง เป็นค่าต่อลมหายใจ จะเอาฐานะที่แตกต่างของนายจ้างมากำหนดปากท้องของลูกจ้างไม่ได้ ค่าจ้างขั้นต่ำไม่ใช่ตัวแปรที่หมุนไปตามกำลังจ่ายของนายจ้าง ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นปัจจัยชนิดที่ต่อรองไม่ได้ ไม่ใช่แบบค่าจ้างทั่วไปหรือโบนัสที่จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามสภาพผลประกอบการ

 

ถ้าเศรษฐกิจตกต่ำก็ไปลดค่าจ้างอื่นๆ ลดรายจ่ายอื่นๆ ไม่ใช่เอามาต่อรองให้ลูกจ้างกินน้อยอยู่น้อยอย่างต่ำกว่าระดับความจำเป็นที่จะดำรงชีวิตได้

 

เป็นเอสเอ็มอีก็น่าเห็นใจถ้าจ่ายไม่ไหว แต่คำถามคือ รัฐบาลจะเห็นความจำเป็นที่ต้องมีเอสเอ็มอีนั้นไว้หรือไม่ ถ้าจำเป็น รัฐบาลก็ต้องหาทางช่วย แต่ถ้าไม่จำเป็น การที่คุณประกอบธุรกิจใดๆ แล้วไม่สามารถเลี้ยงคนให้เป็นคนได้ คุณมีสิทธิประกอบธุรกิจนั้นหรือไม่”

 

ดิฉันขอใช้พื้นที่นี้อีกครั้งในการถกเถียงว่า “ทำไมกรรมกร-คนงานต้องปรับค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ” ซึ่งแน่นอนจะกี่บาทก็ว่ากันไป แม้จะเบื่อหน่าย หงุดหงิด และเอือมระอากับพวกนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักมากเพียงใดก็ตาม กับความซ้ำซากในการอธิบายเรื่องนี้เมื่อเสียงกรรมกรเบาหวิว ไร้สาระ และไม่เคยถูกรับฟังอย่างจริงจังเสียที

 

อ่านต่อทั้งฉบับได้ที่นี่ download หรือ click ที่นี่



11/Sep/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา