ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ กฎกระทรวงกําหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ 


ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป 


ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ แห่งกฎกระทรวงกําหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน 


“ข้อ ๖ ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ ๕ สําหรับลูกจ้างรายใดไม่เพียงพอให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นเพิ่มขึ้น โดยเมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาล 
ตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ แล้ว ต้องไม่เกินหนึ่งล้านบาท เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ 
ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นที่เพิ่มขึ้นจนสิ้นสุดการรักษา แต่ไม่เกินสองล้านบาท 
(๑) ลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรกจนสิ้นสุดการรักษา 
(๒) ลูกจ้างมีความจําเป็นหรือมีเหตุสมควรที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรก แต่ภายหลังได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ 
การจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์ 
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ” 
ข้อ ๓ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับรวมถึงลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และยังคงรักษาพยาบาลอยู่จนถึงวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ 

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ 
พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน


หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่การกําหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่ายตามกฎกระทรวงกําหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. ๒๕๕๘ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรกําหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลให้แก่ลูกจ้างกรณีเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐ ให้สอดคล้องกับลักษณะของการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างที่จะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามความจําเป็นจนสิ้นสุดการรักษา แต่ไม่เกินสองล้านบาท เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป จึงจําเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้



24/Jul/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา