ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เผยผลการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคี ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม 2560 กสร. ได้จัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการไตรภาคี ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จำนวน 3 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการค่าจ้าง คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน และคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง โดยจัดให้มีการเลือกตั้งพร้อมกันทั่วประเทศ ทั้งนี้มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้าง จำนวน 79 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิ 106 คน คิดเป็นร้อยละ 74.53 และผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง จำนวน 215 คน จากผู้มีสิทธิลงคะแนนทั่วประเทศ 299 คน คิดเป็นร้อยละ 71.91 สำหรับผลการลงคะแนนมีรายละเอียดดังนี้

 

คณะกรรมการค่าจ้าง (ฝ่ายละ 5 คน) ผู้ได้รับการเลือกตั้งฝ่ายนายจ้าง ได้แก่ 1.นางเนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย 2.นางสาวอัจรีย์ งามพร้อมสกุล 3.นายอรรถยุทธ ลียะวณิช 4.นายคมกฤษณ์ กิตติจำเริญ และ 5.นายอังสุรัสมิ์ อารีกุล ผู้ได้รับการเลือกตั้งฝ่ายลูกจ้าง ได้แก่ 1.นายสุชาติ ไทยล้วน 2.นายหัสชัย พยาบาล 3.นายสุชาต อิงไธสง 4.นายพิจิตร ดีสุ่ย และ 5.นายวีรสุข แก้วบุญปัน

 

คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน (ฝ่ายละ 5 คน) ผู้ได้รับการเลือกตั้งฝ่ายนายจ้าง ได้แก่ 1.นายศุภชัย หล่อวณิชย์ 2.นายกรกฤต ขจรวิริยกุล 3.นายกานต์ สุมาลี 4.นายนฤมิต ปรีดาวิภาต และ5. นายปรัชญา หงสกุล ผู้ได้รับการเลือกตั้งฝ่ายลูกจ้าง ได้แก่ 1.นายชยรบ ใหญ่สูงเนิน 2.นางสาวกัลยา ศรีดาวเรือง 3.นางจรินทร์ อินสีชื่น 4.นายธนภัทร ประชานันท์ และ5.นายอภิสิทธิ์ชัย ผลอุดม

 

คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง (ฝ่ายละ 5 คน) ผู้ได้รับการเลือกตั้งฝ่ายนายจ้าง ได้แก่ 1.นางมณีรัตน์ นีลไชยศักดิ์ 2.นายชัยยันต์ เจริญโชคทวี 3.นายเกษม มหัทธนทวี 4.นายสุชาติ เจียรจิตเลิศ และ5.นางสาวชนิดา เจียรธนะกานนท์ ผู้ได้รับการเลือกตั้งฝ่ายลูกจ้าง ได้แก่ 1.นายสุชีพ ทองขาว 2.นายสมชาย มูฮัมหมัด 3.นายสมโภชน์ อ้นชัยยะ 4.นายวรนนท์ สีระสา และ5.นายพิชัย สนน้อย

 

อธิบดีกสร. กล่าวต่อไปว่า คณะกรรมการฯ ไตรภาคีทั้ง 3 คณะ ที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่นี้จะทำหน้าที่แทนคณะกรรมการชุดเดิมที่หมดวาระไป ซึ่งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

 

ประจำวันที่  28  สิงหาคม 2560  ข่าวที่  269/2560

นายพฤกษ์ พรหมพันธุม : ข่าว

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน



04/Sep/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา