ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

สถานการณ์ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนกองทุนการออมแห่งชาติ ณ เดือนตุลาคม 2556

ประเด็นสำคัญที่นำเสนอในเอกสารฉบับนี้

(1) ความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องมีกฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติ

 

(2) กว่าจะเป็นกฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติ : การขับเคลื่อนของกระทรวงการคลัง และเครือข่ายแรงงานนอกระบบ (2550-2554)

 

(3) การขับเคลื่อนของเครือข่ายแรงงานนอกระบบภายหลังกฎหมายประกาศใช้เมื่อ 12 พฤษภาคม 2554

 

(4) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลก็เกิดความเปลี่ยนแปลง 7 สาระสำคัญในกฎหมาย: สิงหาคม 2555

 

(5) การประกาศใช้กองทุนการออมล่าช้า ภาพสะท้อนความไม่มั่นคงทางการเงินในยามชราภาพ

 

(6) ข้อเสนอจากเวทีสมัชชาแรงงานนอกระบบ : 3-4 ตุลาคม 2555

 

(7) 29 กรกฎาคม 2556 เครือข่ายบำนาญภาคประชาชนเดินหน้าฟ้องศาลปกครอง: เมื่อรัฐบาลยัง “นิ่งดูดาย” ไม่บังคับใช้ พ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554

 

(8) สิงหาคม-ตุลาคม 2556: ยุบเลิกพ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ.2554 ประกาศใช้มาตรา 40 ประกันสังคมแรงงานนอกระบบ เมนู 3
 

ภายหลังจากที่เครือข่ายแรงงานบำนาญประชาชนได้ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2556-กรกฎาคม 2556 ไม่ว่าจะเป็นการเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รวมถึงการยื่นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรถึง 3 ฉบับ เพื่อหารือถึงแนวทางการบังคับใช้กฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติในเร็ววัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลโดยกระทรวงการคลังก็ยังนิ่งดูดาย

 

ดังนั้นในวันที่ 29 กรกฎาคม 2556 เครือข่ายบำนาญภาคประชาชน (คบช.) จึงได้เข้าชื่อเพื่อยื่นฟ้องศาลปกครอง กรณีรัฐบาลไม่เปิดรับสมาชิกตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 (กอช.) โดยมีนายวสันต์ พานิช ทำหน้าที่ทนายความในคดีนี้

 

โดยเครือข่ายบำนาญประชาชนให้เหตุผลสำคัญในการยื่นฟ้องครั้งนี้ ดังนี้

 

พระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 เป็นกฎหมายสำคัญฉบับหนึ่งของประเทศไทย ที่มุ่งเน้นเรื่องการส่งเสริมการออมของภาคประชาชนที่ไม่ใช่ข้าราชการหรือลูกจ้างที่ได้รับประโยชน์ทดแทนบำเหน็จบำนาญ ถือว่าเป็นแนวทางหนึ่งเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางด้านหลักประกันชราภาพในชีวิตของผู้สูงอายุที่ยากจน

 

ทั้งนี้กฎหมายฉบับดังกล่าวนี้ได้บังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2554 และตามกระบวนการ กระทรวงการคลังจะต้องเริ่มเปิดรับสมัครสมาชิกตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นมา

 

พ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นผลมาจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 84 (4) ที่บัญญัติไว้ว่า จัดให้มีการออมเพื่อการดำรงชีพในยามชราแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างทั่วถึง และตามบทเฉพาะกาลของ พ.ร.บ.กองทุนการออม กำหนดให้ภายใน 1 ปีแรกที่เปิดรับสมาชิก คือ ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 จะเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่ไม่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญใดๆ สามารถออมต่อได้อีก 10 ปี เพื่อให้มีสิทธิขอรับบำนาญได้ตอนอายุครบ 60 ปี 

 

นางอรุณี ศรีโต ประธานเครือข่ายบำนาญภาคประชาชน (คบช.) กล่าวว่า “วันนี้ตนเองและคณะมาขอใช้สิทธิในฐานะผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย จากการงดเว้นการกระทำของกระทรวงการคลัง ที่ไม่มีการบังคับใช้กฎหมายกองทุนการออมในเร็ววัน เพราะเห็นได้ชัดจากในช่วงการประชุมพิจารณางบประมาณประจำปี 2557 ที่รัฐสภา นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แสดงเจตนาชัดเจนว่าไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมาย และใช้อำนาจรัฐมนตรีขัดต่อ พ.ร.บ.กองทุนการออม พ.ศ. 2554 ด้วยการตัดเรื่องการจัดสรรงบประมาณปี 2557 ให้กองทุนการออมแห่งชาติ

 

โดยให้เหตุผลว่า การที่รัฐบาลไม่ได้จัดงบประมาณอุดหนุนเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ เพราะเห็นว่าปัจจุบันมีกฎหมายตาม พ.ร.บ.กองทุนประกันสังคม พ.ศ.2533 ในมาตรา 40 ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบของภาครัฐและเอกชน สามารถส่งเงินสมทบร่วมกับภาครัฐได้อยู่แล้ว นี้คือภาพสะท้อนสำคัญของรัฐมนตรีที่ปฏิเสธและไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

 

แม้ที่ผ่านมารัฐบาลจะมีนโยบายสนับสนุนให้แรงงานนอกระบบเข้าเป็นผู้ประกันตนตามพ.ร.บ.ประกันสังคม พงศ.2533 มาตรา 40 ให้ครบ 2.6 ล้านคนภายในสิ้นปี 2556 แต่ที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้มีผู้ประกันตนเพียง 1.2 ล้านคนเท่านั้น ซึ่งพบว่าในจำนวนนี้มีผู้ประกันตนจ่ายเงินไม่สม่ำเสมอถึงกว่า 50% นี้คือภาพของความล้มเหลวในการทำให้แรงงานนอกระบบเข้าเป็นสมาชิกตามมาตรา 40

 

สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลต่อความเสียหายสำคัญที่เกิดขึ้น รวม 4 ข้อดังนี้

 

(1) การไม่เปิดรับสมาชิกตามพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ ถือได้ว่าเป็นการละเมิดต่อสิทธิได้รับบำนาญตลอดชีพในอนาคตของประชาชนจำนวนมาก เพราะเป็นการไม่ปฏิบัติการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 84 (4) ที่บัญญัติให้รัฐจัดให้มีการออมเพื่อการดำรงชีพในยามชราแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง อีกทั้งยังเป็นการขัดกับรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 270 กรณีจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญดังกล่าว

 

(2) การเลื่อนเวลาการเปิดรับสมัครสมาชิก จึงก่อให้เกิดผลเสียหายโดยตรงกับแรงงานนอกระบบ ที่มีความตั้งใจจะสร้างหลักประกันยามชราภาพ และหากยังมีการเลื่อนเวลาออกไปก็ยิ่งทำให้ระยะเวลาของจ่ายเงินสะสมและการได้เงินสมทบจากรัฐบาลต้องลดลงตามระยะเวลาที่เลื่อนออกไป โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีอายุใกล้ 60 ปี ก็จะเสียโอกาสในการได้รับหลักประกันและการมีรายได้ในยามชรา โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระและผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่มีสิทธิสมัครเป็นสมาชิกกองทุนฯ 12 ล้านคน ต้องเสียโอกาสในการสะสมเงินเข้ากองทุนนี้โดยปริยาย

 

(3) จากข้อมูลทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง  กระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2554 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) รวมทั้งสิ้น 7.79 ล้านคน หรือประมาณ 12.38% ของจำนวนประชากรในประเทศ และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 17.5%ในปี พ.ศ. 2563 และ 25.1% ในปี พ.ศ.2573 ดังนั้นกล่าวได้ว่าประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาอัตราภาวะเจริญพันธุ์ลดลง ผู้สูงอายุไทยมากกว่าครึ่งเคยหรือกำลังพึ่งพาการเกื้อหนุนทางการเงินจากลูกหลาน แต่ในอนาคตจะเป็นไปได้ยาก ประกอบกับผู้สูงอายุไทยมีอายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ดังนั้นในหลักการแล้ว สังคมไทยจะต้องพึ่งพาระบบบำนาญ แต่การที่ยังไม่เปิดให้มีการรับสมัครสมาชิกยิ่งทำให้รัฐบาลเองต้องเสียงบประมาณแผ่นดินเข้าไปเกื้อหนุน ผู้สูงอายุเหล่านั้นในรูปแบบอื่นๆ

 

เนื่องจากผลการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 31 ไม่มีการเก็บออม และผู้สูงอายุร้อยละ 42 มีปัญหารายได้ไม่เพียงพอสำหรับการดำรงชีวิต ซึ่งสังคมต้องดูแลและรัฐต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อดูแลกลุ่มผู้สูงอายุในอนาคต ปัจจุบันแม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจำนวน 500 บาทต่อเดือน แต่ไม่เพียงพอสำหรับค่าครองชีพ ดังนั้นเพื่อการรักษาระดับค่าครองชีพในยามชรา ผู้สูงอายุจำเป็นต้องมีเงินออมหรือรายได้เสริมจากแหล่งอื่นๆมาสมทบ

 

(4) แม้ว่ารัฐบาลจะอ้างเรื่องการที่เพิ่มมาตรา 40 ในทางเลือกที่ 3 ของกฎหมายประกันสังคมแล้ว ซึ่งแน่นอนตามหลักการสามารถทำได้ แต่ในหลักธรรมาภิบาล การนำเงินของกลุ่มคนที่ไม่ใช่ข้าราชการ ไม่ได้เป็นสมาชิกประกันสังคม ซึ่งรวมแล้วใหญ่กว่าแรงงานนอกระบบไปให้ข้าราชการ นายจ้าง ลูกจ้างดูแล ถือเป็นการผิดหลักธรรมมาภิบาลที่ดี และผิดหลักการบริหารจัดการที่ดี

 

ทั้งนี้การฟ้องคดีของเครือข่ายบำนาญประชาชนในครั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ที่กำหนดไว้ว่า ผู้ใดได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องมาจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้

 

อ่านทั้งฉบับได้ที่นี่ click : สถานการณ์ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนกองทุนการออมแห่งชาติ ณ เดือน ตุลาคม 2556



25/Nov/2013

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา