ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

กฎหมายและกลไกที่ใช้คุ้มครอง “ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย”

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 กระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ.2555) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เพื่อให้ “ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย” (ซึ่งขออนุญาตใช้คำว่า คนรับใช้ตามบ้านหรือแม่บ้าน) ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานบางส่วนนั้น ปรากฏว่ามีหลายท่านยังไม่ทราบถึงกฎกระทรวงฉบับนี้ บางท่านก็ไม่ทราบว่ากฎหมายให้ความคุ้มครองเต็มที่เช่นเดียวกับลูกจ้างตามบริษัทห้างร้านหรือไม่ จึงขออธิบายง่ายๆดังนี้



สิทธิบางอย่างที่ลูกจ้างทำงานบ้านได้รับการคุ้มครองเพิ่มตามกฎกระทรวงฉบับนี้ (2555) รวม 6 ข้อ

มาตรา 28 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน

มาตรา 29 ให้นายจ้างกำหนดวันหยุดตาม ประเพณีให้ลูกจ้างปีหนึ่งไม่น้อยกว่า สิบสามวัน

มาตรา 32 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง

มาตรา 56 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับ ค่าจ้างในวันทำงานสำหรับวันหยุด
(1) วันหยุดประจำสัปดาห์ 2) วันหยุดตามประเพณี (3) วันหยุดพักผ่อนประจำปี


มาตรา 57 (เฉพาะวรรค 1) ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วย ตาม มาตรา 32 เท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอด ระยะเวลาที่ลาแต่ปีหนึ่งต้องไม่เกินสามสิบวันทำงาน


มาตรา 62 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจำปี ให้นายจ้างจ่ายค่าทำ งานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง

 

อย่างไรก็ตามปัญหาของกฎกระทรวงฉบับใหม่ (2555) ก็มิให้ใช้บังคับตามมาตราต่อไปนี้


มาตรา 23 การกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวัน วันหนึ่งต้องไม่เกินแปดชั่วโมงและเมื่อรวม เวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง


มาตรา 33 การลาเพื่อทำหมันได้และ ลาเนื่องจากการทำหมันตามระยะเวลาที่แพทย์แผนปัจจุบันกำหนด


มาตรา 36 การลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนา ความรู้ความสามารถ


มาตรา 39 การให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ ทำงานในระหว่างเวลา 22.00 นาฬิกา ถึงเวลา 06.00 นาฬิกา ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด

มาตรา 41 การให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอด บุตรครรภ์หนึ่งไม่เกินเก้าสิบวัน

มาตรา 42 การให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ ซึ่งมีใบรับรอง มาแสดง ขอให้นายจ้างพิจารณา เปลี่ยนงานที่เหมาะสมให้แก่ลูกจ้างเป็นการชั่วคราว

มาตรา 43 การนายจ้างเลิกจ้างซึ่งเป็นหญิงเพราะ เหตุมีครรภ์

มาตรา 59 การให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็น หญิงในวันลาเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอด ระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกินสี่สิบห้าวัน


มาตรา 61 ให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างอัตราไม่ น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานในกรณีที่ ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา



รวมถึงค่าจ้างขั้นต่ำก็ยังไม่ได้ด้วยเช่นเดียวกัน เพราะอยู่ในข้อยกเว้นของประกาศคณะกรรมการค่าจ้างฉบับล่าสุด

อีกทั้งการเข้าสู่ประกันสังคม ก็เข้าได้เฉพาะมาตรา 40 ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มแรงงานนอกระบบ แต่มาตรา 33 ยังไม่สามารถเข้าได้


เหล่านี้คือสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองคนเป็นลูกจ้างทำงานบ้านทั้งหมด

ทุกท่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน link ที่แนบมานี้
กดที่นี่ http://thanaiphorn.com/files/housekeeper_law.pdf

 

เรียบเรียงโดย : บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ 28 พฤศจิกายน 2556



28/Nov/2013

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา