ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

รู้จักศาลทหารและข้อสังเกตเรื่องเขตอำนาจ

กฎหมายเกี่ยวกับศาลทหาร : รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 228 พระราชบัญญัติธรรมนูญทหาร พ.ศ.2498

โครงสร้างศาลทหาร : ศาลทหารอยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหม มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบงานธุรการ

ปัจจุบันมีพลเอกจิระ โกมุทพงศ์ เป็นเจ้ากรมพระธรรมนูญรับผิดชอบงานฝ่ายบริหาร มีพลเรือโท กฤษดา เจริญพานิช เป็นหนัวหน้าสำนักตุลาการทหาร มีพลตรี ขวัญชัย สมนึก เป็นหัวหน้าอัยการทหาร


ลำดับชั้นของศาลทหาร : ศาลทหารแบ่งออกเป็นสามชั้น คือ

(1) ศาลทหารชั้นต้น

(2) ศาลทหารกลาง

(3) ศาลทหารสูงสุด

ศาลทหารชั้นต้น แบ่งออกเป็น

(1) ศาลจังหวัดทหาร ทุกจังหวัดทหารให้มีศาลจังหวัดทหารศาลหนึ่ง เว้นแต่จังหวัดทหารที่ตั้งกองบัญชาการมณฑลทหาร มีอำนาจพิจารณาคดีฐานความผิดยกเว้นคดีที่จำเลยเป็นนายทหารสัญญาบัตร พิพากษาคดีที่จะลงโทษสูงไม่ได้

(2) ศาลมณฑลทหาร ทุกมณฑลทหารให้มีศาลมณฑลทหารศาลหนึ่ง เว้นแต่มณฑลทหารที่ตั้งศาลทหารกรุงเทพ มีอำนาจพิจารณาคดีฐานความผิดยกเว้นคดีที่จำเลยเป็นนายทหารชั้นนายพล

(3) ศาลทหารกรุงเทพ มีเขตอำนาจไม่จำกัดพื้นที่ พิจารณาพิพากษาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมายโดยไม่จำกัดยศของจำเลย

(4) ศาลประจำหน่วยทหาร ตั้งขึ้นเมื่อหน่วยทหารปฏิบัติหน้าที่อยู่นอกราชอาณาจักร หรือกำลังเดินทาง และมีกำลังทหารไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน

"ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ" คือ ศาลทหารชั้นต้น ในเวลาที่มีสงคราม หรือการประกาศใช้กฎอัยการศึก จะมีระเบียบวิธีพิจารณาที่แตกต่างไปบ้าง

ศาลอาญาศึก : ในเวลาที่มีการรบหรือการสงคราม หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก เมื่อหน่วยทหารหรือเรือรบอยู่ในยุทธบริเวณ จะตั้งศาลอาญาศึกก็ได้ ศาลอาญาศึกมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทุกบทกฎหมายและไม่จำกัดตัวบุคคล ซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจ


ตุลาการศาลทหาร : ตุลาการทหาร อาจเป็นนายทหารที่ไม่รู้กฎหมายก็ได้ แต่ตุลาการพระธรรมนูญเป็นนายทหารที่มีความรู้กฎหมาย

ศาลทหารชั้นต้น ต้องมีตุลาการสามนายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา คือ นายทหารชั้นสัญญาบัตรสองนาย ตุลาการพระธรรมนูญหนึ่งนาย

ศาลอาญาศึก ต้องมีตุลาการสามนาย เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาตุลาการต้องเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร (ไม่ต้องมีตุลาการพระธรรมนูญก็ได้)

ศาลทหารกลางต้องมี ตุลาการห้านายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา คือ นายทหารชั้นนายพลหนึ่งหรือสองนาย นายทหารชั้นนายพัน นายนาวา หรือนายนาวาอากาศขึ้นไป หนึ่งหรือสองนาย ตุลาการพระธรรมนูญสองนาย

ศาลทหารสูงสุดต้องมีตุลาการห้านายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา คือ นายทหารชั้นนายพลสองนาย ตุลาการพระธรรมนูญสามนาย

การพิจารณาคดีของศาลทหาร :

ศาลทหารในเวลาปกติ ผู้เสียหายที่เป็นทหารเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาเองได้ ผู้เสียหายที่เป็นพลเรือน ต้องมอบคดีให้ศาลทหาร ศาลทหารในเวลาไม่ปกติและศาลอาญาศึก ต้องให้อัยการทหารเท่านั้นเป็นโจทก์

ศาลทหารในเวลาปกติและศาลทหารในเวลาไม่ปกติ ให้จำเลยมีทนายได้ ศาลอาญาศึกห้ามจำเลยมีทนาย
การ พิจารณาและสืบพยานในศาลทหาร ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพหรือไม่ติดใจฟัง จะไม่ทำต่อหน้าจำเลยนั้นก็ได้ (ศาลพลเรือนการพิจารณาทุกขั้นตอนต้องทำต่อหน้าจำเลยเท่านั้น)

ถ้า ไม่มีกฎหมาย กฎและข้อบังคับฝ่ายทหารก็ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับ โดยอนุโลม ถ้าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้นำบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่จะใช้ได้


การอุทธรณ์และฎีกา :

คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหารในเวลาปกติ โจทก์หรือจำเลยอุทธรณ์หรือฎีกาได้ภายในสิบห้าวัน

คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหารในเวลาไม่ปกติ และศาลอาญาศึก ห้ามอุทธรณ์หรือฎีกา

ศาลทหารไม่ยุ่งเกี่ยวคดีแพ่ง :

ผู้เสียหายจะร้องขอให้จำเลยคืนทรัพย์ หรือชดใช้ค่าเสียหายในศาลทหารไม่ได้ ถ้าโจทก์ร้องขอให้ยึดทรัพย์จำเลย ให้ส่งคดีนั้นไปยังศาลพลเรือน แต่เมื่ออัยการทหารร้องขอศาลทหารมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยคืนทรัพย์ หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รัฐบาลได้ในกรณีที่จำเลยกระทำผิด

เขตอำนาจของศาลทหาร :

พิจารณาจากบุุคคล

คนที่ต้องถูกพิจารณาคดีที่ศาลทหาร ก็คือ ทหาร นักเรียนทหาร พลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหาร บุคคลซึ่งอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย เชลยศึก

พิจารณาจากประเภทคดี

- ความผิดต่อกฎหมายทหาร หรือความผิดอาญาอื่น

- ความผิดอาญาตามบัญชีต่อท้ายกฎอัยการศึก ในกรณีมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกและประกาศให้คดีบางประเภทอยู่ในอำนาจของศาล ทหาร ซึ่งจะมีอำนาจเหนือบุคคลทุกประเภท ทั้งพลเรือน และทหาร

คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร คือ

- คดีที่ทหารกระทำความผิดร่วมกับพลเรือน เช่น ทหารขายยาเสพติดต้องขึ้นศาลทหาร ถ้าทหารขายยาเสพติดร่วมกับภรรยาต้องขึ้นศาลพลเรือน

- คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน

- คดีที่ผู้กระทำความผิดเป็นด็กและเยาวชน

- คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหาร

คดีที่ไม่อยู่ ในอำนาจของศาลให้พิจารณาพิพากษาที่ศาลพลเรือน ถ้าภายหลังกลายเป็นว่าอยู่ในอำนาจของศาลทหาร แต่ศาลพลเรือนรับฟ้องไปแล้ว ก็ให้ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป

เขตอำนาจของศาลทหาร กรณีประกาศใช้กฎอัยการศึก :

ผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกอาจประกาศให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณา พิพากษาคดีอาญาซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกและใน ระหว่างที่ใช้กฎอัยการศึกตามที่ระบุไว้ในบัญชีต่อท้ายพระราชบัญญัติ

คณะ รักษาความสงบแห่งชาติ ออกประกาศฉบับที่ 37/2557 ให้บรรดาคดีความผิดตามที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้ ซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตราชอาณาจักร และในระหว่างที่ประกาศนี้ใช้บังคับอยู่ในอำนาจพิจารณาคดีของศาลทหาร

1. ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

(1) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่มาตรา 107 ถึงมาตรา 112

(2) ความผิดต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา 113 ถึง มาตรา 118 ยกเว้นซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการ รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 หรือพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548

2. ความผิดตามประกาศ หรือคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ข้อสังเกตต่อประกาศฉบับที่ 37/2557

1. ความผิดที่ถูกประกาศให้ต้องขึ้นศาลทหาร ต้องกระทำในเขตราชอาณาจักร และกระทำระหว่างที่ประกาศนี้ใช้บังคับ เพราะฉะนั้น ความผิดที่กระทำนอกราชอาณาจักร และการกระทำก่อนประกาศนี้ใช้บังคับ หรือก่อนการรัฐประหาร ย่อมไม่อาจขึ้นศาลทหารได้ ให้ไปขึ้นศาลพลเรือนตามปกติ

2. ความผิดตามประกาศ หรือคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ไม่ใช่ความผิดตามบัญชีแนบท้ายของกฎอัยการศึก ยังไม่แน่ว่าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจประกาศให้ความผิดอื่นนอกบัญชี แนบท้ายฯ อยู่ในอำนาจศาลทหารได้หรือไม่

 

ข้อมูลจาก ILAW



30/May/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา