ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗

อ่านรัฐธรรมนูญฉบับเต็ม click ได้ที่นี่ครับ
 
 

สรุปสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗

 

๑. พระมหากษัตริย์

- บทบัญญัติของหมวด ๒ พระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ยังคงใช้บังคับอยู่ต่อไป

- ทรงใช้อำนาจอธิปไตยทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และศาล

- ทรงมีพระราชอำนาจในการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ

- ทรงมีพระราชอำนาจในการยับยั้งร่างกฎหมายและร่างรัฐธรรมนูญ

- ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการตราพระราชกำหนดและพระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ ทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศ และแต่งตั้งข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ

- ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการอื่นตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

 

 

๒. คณะองคมนตรี

- เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในหมวด ๒ พระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งยังคงใช้บังคับอยู่ต่อไป

 

 

๓. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

- สมาชิกจำนวนไม่เกิน ๒๒๐ คน

- หัวหน้า คสช. คัดเลือกจากบุคคลภาคส่วนต่างๆ แล้วนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงแต่งตั้ง

- สมาชิกต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด เช่น ต้องไม่ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองภายในเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่ง ตั้ง

- จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติในขณะเดียวกันไม่ได้

- สมาชิก สนช. ไม่น้อยกว่า ๒๕ คน มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ

 

 

๔. คณะรัฐมนตรี

- ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหนึ่งคน และรัฐมนตรีอื่นอีกจำนวนไม่เกิน ๓๕ คน

- พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมติของ สนช. แต่งตั้งรัฐมนตรีตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี

- คณะรัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ก่อนเข้ารับหน้าที่

- นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งตามมติของ สนช. ที่เสนอโดย คสช.

- นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปี และสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด เช่น ต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองภายในเวลาสามปี ก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง

- นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องไม่เป็นสมาชิก สนช. สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

 

 

๕. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

- ประกอบด้วยบุคคลตามประกาศ คสช. ฉบับที่ ๖/๒๕๕๗

- ในกรณีจำเป็น สามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมผู้ดำรงตำแหน่งใน คสช. ได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน ๑๕ คน และสามารถกำหนดให้หน่วยงานใดทำหน้าที่หน่วยธุรการของ คสช. ได้ตามที่เห็นสมควร

- สามารถแจ้งให้ ครม. ทราบ เพื่อดำเนินการใดๆ ที่เห็นสมควรได้

- ก่อนที่ ครม. จะเข้ารับหน้าที่ อำนาจของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นของหัวหน้า คสช.

- ในกรณีจำเป็น เช่น เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูป เพื่อความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคง หัวหน้า คสช. โดยความเห็นชอบของ คสช. มีอำนาจสั่งการ ระงับยับยั้ง หรือกระทำการใดๆ ได้ และให้ถือว่าการนั้นชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และเป็นที่สุด แต่ให้รายงานให้ประธาน สนช. และนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว

 

 

๖. สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)

- ประกอบด้วยสมาชิก จำนวนไม่เกิน ๒๕๐ คน ซึ่ง คสช. คัดเลือกจากรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาเสนอ โดยในจำนวนนี้ให้คัดเลือกจากบุคคลที่คณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัดเสนอ จังหวัดละหนึ่งคน

- สมาชิกต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด เช่น ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต

- ให้มีคณะกรรมการสรรหาบุคคลด้านต่าง ๆ ๑๑ คณะ และให้มีคณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัด ๆ ละ ๑ คณะ เพื่อสรรหาจากบุคคลซึ่งมีภูมิลำเนาในจังหวัดนั้น ๆ

- รายละเอียดกระบวนการสรรหาและคัดเลือกเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา

- อำนาจหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติ

(๑) จัดทำแนวทางและข้อเสนอการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ เพื่อเสนอ สนช. ครม. คสช. หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และถ้าเห็นว่าจำเป็นต้องตรากฎหมาย ก็เสนอร่างกฎหมายนั้นต่อ สนช. หรือ ครม. ได้ด้วย

(๒) เสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

(๓) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้น

- ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในรัฐธรรมนูญฉบับถาวร

 

 

๗. คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

- ประกอบด้วยกรรมาธิการ จำนวน ๓๖ คน ดังนี้

(๑) ประธานกรรมาธิการตามที่ คสช. เสนอ

(๒) กรรมาธิการ จำนวน ๒๐ คน ตามที่สภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอ

(๓) กรรมาธิการตามที่ สนช. ครม. และ คสช. เสนอฝ่ายละ ๕ คน

- ต้องไม่เป็นสมาชิกและไม่ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองภายในเวลาสามปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง

- ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติต้องแต่งตั้งกรรมาธิการฯ ให้แล้วเสร็จภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมสภาปฏิรูปฯ เป็นครั้งแรก

- ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองภายในสองปีนับแต่วันที่พ้นจากการเป็นกรรมาธิการยกร่างฯ

- ต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน ๑๒๐ วัน ถ้าทำไม่เสร็จต้องพ้นจากตำแหน่งและจะกลับมาเป็นอีกไม่ได้

 

 

๘. กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญ

- ให้สภาปฏิรูปฯ ส่งความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่มีการเรียกประชุมสภาปฏิรูปฯ เป็นครั้งแรก

- คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน ๑๒๐ วันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นหรือข้อเสนอแนะของสภาปฏิรูปฯ

- คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ต้องส่งร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำเสร็จแล้วให้สภาปฏิรูปฯ ครม. และ คสช.

- สภาปฏิรูปฯ มีเวลาพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ๑๐ วัน แล้วมีเวลายื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมภายใน ๓๐ วัน  ครม. หรือ คสช. ก็สามารถเสนอความเห็นหรือยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมได้ภายใน ๓๐ วัน

- คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ต้องพิจารณาคำขอแก้ไขเพิ่มเติมให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน

- สภาปฏิรูปฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับภายใน ๑๕ วัน

- กรณีเห็นชอบ ให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาตินำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และเมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับได้

- รวมระยะเวลาทั้งสิ้น ประมาณ ๑๐ เดือน นับแต่วันที่สภาปฏิรูปฯ เริ่มประชุมครั้งแรก

- กรณีสภาปฏิรูปฯ ไม่เห็นชอบหรือพิจารณาไม่แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด หรือพระมหากษัตริย์ไม่เห็นชอบด้วย ร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป และต้องแต่งตั้งสภาปฏิรูปฯ และคณะกรรมาธิการฯ ชุดใหม่ขึ้นมาแทน โดยที่คนเดิมจะกลับมาเป็นอีกไม่ได้

- กรณีคณะกรรมาธิการฯ ยกร่างไม่แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด ให้แต่งตั้งกรรมาธิการชุดใหม่ขึ้นมาแทนภายใน ๑๕ วัน โดยที่คนเดิมจะกลับมาเป็นอีกไม่ได้

 

๙. อื่นๆ

- ครม. และ คสช. สามารถร่วมกันเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) นี้ ต่อ สนช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของสมาชิก สนช. ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่

- ให้บรรดาประกาศและคำสั่ง คสช. ที่มีระหว่างวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ จนถึงวันที่ ครม. เข้ารับหน้าที่ รวมทั้งการกระทำตามประกาศและคำสั่งดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และเป็นที่สุด และให้บรรดาประกาศและคำสั่ง คสช. ที่ยังใช้บังคับอยู่มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก

- นิรโทษกรรมให้แก่บรรดาการกระทำทั้งหลายของหัวหน้าและ คสช. รวมทั้งบุคคลต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน ไม่ว่าจะกระทำในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ก่อนวันนั้น หรือหลังจากวันนั้น ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง


หรือเข้าใจรายมาตราได้ดังนี้ครับ

• มาตรา 2 ให้หมวด 2 ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ ของรัฐธรรมนูญ2550 ยังมีผลบังคับใช้ต่อไป และเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้

• มาตรา 6 ให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ไม่เกิน 220 คน ทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา

• มาตรา 19 สภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีไม่เกิน 35 คน ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ดำเนินการปฏิรูป และส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของคนในชาติ

• มาตรา 27-31 ให้มีสภาปฏิรูปแห่งชาติไม่เกิน 250 คน มาจากคสช.แต่งตั้งกรรมการสรรหา คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิบุคคลจากด้านต่างๆ และกรรมการสรรหาประจำจังหวัด คัดเลือกบุคคลจากจังหวัดต่างๆ สภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนวทางปฏิรูป และให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ (ไม่ต้องผ่านประชามติ)

• มาตรา 14 การเสนอร่างพระราชบัญญัติมีสามช่องทาง คือ 1.สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเข้าชื่อกัน 25 คน 2.คณะรัฐมนตรี 3.สภาปฏิรูปแห่งชาติ (ไม่มีช่องทางเสนอกฎหมายโดยประชาชน)

• มาตรา 32 ให้มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 36 คน มาจากการแต่งตั้งของสภาปฏิรูปแห่งชาติ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และคสช.

• มาตรา 36 เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ ให้สภาปฏิรูปพิจารณาให้ความเห็นชอบ และให้ส่งให้คณะรัฐมนตรีและคสช.เสนอความเห็นขอแก้ไขเพิ่มเติมได้

• มาตรา 42 หากคสช.เห็นว่าคณะรัฐมนตรีควรดำเนินการเรื่องใด ให้แจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการ หรืออาจขอให้มีการประชุมร่วมกันหรือปรึกษาหารือกันเป็นครั้งคราวได้

• มาตรา 44 ในกรณีที่หัวหน้าคสช.เห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิ รูป เพื่อความสมานฉันท์ หรือความสงบเรียบร้อย ให้สั่งการระงับ หรือให้กระทำการใดๆ ได้ ทั้งในทางนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ และให้ถือว่าคำสั่งดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย

• มาตรา 47 ให้ประกาศหรือคำสั่งคสช. ยังมีผลใช้บังคับอยู่ และชอบด้วยกฎหมาย

• มาตรา 48 การกระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ของคสช. และการกระทำที่เกี่ยวเนื่อง หากเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด

 

 


22/Jul/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา