ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

สธ.เร่งพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าว ให้มีการตรวจและประกันสุขภาพทุกราย

กระทรวงสาธารณสุขเร่งพัฒนาระบบการเข้าถึงสุขภาพของแรงงานต่างด้าว โดยแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนในไทยกว่า 1 ล้านคน ทุกคนต้องตรวจและประกันสุขภาพ พร้อมนำร่องจัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จและตั้ง โรงเรียนอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว ที่จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อสร้าง อสต.ใหม่ และเพิ่มความรู้แก่ อสต.รายเก่า ให้มีประสิทธิภาพ สามารถดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชนได้

 

29 พฤศจิกายน 2557 ที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพร้อมด้วยนายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ตรวจเยี่ยมสถานบริการในสังกัดและติดตามมาตรการควบคุมป้องกันโรคในแรงงาน ต่างด้าวพร้อมทั้งเดินทางไปตรวจเยี่ยมชุมชนต่างด้าวบ้านกำพร้าและโรงเรียน อาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างด้าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกำพร้า


ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีการขึ้นทะเบียนแรงงานต่าวด้าวเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2557 มีแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียนทั้งประเทศจำนวน 1,154,008 คน ในจำนวนนี้เป็นชาวพม่ามากที่สุดจำนวน 647,483 คน กัมพูชา 381593 คน และ ลาว 124,903 คน ดังนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายการจัดการแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ โดยให้แรงงานต่างด้าว ที่ทำงานในประเทศไทยทั้งหมด รวมทั้งครอบครัวและผู้ติดตาม มาขึ้นทะเบียนรายงานตัวต่อกระทรวงมหาดไทย และได้เอกสารประจำตัว คือ ทร.38/1 มีเลข 13 หลัก ส่วนผู้ที่ทำงานในประเทศไทยให้ขออนุญาตทำงานกับกระทรวงแรงงาน โดยให้กระทรวงสาธารณสุข ตรวจสุขภาพและทำประกันสุขภาพทุกปี


ทั้งนี้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 70/2557 เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ให้ กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักและปฏิบัติงานร่วมกับกระทรวงแรงงานกระทรวง สาธารณสุข สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)


ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้ทุกคนบนแผ่นดิน ไทยสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง โดยเร่งรัดพัฒนาระบบการเข้าถึงสุขภาพและพัฒนาหน่วยบริการสุขภาพสำหรับ ประชาชนในระบบปกติ และประชาชนที่มีความต้องการบริการรูปแบบพิเศษ เช่น ประชาชนในพื้นที่พิเศษ แรงงานต่างด้าวและการสร้างเสริมสุขภาพของแรงงานนอกระบบ โดยดำเนินการใน 4 ด้าน คือ 1.ตรวจสุขภาพ 2.ให้บริการรักษาพยาบาล 3.บริการสร้างเสริมสุขภาพและการควบคุมป้องกันโรค และ4.การเฝ้าระวังโรค โดยให้ดำเนินการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวทุกคน 


ในส่วนของจังหวัดสมุทรสาครเป็นจังหวัดที่นำร่องในการจดทำทะเบียน ประวัติคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ปัจจุบันมีแรงงานพลัดถิ่น 459,444 คน และมีต่างด้าวเข้ามาขายแรงงานจำนวน  270,377 คน โดยทำการขึ้นทะเบียนขออนุญาตทำงานต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน270,377คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1แรงงานต่างด้าวประเภทมีวีซ่า จำนวน 168,067 คน กลุ่มที่ 2 ขึ้นทะเบียนใหม่ตามมติคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) จำนวน 98,302 คน และกลุ่มที่ 3 คือแรงงานที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร์ตาม หรือชนกลุ่มน้อยชายขอบ จำนวน 4,008 คน 

 

ในจำนวนดังกล่าวมีแรงงานต่างด้าวที่มีหลักประกันสุขภาพแบบประกันสังคม จำนวน 80,308คน คิดเป็นร้อยละ 29.70 มีประกันสุขภาพแรงงานของกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 98,302 คิดเป็นร้อยละ 36.36  และยังมีแรงงานต่างด้าวที่ยังไม่มีหลักประกันสุขภาพอีก จำนวน 91,767 คน คิดเป็นร้อยละ 33.94 การไม่มีหลักประกันสุขภาพส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะการส่งเสริมสุขภาพและควบคุมป้องกันโรคในชุมชนต่างด้าว


จากการตรวจสุขภาพประชากรต่างด้าว ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ จังหวัดสมุทรสาคร ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน – 31  ตุลาคม 2557 มีแรงงานต่างด้าวและผู้ติดตามเข้ารับบริการทั้งสิ้นจำนวน 98,302 คน พบป่วยด้วยโรคซิฟิลิส จำนวน 61 คน,วัณโรคปอด 28 คน และมีพยาธิโรคเท้าช้าง จำนวน 21คน ซึ่งจะต้องควบคุม ป้องกันโรคติดต่อที่แฝงมากับแรงงานต่างด้าว ไม่ให้แพร่ระบาดมาสู่คนไทย สำหรับวัณโรคนั้นนอกจากพบขณะตรวจสุขภาพประจำปีแล้วยังพบผู้ป่วยต่างด้าวเข้า รับการรักษาระหว่างปี จำนวน 259 คน เป็นผู้ป่วยประเภทเสมหะมีเชื้อโรควัณโรค จำนวน 104คน มีแนวโน้มสูงขึ้น


เนื่องจากการให้บริการสาธารณสุขในประชากรต่างด้าว มีข้อจำกัด ด้านการสื่อสาร และจำนวนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) มีจำนวนน้อย แต่ประชากรต่างด้าวมีจำนวนมาก จังหวัดสมุทรสาครจึงสร้างเครือข่ายในการดำเนินงานสาธารณสุขสำหรับประชากร ต่างด้าว หรืออาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว(อสต.) และเปิดโรงเรียนอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวขึ้นในปี 2555ภายใต้หลักสูตรการเรียนที่ชัดเจนและได้มาตรฐาน เพื่อสร้าง อสต.ใหม่ และฟื้นฟูให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ อสต.รายเก่า ให้มีความรู้ มีประสิทธิภาพ สามารถดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวมได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ปัจจุบันจังหวัดสมุทรสาครมี อสต.ทั้งหมด จำนวน 1,000 คน แต่เนื่องจาก มีการย้ายที่อยู่และย้ายเปลี่ยนงาน จึงทำให้ปัจจุบันจังหวัดสมุทรสาครมี อสต. ที่ปฏิบัติงานจริง จำนวน 455 คน

 

ข่าวกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2557



01/Dec/2014

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา