ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายเดินหน้ายกระดับกฎหมายแรงงานไทยสู่สากล แนะถึงเวลาปฏิรูปชำระกฎหมายแรงงาน

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) โดย นาย คณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ลงนามในบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะเรื่อง “แนวทางการจัดทำประมวลกฎหมายแรงงานและร่างพระราชบัญญัติการบริหารแรงงาน พ.ศ....” เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา

 

โดยคปก.มีความเห็นว่า กฎหมายแรงงานที่ใช้บังคับอยู่ในประเทศไทยมีหลายฉบับ แต่ละฉบับมีปัญหาในเรื่องการบังคับใช้และมีความไม่เชื่อมโยงกับกฎหมายแรงงาน อื่นๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานสากลตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่าง ประเทศ (ไอแอลโอ) ประกอบกับกฎหมายแรงงานฉบับต่างๆ ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว คปก.จึงเสนอแนะให้มีการปฏิรูปชำระกฎหมายแรงงานโดยการจัดทำประมวลกฎหมายแรง งาน และแยกการบริหารแรงงานภาครัฐออกเป็นกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง เพื่อให้สามารถส่งเสริมและคุ้มครองคุณภาพชีวิตของคนทำงานได้อย่างรวดเร็วและ มีประสิทธิภาพ

 

บทบัญญัติที่สำคัญประการหนึ่งที่คปก.เสนอให้มีการแก้ไขคือการเปลี่ยนนิยามจาก “นายจ้าง” และ “ลูกจ้าง” เป็น “ผู้จ้างงาน” และ “คนทำงาน” เพื่อให้ความคุ้มครองครอบคลุมผู้ทำงานทั้งหมด และเพื่อให้เกิดทัศนคติการเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างคนทำงานอย่างแท้จริง

 

สำหรับในส่วนที่เป็นบทบัญญัติด้านแรงงานสัมพันธ์ คปก.เสนอแนะให้มีการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในการรวมตัวและการเจรจาต่อรอง ร่วมเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการตามอนุสัญญาไอแอลโอ ซึ่งจะช่วยให้คนทำงานมีหลักประกัน ความปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนการได้รับค่าจ้างและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี

 

ด้านร่างพระราชบัญญัติการบริหารแรงงาน เป็นการรวบรวมเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการแรงงานภาครัฐมารวมไว้เป็นพระราชบัญญัติเพื่อให้การบริหารแรงงานของภาครัฐทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ คล่องตัว โดยร่างกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้มีคณะกรรมการร่วมบริหารภาครัฐด้านแรงงาน หรือ ร.บ.ร. เป็นผู้ดำเนินการตามวิธีการที่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดไว้ ซึ่งจะเป็นการช่วยลดภาระของศาลแรงงานและลดปริมาณคดีที่จะขึ้นสู่ศาลแรงงานได้เป็นอย่างมาก

 

กรุงเทพฯ--17 เม.ย.--สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย



18/Apr/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา