ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

โฆษกแรงงานย้ำพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำต้องรอบคอบเหตุกระทบศก.-สังคม

'โฆษกแรงงาน' ยืนยัน ข่าวยกเลิกค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ‘ไม่เป็นความจริง’ ย้ำชัด กม.กำหนดให้ไทยยังมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เผยกรอบเวลา อนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดรวมข้อมูลส่งให้คณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง วิเคราะห์ภายในมิถุนายนนี้ ก่อนส่งคกก.ค่าจ้างพิจารณาทราบผลปลายตุลาคม 58 เผย คำนึงปัจจัยเศรษฐกิจ สังคม ยึดการทำงานบน‘หลักธรรมมาภิบาล’นำพาประเทศเจริญก้าวหน้า แนะแรงงานพัฒนาฝีมือให้มีรายได้สูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ


 
นายอารักษ์ พรหมณี รองปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน ชี้แจงถึงกรณีที่มีข่าวเรื่องการยกเลิกค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทในขณะนี้ว่า เรื่องดังกล่าวสืบเนื่องมาจากการประชุมสัมมนางานวิจัยเรื่องค่าจ้างลอยตัวใน ประเทศไทย โดยผลการสัมมนายังไม่ได้ข้อยุติ จากนั้นภายหลังการประชุมมีข่าวเผยแพร่ออกมาว่ามีการยกเลิกค่าจ้างขั้นต่ำและ ใช้รูปแบบค่าจ้างแบบลอยตัว ซึ่งยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง

 

ปัจจุบันกฎหมายยังคงกำหนดให้ประเทศไทยมีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่และใช้เป็น เกณฑ์ในการกำหนด คือ จะต่ำกว่าอัตรา 300 บาท/วัน ไม่ได้ สำหรับการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2559 นั้น ขณะนี้คณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดจะรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถิติข้อมูลรวมถึงปัจจัยประกอบทั้งดัชนีค่าครองชีพ มาตรฐานการครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ความสามารถของผู้ประกอบการ และผลิตภาพแรงงานมาประกอบกัน จากนั้นส่งข้อมูลเข้ามาที่ส่วนกลางซึ่งมีคณะกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง วิเคราะห์ข้อมูลรอบด้านที่มาจากทุกจังหวัดทั่วประเทศ

 

จากนั้นผลสรุปที่ได้จะเสนอไปยังคณะกรรมการค่าจ้างเป็นผู้พิจารณา ดังนั้นผลหรือทิศทางของค่าจ้างจะทราบผลสรุปในราวปลายเดือนตุลาคม ทั้งนี้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะปรับเป็นอัตราเท่าใดด้วยรูปแบบวิธีการใด ก็จะมาจากการประมวลวิเคราะห์จากข้อมูลทั้งหมดอย่างรอบด้านดังกล่าว
        


 รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวต่อว่า องค์ประกอบของคณะกรรมการค่าจ้างมาจากไตรภาคี เป็นตัวแทนจากฝ่ายรัฐ นายจ้าง และลูกจ้าง มีความเท่าเทียมกันทุกฝ่ายต่างมีความรู้และความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล ทำงานด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้บนหลักธรรมาภิบาล อย่างไรก็ตามยืนยันว่าโดยหลักการแล้วค่าจ้างจะไม่ต่ำกว่า 300 บาทแน่นอน ขณะเดียวกันตัวแรงงานเองก็ต้องมีการพัฒนาฝีมือตนเองเพื่อให้ได้ค่าจ้าง มากกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่กำหนดว่ารัฐบาลและกระทรวงแรงงานต้องเร่งรัดพัฒนาให้แรงงาน ไทยมีฝีมือมากขึ้นเพื่อให้ได้ประกอบอาชีพและมีรายได้สูงกว่าอัตราค่าจ้าง ขั้นต่ำ
       


" การดำเนินการพิจารณาเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำควรต้องมีความละเอียดรอบคอบ มิฉะนั้นจะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นค่าจ้างที่ออกมาต้องอยู่บนพื้นฐานของระบบธรรมาภิบาลที่ดีและสามารถ ที่จะนำพาประเทศไปสู่ความเจริญก้าวหน้าได้" รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว
 

ฐานเศรษฐกิจ 9 มิถุนายน 2558



10/Jun/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา