ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

สปสช.ให้สิทธิรักษาฉุกเฉิน แม้ไม่วิกฤต ในรพ.ทุกแห่ง

ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) 8 มิถุนายนที่ผ่านมา เห็นชอบให้ปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยการใช้สิทธิเข้ารับบริการในสถานพยาบาล อื่น กรณีที่มีเหตุสมควร กรณีอุบัติเหตุ และกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน เพราะก่อนจะมีนโยบาย "เจ็บป่วยฉุกเฉินทุกที่ ฟรีทุกสิทธิ" ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการลดความเหลื่อมล้ำในการรับบริการสาธารณสุขในแต่ละ สิทธิสุขภาพนั้น ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หากมีเหตุสมควร หรือกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน หรือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการรักษาใน รพ.ทุกแห่งทุกสิทธิ เป็นไปตามมาตรา 7 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ซึ่ง ไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินเท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงกรณีที่มีเหตุสมควร เช่น ระหว่างเดินทางไปต่างพื้นที่ แต่เกิดเหตุเจ็บป่วยขึ้น แม้ไม่ใช่เจ็บป่วยฉุกเฉินระดับวิกฤตก็สามารถเข้ารักษาที่สถานพยาบาลอื่นได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และ รพ.นั้นจะเบิกจ่ายกับ สปสช.เอง

 

ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า เมื่อมีนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินฯปรากฎว่าได้ส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง ไม่สามารถใช้สิทธิตามมาตรา 7 ได้ เพราะมีการจำกัดไว้แค่เจ็บป่วยฉุกเฉิน ซึ่งต้องเป็นเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตเท่านั้น ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ หากเดินทางไปต่างจังหวัด แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น เมื่อไปรักษายังสถานพยาบาลอื่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น รพ.เอกชน หากไม่เข้าเกณฑ์เจ็บป่วยฉุกเฉินระดับวิกฤตตามนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐาน เดียว ผู้ป่วยต้องจ่ายเงินเอง  ดังนั้น บอร์ด สปสช.จึงเห็นชอบ ให้มีการจัดทำข้อบังคับ สปสช.ว่าด้วยการใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุข กรณีที่มีเหตุสมควร กรณีอุบัติเหตุหรือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 ซึ่งระบุชัดเจนว่า ให้ประชาชนสิทธิบัตรทองสามารถเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลที่อยู่ใกล้ หรือเข้ารักษาได้อย่างรวดเร็วได้

 

 

 

 

ที่มา : มติชนออนไลน์ 14 มิถุนายน 2558



15/Jun/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา