ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

รู้ยัง... มี′กม.ความเท่าเทียมเพศ′แล้ว ′ถูกเลือกปฏิบัติ′ร้องเรียนได้

นับเป็นความก้าวหน้าประเทศไทยต่อการขจัดการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศ ซึ่งคอยฉุดรั้งคนมีความสามารถตลอดจนประเทศไม่ให้พัฒนาไปไหน จึงผลักดันให้มี พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 ซึ่งมีผลวันที่ 9 กันยายน 2558 เป็นต้นไป
 

เพื่อให้คนไทยรู้จักและเข้าใจกฎหมายใหม่ 6 หมวด 36 มาตรานี้ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จึงจัดงานสัมมนาเรื่อง "พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 : นโยบาย การขับเคลื่อน และการปฏิบัติ" ที่ห้องศาลาไทย โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ

นายสมชาย เจริญอำนวยสุข อธิบดีกรม สค. กล่าวว่า คนไทยยังถูกเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศจากทัศนคติ ความเชื่อของคนไทยด้วยกันเอง แม้ในรัฐธรรมนูญจะรับรองสถานภาพทางเพศไว้ก็ตาม ทำให้ต้องประสบปัญหา เช่น ถูกเลือกปฏิบัติจากการรับเข้าทำงาน การเข้าถึงตำแหน่ง ในระบบการศึกษา ระบบการสาธารณสุข กระบวนการยุติธรรม ฉะนั้น กฎหมายฉบับนี้จึงต้องการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยตรง คุ้มครองทุกเพศ

"การเลือกปฏิบัติทางเพศจะมีตั้งแต่การประกาศรับสมัครงาน เช่น รับสมัครตำแหน่งเลขานุการเฉพาะเพศหญิงเท่านั้น แม้จะมีเหตุผลที่ดีแต่ถือว่าหมิ่นเหม่ผิดกฎหมาย หรือการเลื่อนขึ้นตำแหน่งที่ผู้ชายขึ้นเพราะความเป็นเพศชาย ทั้งที่ผู้หญิงมีความสามารถและเหมาะสม ถือว่าทำผิดกฎหมายชัดเจน"

นายสมชาย กล่าวว่า ฉะนั้น หากรู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศ ก็ให้มาร้องเรียน เราจะมี คณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมทางเพศ หรือ วลพ. ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญแต่ละด้าน มีความเป็นธรรม ผ่านการคัดเลือกและแต่งตั้งมา และเหนือขึ้นมายังมี คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ หรือ สทพ. ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและมาตรการส่งเสริมความเท่าเทียมในทุกระดับ

"กฎหมายฉบับนี้ยังไปไม่ถึงการสมรสของคนเพศเดียวกัน การเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ คู่รักเพศเดียวกันขออุ้มบุญ ซึ่งก็ไม่อยากให้นำกฎหมายนี้ไปตีความเกินขอบเขต มิฉะนั้นอาจจะยุ่งและบังคับใช้ไม่ได้" นายสมชายกล่าว

นายกันตพงศ์ รังษีสว่าง ผอ.กลุ่มกฎหมาย กรม สค. กล่าวว่า คิดว่าต้องใช้เวลา 1-2 เดือน หรืออย่างช้าปลายปีนี้ กฎหมายดังกล่าวถึงจะบังคับใช้สมบูรณ์ โดยเฉพาะการเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการ วลพ.ที่จะมีบทบาทสำคัญ เพราะทำหน้าที่คล้ายตุลาการ คอยพิสูจน์พยานหลักฐานเรื่องร้องเรียนที่เข้ามา ดูข้อกฎหมาย และคำวินิจฉัยถือเป็นที่สิ้นสุด

อย่างเมื่อวินิจฉัย แล้วว่าเป็นการเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรม วลพ.สามารถประสานหน่วยงานหรือองค์กรต้นทางให้ระงับและป้องกันไม่ให้เกิด ปัญหา หากหน่วยงานหรือองค์กรนั้นไม่ปฏิบัติตามมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งยังสามารถกำหนดมาตรการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองหรือบรรเทาทุกข์ในระหว่าง การพิจารณา และสามารถสั่งให้ผู้เกี่ยวข้องชี้แจงหรือส่งสิ่งของเข้ามาประกอบการพิจารณา หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

น.ส.นัยนา สุภาพึ่ง ผอ.มูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร กล่าวว่า ไม่เพียงกลุ่มผู้หญิง กลุ่มคนหลากหลายทางเพศก็ได้รับผลกระทบความไม่เสมอภาคระหว่างเพศเช่นกัน คณะกรรมการ วลพ.-สทพ.ซึ่งมีบทบาทสำคัญต้องมองมายาคตินี้ให้ได้ ต้องมองว่าปัญหาจากนี้คือการเรียนรู้ ปัญหาคือครู เพื่อไม่ให้การแก้ปัญหาเป็นเรื่องยากและมีความเป็นธรรม

"ไทยไม่เคยมี กฎหมายชัดเจนอย่างนี้มาก่อน ที่ผ่านมาอาจเขียนในรัฐธรรมนูญบ้างแต่เป็นเพียงเจตนารมณ์ ที่ไม่มีรายละเอียด ขณะที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้จะเป็นหลักประกันความคุ้มครอง แต่จะเกิดขึ้นจริงขึ้นอยู่กับทางปฏิบัติด้วย ที่จะต้องทำให้เกิดความเคารพ ความเสมอภาคเท่าเทียมกันจริงๆ" น.ส.นัยนากล่าวทิ้งท้าย

 


(จากซ้าย) สมชาย เจริญอำนวยสุข, กันตพงศ์ รังษีสว่าง, นัยนา สุภาพึ่ง

 

ช่องทางร้องเรียน

พ.ร.บ. ความเสมอภาคระหว่างเพศ พ.ศ.2558 นิยามความหมายว่า "การกระทำหรือไม่กระทำใดอันเป็นการแบ่งแยก กีดกัน หรือจำกัดสิทธิประโยชน์ใดๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยปราศจากความชอบธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศชายหรือเพศหญิง หรือมีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด"

หากผู้ใดรู้สึกว่า กำลังถูกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ สามารถร้องเรียนได้ที่ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ณ สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี เขตพญาไท กรุงเทพฯ ทั้งมาร้องเรียนโดยตรง ส่งจดหมาย ส่งหนังสือ หรือไปที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ทั่วประเทศ หรือไปที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว 8 แห่งในประเทศ เช่น ลำพูน เชียงราย สงขลา ศรีสะเกษ และในอนาคตจะเปิดรับทางเว็บไซต์ สค. www.owf.go.th โดยให้ผู้ที่ได้รับปฏิบัติไม่เป็นธรรมทางเพศส่งเอกสารหลักฐาน พร้อมแจ้งความประสงค์ให้ช่วยเหลือเรื่องใดเข้ามา

ซึ่งหากได้รับการ วินิจฉัยแล้วว่าถูกเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ สามารถยื่นคำขอสิทธิชดเชยเยียวยาจากกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เพื่อรับความช่วยเหลือ เช่น ค่าขาดประโยชน์ระหว่างไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ค่าสูญเสียโอกาส ค่าที่เกี่ยวข้องในการรักษาพยาบาล

 

09 กันยายน พ.ศ. 2558 มติชนรายวัน



10/Sep/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา