ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

แฉ “กาตาร์” เจ้าภาพ “ฟุตบอลโลกปี 2022” ใช้แรงงาน “เอเชีย” เยี่ยงทาส ในการก่อสร้าง

องค์กรนิรโทษกรรมสากล ระบุชัด ภาคธุรกิจก่อสร้างในกาตาร์ มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะการก่อสร้างสนามฟุตบอล และสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ เวิลด์ คัพ 2022

 

เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2556 องค์กรสิทธิมนุษยชนนานาชาติ เรียกร้องให้สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือฟีฟ่า ตรวจสอบการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติในกาตาร์ หลังพบว่าแรงงานต่างชาติที่ทำงานก่อสร้างเพื่อเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอล โลก 2022 ในกาตาร์นั้นถูกใช้งานอย่างกดขี่ และไม่ได้รับที่พักอาศัยที่ได้มาตรฐาน รวมถึงการไม่ชำระค่าแรงตามกำหนดเวลา

 

 

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า องค์การนิรโทษกรรมสากลได้เผยแพร่รายงานฉบับหนึ่งเมื่อวันจันทร์ 18 พ.ย. 2556วิพากษ์วิจารณ์การเอารัดเอาเปรียบแรงงานก่อสร้างอย่างน่า “หวั่นวิตก” ในกาตาร์ โดยเรียกร้องให้ประเทศที่ร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลกรายนี้ใช้โอกาสในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลเวิลด์คัพ 2022 แสดงออกถึงความเคารพในสิทธิมนุษยชน

      

ในรายงานฉบับนี้ องค์การนี้ยังได้เรียกร้องสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟา) ออกมากดดันกาตาร์ให้ปรับปรุงสภาพการใช้แรงงานต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเอเชีย

       

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลกาตาร์ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่า ตนปล่อยให้แรงงานก่อสร้างสถานที่จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก ต้องทำงานในสภาพไม่ต่างจากทาส ทั้งๆ ที่กาตาร์เป็นประเทศที่มีรายได้ประชาชาติต่อประชากรแต่ละคนสูงที่สุดในโลก

      

 “ข้อมูลของเราชี้ว่า กาตาร์ได้ใช้แรงงานในภาคก่อสร้างอย่างเอารัดเอาเปรียบ ในระดับที่น่าหวั่นวิตก” ซาลีล เช็ตตี เลขาธิการขององค์การนิรโทษกรรมสากลเผย อีกทั้งระบุว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการทารุณกรรม “ที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง” และ “ไม่ได้เป็นเฉพาะกรณี”

      

 “ฟีฟามีหน้าที่ที่จะต้องออกมาประกาศด้วยความหนักแน่นว่า จะไม่ยอมปล่อยให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในโครงการก่อสร้างที่เกี่ยวกับการแข่งขันฟุตบอลโลก”

      

ทั้งนี้ ภายหลังเข้าพบพระประมุข และนายกรัฐมนตรีของกาตาร์เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ณ กรุงโดฮา เซปป์ แบลตเตอร์ ประธานฟีฟา แถลงว่า ปัญหาในเรื่องสภาพการทำงานที่ไม่เหมาะสมนั้นได้รับการแก้ไขแล้ว

 

ซาลีล เช็ตตี เลขาธิการขององค์การนิรโทษกรรมสากล กล่าวว่า องค์การนิรโทษกรรมสากลได้หารือร่วมกับเจ้าหน้าที่ของทางการกาตาร์ ผู้ “ยอมรับอย่างเปิดเผยว่าเกิดปัญหานี้ขึ้นจริง และจะพยายามทุกวิถีทางเพื่อหาวิธีแก้ปัญหานี้”

      

ภายหลังที่กาตาร์เริ่มแผนการ เป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2022 โดยทุ่มงบประมาณหลายพันล้านดอลลาร์ ประเทศนี้ก็ถูกจับตามอง ในช่วงเวลาเดียวกับที่มีแรงงานอพยพจำนวนมากหลั่งไหลเข้ามาในรัฐอาหรับเล็กๆ ที่ร่ำรวยด้วยก๊าซธรรมชาติแห่งนี้

      

เช็ตตีกล่าวว่า ความสนใจนี้ถือเป็นการเปิดโอกาสพิเศษให้กาตาร์ได้แสดงให้โลกเห็นว่า ตนเป็นชาติที่เคารพในสิทธิมนุษยชน และเป็นโอกาสที่จะได้ทำตัวเป็นแบบอย่างให้ชาติอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน

      

ทั้งนี้ ประเด็นเรื่องสภาพการทำงานอันเลวร้าย ที่แรงงานอพยพต้องเผชิญนั้นยังคงเป็นปัญหาหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคอ่าวอาหรับซึ่งร่ำรวยน้ำมันและก๊าซ

      

รายงานขององค์การนิรโทษกรรมสากลที่มีชื่อว่า “ด้านมืดของการอพยพ: ภาคก่อสร้างของกาตาร์ ก่อนจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก” ฉบับนี้ได้นำเสนอข้อมูลเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากมาย

      

ตัวอย่างของปัญหาเหล่านี้ มีดังเช่น “การไม่จ่ายค่าแรง สภาพการทำงานที่อันตราย และถูกบีบบังคับด้วยท่าทีก้าวร้าว ตลอดจนมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ต่ำจนน่าหวั่นวิตก”

 

นอกจากนี้ องค์การเฝ้าระวังด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงลอนดอนแห่งนี้ เผยอีกว่ามี แรงงานข้ามชาติหลายสิบคนถูกกักตัวอยู่ในกาตาร์ สืบเนื่องมาจากกาตาร์ได้ตั้งเงื่อนไขว่า ชาวต่างชาติจะต้องได้รับใบอนุญาตให้ออกจากประเทศก่อนจึงจะสามารถไปได้”

      

องค์การนิรโทษกรรมสากลระบุว่า แรงงานที่ถูกนายหน้า หรือผู้รับรองยึดหนังสือเดินทางเอาไว้ จะถูกนายจ้างบังคับให้เซ็นรับรองเอกสารต่างๆ ซึ่งระบุข้อความที่เป็นเท็จว่าพวกเขาได้รับค่าแรงแล้ว ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกาตาร์

      

ระบบซึ่งกำหนดว่า บรรดาลูกจ้างต้องได้รับการรับรองจากบุคคล หรือจากบริษัทในกาตาร์ที่รับพวกเขาเข้าทำงาน นั้นทำให้แรงงานอพยพเหล่านี้ต้องตกเป็นลูกไก่ในกำมือของบรรดานายหน้าผู้ให้การรับรอง

      

เช็ตตีกล่าวว่า คณะทำงานของเขาในกรุงโดฮา ได้พบ “กลุ่มแรงงาน 70 คน” ซึ่งประกอบด้วยชาวเนปาล ศรีลังกา และชาติอื่นๆ ซึ่งเล่าให้ฟังว่า “พวกเขาไม่ได้รับค่าแรงมา 9 ถึง 10 เดือนแล้ว”

      

เขาประณามว่า “การที่หนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดของโลกใช้แรงงานอย่างเอารัดเอาเปรียบ โกงค่าแรง และปล่อยให้แรงงานอพยพจำนวนมากต้องอยู่อย่างอดๆ อยากๆ โดยไร้ความปรานีเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ให้อภัยไม่ได้จริงๆ”

      

นอกจากนี้ องค์การนิรโทษกรรมสากลกล่าวว่า พวกเขาได้รับรายงานว่า แรงงานจำนวนมากมีสุขภาพอ่อนแอ และต้องทำงานในสภาพความปลอดภัยที่ต่ำกว่าระดับมาตรฐาน

 

องค์การนี้ระบุว่า ตัวแทนของโรงพยาบาลโดฮา ที่ไม่ขอเปิดเผยนามคนหนึ่งเผยว่า “ในปี 2012 มีผู้คน (ที่เป็นแรงงาน) มากกว่า 1,000 คนถูกส่งไปห้องฉุกเฉิน (หลังจาก) พลัดตกลงมาขณะทำงานบนที่สูง” โดยราว 10 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานเหล่านี้ต้องกลายเป็นผู้พิการ อีกทั้ง “อัตราการตาย (ของแรงงาน) ทะยานสูงขึ้น ‘อย่างเห็นได้ชัด’”

      

ทางด้าน หนังสือพิมพ์การ์เดียน ได้เผยแพร่รายงานประจำเดือนกันยายนฉบับหนึ่งซึ่งระบุว่า มีแรงงานชาวเนปาลซึ่งทำงานที่กาตาร์เสียชีวิตไป 44 รายในปีนี้ แต่องค์การนิรโทษกรรมสากลไม่ได้ยืนยันยอดผู้เสียชีวิต

      

องค์การนิรโทษกรรมสากลกล่าวหาว่า แรงงานบางส่วนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบนั้น ทำงานให้กับบริษัทลูกช่วงที่รับจ้างบริษัทใหญ่ระดับโลกอีกทอดหนึ่ง

      

รายงานฉบับดังกล่าวระบุกรณีหนึ่ง ซึ่งคนงานก่อสร้างของบริษัท “ขนส่งอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับโครงการก่อสร้าง ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ของฟีฟ่า ขึ้นที่กาตาร์ในระหว่างการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2022 นั้นได้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง” โดยพวกเขาต้องทำงานอย่างต่ำวันละ 12 ชั่วโมง และไม่มีวันหยุด

      

 “หากไม่มีการใช้มาตรการที่เด็ดขาดจริงจัง และกว้างขวางเพื่อจัดการกับปัญหานี้โดยทันที แรงงานอพยพเป็นแสนๆ คนที่ถูกรับเข้ามาทำงานเพื่อสร้างความเจริญให้กับกาตาร์ในปีต่อมาๆ ก็ต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการถูกลิดรอนสิทธิ” เช็ตตีกล่าวเตือน

      

ทั้งนี้ กาตาร์เป็นประเทศที่มีสัดส่วนผู้อพยพต่อพลเมืองในประเทศสูงที่สุดในโลก คือประมาณ 88 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในประเทศเป็นแรงงานต่างชาติ ฟรองซัวส์ เกรโป ผู้เขียนรายงานพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ด้านการเฝ้าระวังปัญหาสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติกล่าว

 

อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่ click :  http://www.amnesty.org/en/library/asset/MDE22/010/2013/en/ca15040d-290e-4292-8616-d7f845beed7e/mde220102013en.pdf

 

สรุปจากข่าวสด , กรุงเทพธุรกิจ , ผู้จัดการ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2556  



19/Nov/2013

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา