ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

นักกฎหมายชี้เป่านกหวีดไม่ผิด

เพียงไม่กี่วันมีคนใน "เครือข่ายระบอบทักษิณ" ถูกไล่ล่าด้วย "กองพลนกหวีด" จนหูแทบแตกไปแล้วหลายราย   ได้แก่

13 พ.ย. นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

14 พ.ย.  นพ.ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข

16 พ.ย.  สมหญิง บัวบุตร  ส.ส. อำนาจเจริญเขต 1 พรรคเพื่อไทย

17 พ.ย. นายธาริต  เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)  

18 พ.ย.  นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี

 

ซึ่งจากความมาแรงแห่ง "พลังนกหวีด" นี้เอง ทำให้ล่าสุด 18 พ.ย. นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอลั่น จะยกเอาประมวลกฎหมายอาญาเข้ามาจัดการ คือ มาตรา 370 ฐานส่งเสียง ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันควร และมาตรา 397 ฐานรังแกหรือข่มเหงต่อหน้าธารกำนัลให้ได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

อย่างไรก็ตามนักกฎหมายชี้ว่า  ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 370 นี้  เน้นคุ้มครองไปที่ "ประชาชนส่วนใหญ่"  คนที่ถูกเป่าไล่ล้วนเป็นข้าราชการ  ไม่ใช่ประชาชน จึงไม่อยู่ในข่ายของมาตรานี้

 

ในขณะที่มาตรา 397 นั้น ก็ต้องดูประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59  ประกอบด้วย ที่ระบุว่าบุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำ โดยเจตนา กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น  

 

ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น "การเป่านกหวีด" มีเจตนาทำให้นักการเมืองมี "จิตสำนึกทางการเมือง" หรือ ประท้วงในการกระทำความผิดของนักการเมืองย่อม ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ เพราะขาดเจตนา ข่มเหง รังแก ขาดเจตนาทำให้อับอาย เดือดร้อนรำคาญ

 

TNEWS 18 พฤศจิกายน 2556



20/Nov/2013

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา