ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

รถหายที่อพาร์ตเมนต์! เจ้าของตึก-รปภ.ต้องรับผิดชอบมั้ย?!

รถคุณโผงหายไปจากลานจอดรถของอพาร์ตเมนต์ที่เขาเช่าพักอาศัยอยู่

คุณโผงยื่นฟ้องบริษัทรักษาความปลอภัย(รปภ.) และบริษัทเจ้าของอพาร์ตเมนต์นั้นขอให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่ารถมา

ทั้งสองต่อสู้คดีว่าไม่ต้องรับผิด

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าให้ยกฟ้อง

คุณโผงอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

คุณโผงฎีกาคดี

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเจ้าของอพาร์ตเมนต์สัญญาเช่าไม่มีข้อความตอนใดระบุว่า ค่าเช่าที่คุณโผงจ่ายแก่อพาร์ตเมนต์ รวมถึงค่าจ้างพนักงาน รปภ.ด้วย ทั้งไม่มีข้อตกลงว่า บริษัทอพาร์ตเมนต์มีหน้าที่ต้องดูแลรักษาทรัพย์สินของผู้เช่า

หน้าที่และความรับผิดของบริษัทอพาร์ตเมนต์ในฐานะผู้ให้เช่าย่อมเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ลักษณะ เช่าทรัพย์ มาตรา 546 ถึงมาตรา 551

กล่าวคือ ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่าในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้ว ต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายที่คุณโผงจ่ายไปโดยความจำเป็นและสมควรเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งเช่า และต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์สินที่เช่า หรือการรอนสิทธิ

ไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนดให้ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องรับผิดเพื่อความสูญหายอันเกิดแก่ทรัพย์สินของผู้เช่า

นอกจากนี้ตามสัญญาเช่าห้องไม่มีการตกลงเกี่ยวกับรถยนต์ที่คุณโผงนำมาจอดและไม่ได้ระบุความรับผิดชอบเกี่ยวกับทรัพย์สินของคุณโผง

คุณโผงสามารถเลือกจอดรถตามที่ว่างที่มีอยู่ และสามารถนำรถเข้าออกได้ยี่สิบสี่ชั่วโมง โดยพนักงาน รปภ.ที่ดูแลความปลอดภัยอพาร์ตเมนต์ไม่ได้แจกหรือแลกบัตรเพื่อเข้าจอดรถ และบริษัทอพาร์ตเมนต์ไม่ได้เก็บค่าจอดรถ

แสดงว่าบริษัทอพาร์ตเมนต์ไม่ได้รับดูแลรักษาทรัพย์ของคุณโผงแต่อย่างใด

ส่วนบริษัท รปภ.นั้น ตามสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัย ระบุว่า ผู้รับจ้างตกลงรับรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง มิให้ได้รับความเสียหายหรือสูญหาย อันเนื่องมาจากการโจรกรรม

เห็นได้ว่าสัญญาว่าจ้างนั้นให้บริษัท รปภ.ผู้รับจ้างต้องรับผิดต่อความเสียหายของทรัพย์สินของ บริษัทอพาร์ตเมนต์ ผู้ว่าจ้างเท่านั้น จึงไม่ต้องรับผิดต่อผู้เช่าห้องของบริษัทอพาร์ตเมนต์ และไม่มีหน้าที่ต้องป้องกันมิให้ทรัพย์สินของผู้เช่าถูกโจรกรรม

ด้วยเหตุนี้ บริษัท รปภ.จึงไม่ต้องรับผิดต่อการสูญหายของรถยนต์

พิพากษายืน

เป็นอันว่า บริษัท รปภ.และบริษัทอพาร์ตเมนต์ต่างไม่ต้องรับผิดชอบทั้งคู่

 

เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12447/2557 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 537 อันว่าเช่าทรัพย์สินนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สิน อย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดและผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น

 

คอลัมน์ สัพเพเหระคดี โดย โอภาส เพ็งเจริญ

มติชน วันที่ 09 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558



10/Nov/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา