ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

บอร์ดค่าจ้างมีมติเลื่อนปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำปี 59 ออกไป 6 เดือน เหตุสภาพเศรษฐกิจถดถอยไม่เอื้อ

เมื่อวันที่ 16 พ.ย. ที่กระทรวงแรงงาน ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง(บอร์ดค่าจ้าง) กล่าวหลังประชุมบอร์ดค่าจ้าง ว่า ที่ประชุมมีมติในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำหลังจากนี้จะต้องขึ้นอยู่กับสภาพ เศรษฐกิจ สังคมและความสามารถในการจ่ายของนายจ้างแต่ละจังหวัด โดยไม่จำเป็นจะต้องมีอัตราเดียวกันทั่วประเทศ และยังมีมติให้เลื่อนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2559 ออกไปอีก 6 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือน ม.ค.-มิ.ย.2559 เนื่องจากปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจอยู่ในภาวะถดถอย และอัตราเงินเฟ้อติดลบ

 

นอกจากนี้ จากการสำรวจของกระทรวงแรงงานเกี่ยวกับค่าครองชีพของแรงงานเมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค.2558 พบว่าค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ยังเพียงพอต่อการค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน โดยค่าใช้จ่ายตามอัตภาพคือค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นอยู่ที่วันละ 269 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายคุณภาพซึ่งรวมทั้งค่ากิจกรรมต่างๆ อยู่ที่วันละ 286 บาท

 

นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ ขึ้นมาศึกษาข้อมูลและแนวทางการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ โดยให้เสนอข้อมูลต่อบอร์ดค่าจ้างภายในเดือน มิ.ย.2559 แต่ถ้าคณะอนุกรรมการฯพิจารณาข้อมูลแล้วเสร็จก่อนกำหนด บอร์ดค่าจ้างก็จะเร่งนำข้อมูลมาพิจารณา

 

ขณะที่นายอรรถยุทธ ลียะวณิช กรรมการค่าจ้างฝ่ายนายจ้าง กล่าวว่า สภาพเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำมากว่า 2-3 ปีแล้ว และไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าอนาคตจะตกต่ำลงไปกว่านี้หรือไม่ ซึ่งบอร์ดค่าจ้างฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างมีความเห็นตรงกันว่ายังไม่สมควร จะปรับขึ้นค่าจ้างในขณะนี้ เพื่อให้ฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างอยู่ร่วมกันได้ ไม่ให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกันกับช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ทั้งนี้การเลื่อนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำก็เพื่อรอดูสภาพเศรษฐกิจอีกครั้ง

 

ด้านนายสมบัติ น้อยหว้า กรรมการค่าจ้างฝ่ายลูกจ้าง กล่าวว่า ฝ่ายลูกจ้างเห็นด้วยกับการเลื่อนปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำปี 2559 โดยจากข้อมูลของอนุกรรมการพิจารณาค่าจ้างจังหวัด พบว่ามีเพียง 5 จังหวัดที่เสนอขอปรับขึ้นค่าจ้าง คือ พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา สระบุรี ภูเก็ต และสมุทรปราการ ส่วนที่เหลืออีกกว่า 70 จังหวัดไม่เสนอขอปรับขึ้นค่าจ้าง ซึ่งต้องพิจารณาถึงสาเหตุว่าจังหวัดที่ขอปรับและไม่ปรับเกิดจากอะไร อย่างไรก็ตามขอยืนยันว่าการพิจารณาของอนุกรรมการพิจารณาค่าจ้างจังหวัดมี ความเป็นอิสระ ไม่มีการแทรกแซง
 

เดลินิวส์ 16 พฤศจิกายน 2558


16/Nov/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา