ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

สภาทนายฯ ชี้ คดีดาราลงรูปซดน้ำเมา โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

นายกสภาทนายความ ระบุ ดาราลงรูปเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลงเฟซบุ๊ก ถือว่าโพสต์รูปในสหรัฐฯ ไม่อาจดำเนินคดีอาญาแพ่งไทยได้ อีกทั้ง เป็นความผิดเกี่ยวกับศีลธรรม ไม่ใช่คดีความมั่นคง อยากให้ใช้กฎหมายอย่างรอบคอบ เป็นธรรมแก่สังคมมากที่สุด

 

เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 58 นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ กล่าวถึงกรณี การดำเนินคดีกับดารานักแสดงและดีเจในข้อหาโพสต์ภาพดื่มแอลกอฮอล์ ว่า ตนได้อบรมทนายความทั่วประเทศ เรื่อง พ.ร.บ.ทวงถามหนี้ และมีการพูดถึงการดำเนินคดีกรณีโพสต์ภาพดารากำลังดื่มแอลกอฮอล์ ว่า สามารถดำเนินคดีในราชอาณาจักรไทยได้หรือไม่ปรากฏว่า ทนายความนั่งเงียบ ตนจึงให้ข้อสังเกตในเรื่องนี้ กล่าวคือ ไม่สามารถดำเนินคดีอาญาแพ่งในประเทศไทยได้ เพราะการโพสต์หรือการประกาศการทำให้แพร่หลายข้อมูลในสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดย วิธีผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก ทุกคนที่ใช่เฟซบุ๊กต้องยอมรับระเบียบ ข้อกำหนด ของเฟซบุ๊ก ซึ่งมีสามสิบข้อแต่ไม่มีใครอ่าน ว่า การโพสต์ภาพข้อความให้ถือว่า โพสต์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น และเมื่อโพสต์ที่สหรัฐฯ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและดำเนินคดีในสหรัฐฯ ซึ่งข้อนี้คนทั่วไปไม่มีใครสนใจ

 

นายกสภาทนายความ กล่าวต่อว่า ผลทางกฎหมาย ถ้าถามว่า จะดำเนินคดีในประเทศไทยได้หรือไม่ ต้องย้อนไปดูว่า ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความผิด วัน เวลา สถานที่ ที่เกี่ยวข้อง เกิดขึ้นที่ไหน ดังนั้นถ้าดาราที่ไปให้การพูดว่า เขาไปโพสต์ที่สหรัฐฯ เรื่องนี้ก็จบทันที ถามอีกว่าแล้วจะใช้กฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงไปดำเนินคดีได้หรือไม่ เพราะความผิดในต่างประเทศอาจใช้กฎหมายความมั่นคงได้ ก็ตอบว่า การยกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าปาก เป็นความผิดเกี่ยวกับศีลธรรม ไม่ใช่คดีความมั่นคง

 

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวถามว่า ใครๆ ก็มองว่า ดาราโพสต์ภาพในประเทศไทย นายเดชอุดม กล่าวว่า เมื่อใช้ช่องทางเฟซบุ๊ก ต้องยอมรับเงื่อนไขของเขา เขาสามารถเปิดเผยข้อมูลของคนที่ใช้บริการของเขาได้ การโพสต์ภาพการเปิดดู ก็สามารถทำได้รวดเร็ว หรือจะกล่าวได้ว่า เขาโพสต์ของเขาที่สหรัฐฯ เราไปดูของเขาเอง หรืออาจมีการโพสต์ที่สหรัฐอเมริกา แต่อาจมีการเปิดดูในประเทศไทยชั่วเวลาที่สั้นๆ ดังนั้นการดำเนินคดีในประเทศไทยจึงไม่ถูกต้อง การสอบสวนจะไม่ชอบ โจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้อง อยากให้มีการนำข้อเท็จจริงนี้เข้าสู่การพิจารณาของศาล

 

"เชื่อว่าเรื่องนี้จะต้องสู้กันถึงสามศาล และผู้ที่มีสืบสวนเรื่องนี้และพนักงานสอบสวนอาจจะยังไม่ทันนึกถึงประเด็นนี้ ถ้าจะให้แนะนำดาราที่ถูกหมายเรียก ก็จะแนะนำว่าอย่าบอกว่าโพสต์ในเมืองไทย แต่โพสต์ที่อื่น ที่ตนออกมาพูดไม่ใช่เป็นการแนะนำในทางที่ผิด แต่อยากให้นักกฎหมายมีการใช้กฎหมายอย่างรอบคอบ และให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคมมากที่สุด" นายกสภาทนายความ กล่าว.

 

โดย ไทยรัฐออนไลน์ 21 พ.ย. 2558



24/Nov/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา