ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ไม่เล่น มีธุระ! รู้หรือไม่ สงกรานต์สาดน้ำส่งเดช เสี่ยงขึ้นโรงพัก?

โดย ไทยรัฐออนไลน์ 14 เม.ย. 2559

สงกรานต์...ประเพณีไทยอันรื่นเริงบันเทิงใจที่อบอวลไป ด้วยมนต์เสน่ห์ จนทำให้ลูกเด็กเล็กแดง หรือหนุ่มสาววัยคะนองรู้สึกถวิลหา และเฝ้ารอให้เทศกาลสาดน้ำเวียนมาบรรจบอีกครั้ง แต่...แต่มิใช่ทุกคนที่จะรู้สึกเช่นนั้น ยังมีหลายต่อหลายคนที่ไม่ชอบวันสงกรานต์ หรือเทศกาลที่ถูกขนานนามจากคนบางกลุ่มว่า “สงครามน้ำทิ้ง”

 

แม้ว่าวันสงกรานต์ จะเป็นเทศกาลอันเป็นที่รักของคนไทย แต่เราอย่าเพิ่งหลงลืมไปว่า วันใดวันหนึ่งในช่วงสงกรานต์ คุณอาจมีกิจธุระที่จะต้องออกไปนอกสถานที่ และที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น คือ คุณอาจจะต้องหอบหิ้วข้าวของที่ไม่สามารถเปียกน้ำได้เลยแม้แต่หยดเดียว แต่ในจังหวะที่คุณเคลื่อนที่ผ่านสมรภูมิน้ำ คุณบอกกล่าวเหล่าทหารมือสาดอย่างดีว่า “ไม่เล่นค่ะ” “มีธุระค่ะ” “ไม่สาดนะคะ”...โครมมมมมม! จู่ๆ มวลน้ำขนาดย่อมก็ลอยมาสัมผัสเข้ากับเนื้อตัวของคุณอย่างไม่ปรานี พร้อมแสดงแสนยานุภาพทำลายล้างโทรศัพท์มือถือ และเอกสารสำคัญไปเป็นที่เรียบร้อย...นาทีนั้น คุณจะทำอย่างไรดี ใครผิด ใครถูก รับมือแบบไหน วันนี้เรามีคำตอบ!

 

 จะไปไหนมาไหนช่วงสงกรานต์ต้องวางแผน

 

กรณีที่ 1 โดนสาดน้ำ แต่ทรัพย์สินไม่เสียหาย

นายสุนทร พยัคฆ์ อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายฯ ให้ความรู้แก่นักรบที่ต้องผ่านสมรภูมิน้ำในครั้งนี้ว่า ในช่วงวันสงกรานต์ (13-15 เมษายน) หากคุณโดนใครก็ตามสาดน้ำโดยที่คุณไม่มีความยินยอมพร้อมใจ ซึ่งคุณตัดสินใจที่จะแจ้งความดำเนินคดี แต่การเอาผิดในกรณีเช่นนี้จะค่อนข้างยาก เนื่องจากในหลักกฎหมายมีการบัญญัติไว้ว่า เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตาม จารีตประเพณี

ดังนั้น เจ้าหน้าที่จะพิจารณาจากเจตนาของผู้กระทำ (คนสาดน้ำ) ว่า ผู้กระทำมีเจตนาทำร้าย หรือมีวัตถุประสงค์ใดๆ กับผู้ถูกกระทำ (คนโดนสาด) หรือไม่ หากพบว่า ผู้กระทำมีเจตนาทำร้าย ก็สามารถแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาทำร้ายร่างกายได้ ซึ่งความผิดจากกรณีดังกล่าว ถือว่าเป็นความผิดฐานลหุโทษ เนื่องจากความผิดดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจตามมาตรา 391 “ผู้ ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งมีอายุความ 1 ปี”

“การโดนผู้อื่นสาดน้ำในช่วงสงกรานต์ ถือว่าเป็นเรื่องยากที่จะไปแจ้งความดำเนินคดี เนื่องจากกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา ซึ่งกรรมในที่นี้ คือการกระทำ การกระทำ คือสาดน้ำ ส่วนเจตนานั้น อยู่ในใจ ไม่สามารถนำออกมาเพื่อแสดงให้เห็นว่า การสาดน้ำที่เกิดขึ้นมาจากเจตนาทำร้าย แต่เจตนาที่มองเห็นด้วยตาเปล่า คือ เขาสาดน้ำสงกรานต์ตามประเพณี ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะมาดำเนินคดีผู้อื่นในข้อหาทำร้ายร่างกาย” ทนายความ อธิบายตามข้อกฎหมาย

การโดนสาดน้ำในอีกแง่หนึ่งของ พล.ต.อ.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (โฆษก ตร.) ระบุว่า หากผู้กระทำสาดน้ำไปโดนผู้ป่วยที่ไม่สามารถสัมผัสน้ำได้ เพราะอาจมีผู้ป่วยบางประเภทที่แพ้น้ำที่ปนเปื้อนสารเคมีต่างๆ เมื่อโดนน้ำแล้วอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย หรือร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต หากสาดน้ำโดนผู้ป่วยเหล่านี้ ถือว่ามีความผิดในข้อหาทำร้ายร่างกาย

“หากเราสัญจรผ่านบริเวณที่มีคนเล่นน้ำอยู่ แต่มีใครคนหนึ่งมาเซ้าซี้ที่จะขอสาด ทั้งๆ ที่เราบอกเจตนาของเราไปแล้วว่าไม่สาด การกระทำเช่นนี้ สามารถเอาผิดได้ในข้อหาก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ ดังนั้น การกระทำผิดจากพฤติกรรมสาดน้ำ ต้องพิจารณากันเป็นกรณีๆ ไป” โฆษก ตร. กล่าวถึงความผิดขั้นเบา

 หากไม่ยินยอมให้สาดน้ำ ซึ่งแจ้งไว้ก่อนแล้ว แต่กลับโดนสาดจนทรัพย์สินเสียหาย มีความผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 420

 

กรณีที่ 2 โดนสาดน้ำ จนทรัพย์สินเสียหาย

นายสุนทร พยัคฆ์ อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายฯ กล่าวถึงกรณีที่ผู้ถูกกระทำโดนสาดน้ำในช่วงสงกรานต์ จนเป็นผลให้ทรัพย์สินหรือของมีค่าที่นำติดตัวมาได้รับความเสียหายว่า หากคุณบอกผู้ที่เล่นน้ำไปก่อนแล้วว่า คุณไม่เล่น อย่าสาด เพราะมีข้าวของสำคัญ เช่น โทรศัพท์มือถือ, เอกสาร, บัตรประเภทต่างๆ หรือทรัพย์สินมีค่าอันเป็นสิ่งที่เปียกน้ำไม่ได้ แต่สุดท้าย กลุ่มคนที่เล่นน้ำอยู่ กลับสาดน้ำคุณจนทรัพย์สินเสียหาย ซึ่งกรณีเช่นนี้ ถือเป็นความผิดทางแพ่ง

“การกระทำเช่นนี้ ผู้เสียหายสามารถแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ โดยระบุว่า คุณบอกไปก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุแล้วว่า อย่าสาด เพราะอาจทำให้ทรัพย์สินเสียหาย แต่คุณก็ยังทำ เพราะฉะนั้น เท่ากับคุณจงใจกระทำให้เกิดความเสียหาย” นายสุนทร ทนายความ ให้รายละเอียด

ดังนั้น หากผู้อื่นไม่ยินยอมที่จะให้สาดน้ำ โดยแจ้งไว้ก่อนแล้ว แต่กลับโดนสาดจนเป็นเหตุให้ทรัพย์สินเสียหาย ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 “ผู้ใดจงใจหรือ ประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่า ผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”

สามารถเอาผิดได้ในข้อหาก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษ

 

กรณีที่ 3 โดนสาดน้ำ แถมลูบคลำ จับคลึง

นายสุนทร พยัคฆ์ อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายฯ กล่าวถึงเคสอนาจารว่า ในช่วงวันสงกรานต์ หากผู้ใดก็ตามโดนบุคคลใดบุคคลหนึ่งกอด จูบ ลูบคลำตามร่างกาย หรือจับของลับ ผู้กระทำการเช่นนี้จะมีความผิดชัดเจน เนื่องจากประเพณีสงกรานต์เป็นวัฒนธรรมที่ดีงาม และไม่มีพฤติกรรมอนาจารแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ผู้เสียหายสามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 278 “ผู้ ใดกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปีโดย ขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่า ตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

“การกอดจูบ ลูบคลำ โดยที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สมัครใจ จนทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บ หรือเกิดความรู้สึกเจ็บใจ จิตตก ตกใจ เครียด ร่วมด้วย ถือว่าเป็นความผิด ซึ่งมีโทษตามคดีอาญา ดังนั้นผู้เสียหายสามารถแจ้งความได้ทันที” พล.ต.อ.เดชณรงค์ ให้ความรู้ที่ซ่อนไปด้วยการเตือนมือปลาหมึกทั้งหลาย

เก็บทรัพย์สินไว้ในบรรจุภัณฑ์ที่มิดชิด เพื่อป้องกันความเสียหาย

วิธีแนะนำ ผ่านสมรภูมิน้ำฉลุย

นายสุนทร พยัคฆ์ อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายฯ แนะนำวิธีแก่ผู้ที่ไม่ต้องการโดนสาดน้ำในช่วงสงกรานต์ว่า ก่อนออกจากบ้านคุณควรมีวิธีการป้องกันตัวเองเบื้องต้น โดยเก็บทรัพย์สินไว้ในบรรจุภัณฑ์ที่มิดชิด เพราะคุณอย่าลืมว่า สถานการณ์ที่คุณต้องออกไปเผชิญ หลีกเลี่ยงค่อนข้างยาก

“แม้ว่าคุณจะตะโกนแจ้งผู้ที่เล่นน้ำไปแล้ว แต่เขาอาจจะไม่ได้ยิน หรือในอีกทางหนึ่งเขาอาจชะงักมือไม่ทัน จนทำให้น้ำสาดมาถึงคุณ เพราะฉะนั้น ทางที่ดีควรป้องกันตัวเองไว้ก่อนเบื้องต้น” นายสุนทร แนะนำด้วยความเป็นห่วง

 เจ้าหน้าที่จะพิจารณาจากเจตนาของผู้กระทำ(คนสาดน้ำ) เป็นหลัก

พล.ต.อ.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา โฆษกตำรวจ กล่าวว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า หากรู้อยู่แล้วว่า สถานที่บริเวณนั้นๆ มีผู้คนเล่นน้ำอยู่มากมายเป็นประจำตลอดทุกปี แต่กลับเดินเข้าไปโดยที่ไม่ได้ป้องกันทรัพย์สินของตัวเอง กรณีเช่นนี้จะต้องพิจารณากันอีกที เนื่องจากผู้สาดอาจอ้างว่า เขาเล่นกันอยู่ก่อนแล้ว แต่คุณเดินเข้าไปพอดี ซึ่งเขาไม่มีเจตนาที่จะสาดคุณ

ทั้งนี้ หากผู้เสียหายเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทางพนักงานสอบสวนจะพิสูจน์พยานหลักฐานต่างๆ ว่าฝ่ายใดให้การถูกต้อง โดยเจ้าหน้าที่จะมีวิธีการ เช่น ในพื้นที่เกิดเหตุมีประจักษ์พยานหรือไม่, มีผู้ใดถ่ายคลิปไว้ได้หรือไม่, บริเวณนั้นๆ มีกล้องวงจรปิดหรือไม่

“ในช่วงสงกรานต์ ซึ่งเป็นเทศกาลอันดีงาม ผู้เล่นก็ควรเล่นอย่างเหมาะสม อย่าพยายามสาดน้ำคนที่เขาไม่ต้องการให้สาด ส่วนผู้ที่มีกิจธุระต้องสัญจรผ่านชุมชนที่เล่นน้ำก็ต้องพยายามหาวิธีป้องกัน ตัวเองจากน้ำ เช่น ใช้รถยนต์เดินทาง, วางแผนก่อนการเดินทาง เพื่อหาทางลัดเลาะจุดเสี่ยง, ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถกันน้ำได้ เป็นต้น” พล.ต.อ.เดชณรงค์ เตือนประชาชนด้วยความปรารถนาดี



16/Apr/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา