ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เตือน 10 พฤติกรรมออนไลน์ ไลค์ เม้นท์ แชร์ โพสต์ เสี่ยงคุก

หมดเวลาที่จะอ้างว่าไม่รู้กฎหมาย เพราะการกดไลค์ คอมเม้นท์ แชร์ หรือโพสต์ เพียงครั้งเดียว ก็อาจเสี่ยงทำผิดกฎหมาย ตำรวจปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ปอท. จึงได้ออกมารวบรวม 10 พฤติกรรมยอดฮิตที่ประชาชนมักกระทำผิดกฎหมายคอมพิวเตอร์ หรือตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ)


          1. อัพโหลดรูปลามกอนาจาร
          2. ตั้งตัวเป็นเจ้ากรมข่าวลือ ทำให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย
          3. ตัดต่อภาพหรือวิดีโอบุคคลอื่น แล้วนำมาเผยแพร่ ทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลดังกล่าว
          4. ขโมยข้อมูลของผู้อื่นเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
          5. ใช้เทคโนโลยีกระทำการใส่ร้ายผู้อื่น ทำให้บุคคลดังกล่าวได้รับความเสียหาย
          6. ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล แอบนำไอดีและพาสเวิร์ดของผู้อื่นไปใช้
          7. ก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นจนทำให้ระบบล่ม หรือใช้ไม่ได้
          8. การส่งอีเมลลูกโซ่ โดยปกปิดแหล่งที่มา สร้างความรำคาญให้แก่ผู้อื่น
          9. การกดแชร์ทั้งที่ยังไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
          10. การโพสต์ข้อความหมิ่นเบื้องสูงหรือทำเว็บไซต์หมิ่นสถาบัน มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ถือเป็นความผิดร้ายแรงทั้งกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อีกด้วย


          เหล่านี้ก็คือตัวอย่างพฤติกรรมออนไลน์ต้องห้ามที่ขัดต่อกฎหมาย ใครไม่อยากโดนจับ โดนปรับ พึงระวังไว้ให้ดีก่อนคลิก

 

- ThaiPR.net 25 เม.ย. 2559



28/Apr/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา