ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ก.อุตฯเข้มโทษสูงสุดปิดกิจการ โรงงานก่อความเดือดร้อนประชาชน - แนวหน้า 28 พ.ย. 59

น.ส.นิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงกรณีที่มีข่าวว่าห้างหุ้นส่วน เอส อาร์ ไอ เมททัล โปรดักส์ ซึ่งเป็นสถานประกอบกิจการโรงงานหลอมโลหะ ตั้งอยู่ที่ต.สระพังลาน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ได้สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับประชาชนที่อาศัยบริเวณใกล้เคียง โดยประชาชนแจ้งว่าโรงงานเตรียมที่จะเสียค่าปรับให้กับกระทรวงอุตสาหกรรม แล้วก็จะสามารถประกอบกิจการได้ตามปกตินั้น กระทรวงขอชี้แจงว่า ในการกำกับดูแลสถานประกอบการของกระทรวงมี พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 เป็นเครื่องมือหรือกลไกในการกำกับดูแล

 

โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนดำเนินการใน 2 มาตรการ หากผู้ประกอบการโรงงานกระทำผิด พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการทั้งทางอาญา และทางปกครอง ซึ่งเท่าที่ได้รับรายงาน ทราบว่าอุตสาหกรรมจ.สุพรรณบุรี ได้ดำเนินการทั้ง 2 กรณีแล้วขณะนี้อยู่ระหว่างการส่งเรื่องมาที่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีของกระทรวง เพื่อเปรียบเทียบปรับตามกฎหมาย

 

“น่าจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ว่าถ้าเจ้าของโรงงานสารภาพและยินยอมให้เปรียบเทียบปรับแล้ว คดีจะจบ เพราะขั้นตอนการดำเนินคดีอาญาที่มีความผิดทั้งปรับและจำคุก จะขึ้นอยู่กับฐานความผิด การจะปรับหรือไม่นั้น เป็นอำนาจของคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีที่จะพิจารณา ถ้าเห็นว่าไม่ควรถูกฟ้องหรือได้รับโทษจำคุกก็จะเปรียบเทียบปรับ โดยโทษปรับอาจเพิ่มขึ้นหากมีการทำผิดเป็นครั้งที่ 2 และหากเป็นความผิดซ้ำซาก ก็จะส่งเรื่องกลับไปยังจังหวัดที่เป็นเจ้าของเรื่อง เพื่อส่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินคดีและส่งฟ้องศาลต่อไป สำหรับทางปกครองนั้น ก็ทำควบคู่กันไปกับทางอาญา โดยเจ้าของโรงงานต้องปรับปรุงแก้ไขตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ หากไม่ปรับปรุงแก้ไข จะนำไปสู่การสั่งปิดโรงงาน”น.ส.นิสากร กล่าว

 

ทั้งนี้กรณีของห้างหุ้นส่วน เอส อาร์ ไอเมททัล โปรดักส์ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่งตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 ให้ปรับปรุงแก้ไขระบบจัดการฝุ่นละอองเขม่าควัน และกลิ่นแล้ว นอกจากนี้จากการตรวจสอบพบว่าโรงงานแห่งนี้ได้มีการขยายโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตขยายโรงงานตามมาตรา 18 ซึ่งมีบทกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งจ.สุพรรณบุรีได้ส่งเรื่องดำเนินคดีทางอาญากับโรงงานนี้มาให้คณะกรรมการเปรียบเทียบคดี ดำเนินการเปรียบเทียบปรับ และได้มีคำสั่งให้ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนแล้ว



28/Nov/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา