ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เปิดคดีจำคุก 245 ปี อดีตรองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ฮั้วประมูล Nation TV 4 มีนาคม 2560

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 14 ก.พ.ที่ผ่านมา ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้มีคำพิพากษาจำคุก นางประไพศรี เผ่าพันธุ์ อดีตรองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จำเลยที่ 1 รวม 49 กระทง ๆ ละ 5 ปี เป็นเวลาทั้งสิ้น 245 ปี ฐานกระทำผิดทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล)พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ที่เป็นบทหนัก แต่เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วตามกฎหมายให้จำคุกสูงสุดไว้ 50 ปี และลงโทษข้าราชการชั้นผู้ใหญ่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กับเอกชนผู้เสนองาน ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดสมยอมราคา อีกรวม 13 รายให้จำคุก คนละ 30 - 40 กระทง รวมจำคุกตั้งแต่ 100 - 205 ปี แต่เมื่อรวมโทษจำคุกทุกกระทงแล้วตามกฎหมายให้จำคุกสูงสุดไว้ 50 ปี ขณะที่ศาลได้พิพากษายกฟ้อง ข้าราชการชั้นผู้น้อยประมาณ 20 รายเนื่องจากเห็นว่าเป็นเพียงผู้รับเรื่องประมูล ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสมยอมราคาและการทุจริตคดีดังกล่าว

 

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดเมื่อปี 2558 และส่งอัยการสูงสุด ฟ้องดำเนินคดีนางประไพศรี อดีตรองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน , ข้าราชการในกรมและเอกชน รวมกว่า 30 ราย ร่วมกันทุจริตดำเนินโครงการจัดจ้างปรับปรุงซ่อมแซมสระน้ำ ถนน อาคารสถานที่ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ระหว่างปีงบประมาณ 2543-2545 จำนวน 201งานจ้าง หรือ 201 สัญญา เป็นเงินทั้งสิ้น 311,317,086 บาท ซึ่งมีพฤติการณ์ช่วยเหลือเอกชนรายใดรายหนึ่งให้เป็นคู่สัญญารับจ้างทำงานปรับปรุงซ่อมแซมอาคารสถานที่ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

 

ด้วยการอนุมัติให้จัดจ้างโดยวิธีแบ่งจ้างโดยลดวงเงินที่จะจ้างในครั้งเดียวกัน เพื่อให้วงเงินต่ำกว่าที่จะจ้างโดยวิธีประกวดราคา เป็นโดยวิธีสอบราคา และเพื่อให้อำนาจสั่งจ้างเปลี่ยนแปลงไป จากที่เป็นอำนาจของอธิบดี ให้เป็นอำนาจของตนเองแทน โดยไม่มีการดำเนินการสอบราคาและแข่งขันเสนอราคากันจริง ทั้งได้ทำเอกสารการดำเนินการจัดจ้างโดยวิธีสอบราคาเป็นเท็จ ปลอมและใช้เอกสารใบเสนอราคาของเอกชนรายอื่นมาเป็นหลักฐานแข่งขันเสนอราคากับเอกชนรายที่ได้เลือกให้เป็นผู้รับจ้างทำงานนั้น

 

โดย นายนิกร ทัสสโร รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ให้รายละเอียดว่า นับแต่เปิดทำการศาล คดีนี้ถือเป็นคดีแรกที่ศาลอาญาคดีทุจริตฯ พิพากษาลงโทษจำคุกสูงสุดข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในคราวเดียวจำนวนมากกว่า 10 คน โดยส่วนใหญ่ศาลวางโทษจำคุกแต่ละคนตั้งแต่ 100 ปี จนถึง 240 ปีแต่ตามกฎหมายรวมโทษแล้วสำหรับโทษจำคุกนั้นจำคุกได้เพียง 50 ปี และขณะนี้จำเลยประมาณ 10 คนได้ถูกคุมขังในเรือนจำนับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา

 

ทั้งนี้เนื่องจากศาลอาญาคดีทุจริตฯ และศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ประกันตัว แม้จำเลยจะได้ยื่นขอประกันตัวหลายครั้งแล้วก็ตาม อย่างไรก็ดี ในส่วนเนื้อหาของคดีจำเลยสามารถอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลอาญาคดีทุจริตได้ตามกฎหมาย ทั้งนี้เฉพาะจำเลยที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำนั้นยื่นอุทธรณ์ได้โดยไม่ต้องมาแสดงตนต่อศาลแต่อย่างใด อีกทั้งยังมีสิทธิยื่นประกันตัวใหม่ได้ และเนื่องจากคดีนี้ศาลพิพากษายกฟ้องจำเลยบางคน ดังนั้นอัยการสูงสุดโจทก์ ก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ในส่วนของจำเลยที่ศาลพิพากษายกฟ้องได้ด้วย

 

เมื่อถามถึงการชดใช้ค่าเสียหายคืนแก่รัฐ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตฯ กล่าวว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และกระทรวงแรงงาน ในฐานะผู้เสียหายควรจะนำคำพิพากษาไปศึกษาและหากยังไม่ได้ดำเนินการเรียกค่าเสียหายก็ควรรีบดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายคืนแก่รัฐอันเกิดจากการที่จำเลยที่ได้กระทำลง ซึ่งจริง ๆ ในทุกคดีหน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องควรติดตามคดี เพราะเมื่ออัยการสูงสุดฟ้องคดีแล้ว หน่วยงานรัฐ ผู้เสียหาย สามารถที่จะยื่นคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งคืนแก่รัฐเข้ามาในคดีอาญาได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล แต่คดีนี้ไม่ปรากฏว่าหน่วยงานของรัฐยื่นคำของทางแพ่ง

 

ดังนั้นหลังจากมีคำตัดสินแล้วหน่วยงานรัฐอาจจะต้องไปดำเนินการเรื่องค่าเสียหายคืนแก่รัฐเป็นเรื่องใหม่ต่างหาก

 

สำหรับเจ้าหน้าที่รัฐทุกคน อยากฝากให้ปฏิบัติงานโดยสุจริตยึดถือประโยชน์ของแผ่นดินเป็นที่ตั้ง จะได้มีความภูมิใจในความเป็นข้าราชการ การทำตามระเบียบ กฎหมายอย่างเคร่งครัดนั้น เป็นสิ่งจะคุ้มครองตน อย่าใจอ่อนต่อเงินและประโยชน์ที่ไม่ชอบ อย่าใจอ่อนต่อคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งการโดยไม่ถูกต้อง เพราะท้ายที่สุดแล้วการกระทำตามคำสั่งที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้เดือดร้อนต้องถูกดำเนินคดีอาญาได้ และเท่าที่สังเกตเมื่อต้องคดี ก็ไม่เคยเห็นผู้สั่งการให้ความช่วยเหลือทางคดี หรือช่วยประกันตัวให้

 

รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตฯ กล่าวย้ำ
 



04/Mar/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา