ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

กระทรวงแรงงงาน เผยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2560 ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2560 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2560 เป็นต้นไป - สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 4 กันยายน 60

หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2560 ได้ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2560 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ที่ผ่านมาเป็นต้นไป ซึ่งในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับนี้มีการปรับปรุง แก้ไข 3 เรื่องหลักๆ คือ
 
1) กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างบางกลุ่ม บางประเภท เช่น นักเรียน นิสิต นักศึกษา คนพิการ ผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมการการจ้างงานและคุ้มครองแรงงาน เช่น หากมีการจ้างผู้สูงอายุเป็นรายชั่วโมงอัตราค่าจ้างที่กำหนดต้องไม่ต่ำกว่า ค่าจ้างขั้นต่ำ
 
2) เพิ่มบทบัญญัติการเกษียณอายุและการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง จากเดิมการเกษียณอายุขึ้นอยู่กับข้อบังคับของสถานประกอบการ แต่ใน พ.ร.บ. ฉบับนี้กำหนดการเกษียณอายุไว้ที่ 60 ปี 
 
3) ปรับปรุงเรื่องข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเพื่อลดภาระของนายจ้างในการส่ง สำเนาข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่ ในมาตรา 108 และมาตรา 110 ซึ่งถูกยกเลิกโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 21/2560 ใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (doing business) จากเดิมนายจ้างจะลงทุนทำธุรกิจต้องส่งข้อบังคับให้กรมสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงานทราบก่อน แต่ใน พ.ร.บ. ฉบับนี้สถานประกอบการมีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและประกาศให้ลูกจ้างทราบภายใน 15 วัน โดยไม่ต้องส่งข้อบังคับให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แต่ต้องมีสำเนาเอกสารให้พร้อมสามารถเรียกดูได้ตลอด ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการรายใหม่ลดเวลาในการเริ่มธุรกิจ
 
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวต่อไปว่า เพื่อสร้างความรับรู้ให้นายจ้าง ลูกจ้าง ประชาชนทั่วไป และผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้าถึงบทกฎหมายโดยสะดวก และสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายขึ้น กระทรวงแรงงานจึงได้จัดทำคำชี้แจงพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2560 ขึ้น โดยมีรายละเอียดประกอบด้วยบทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติม คำชี้แจง และตัวอย่าง ซึ่งอยู่ระหว่างนำเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานให้ความเห็นชอบ ก่อนเผยแพร่ให้นายจ้าง ลูกจ้าง ประชาชนทั่วไป และผู้เกี่ยวข้องให้ทราบต่อไป


05/Sep/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา