ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

“บิ๊กตู่” เผยเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ปีนี้พุ่งร้อยละ 4.3 สูงสุดในรอบ 18 ไตรมาส - มติชนออนไลน์ 24 พ.ย.60

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน เวลา 20.15 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการศาสตร์พระราชา ตอนหนึ่งว่า เรื่องดีๆ เกี่ยวกับปากท้องของเราทุกคน ที่อยากมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ คือ การได้เห็นเศรษฐกิจไทยเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

 

กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศในไตรมาส 3 ของปีนี้ ขยายตัวถึงร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และนับว่าสูงสุดในรอบ 18 ไตรมาส ที่ผ่านมา ถ้ามองภาพรวม 3 ไตรมาสของปี 2560 นี้ เศรษฐกิจไทยโตร้อยละ 3.8 และก็คาดว่าเมื่อรวมไตรมาส 4 แล้ว ตลอดปีน่าจะเติบโตได้ร้อยละ 3.9 ซึ่งน่าจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปีหน้า เราก็คาดว่าจะขยายตัวถึง ร้อยละ 4.1 หากเรามองย้อนกลับไป จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวมาอย่างต่อเนื่อง นับจากที่รัฐบาลนี้เข้ามาบริหารประเทศในปี 2557 ที่เรามีการเติบโตได้เพียงร้อยละ 0.9 เท่านั้น เนื่องจากเป็นช่วงที่เศรษฐกิจโลกอ่อนแอ และเรามีปัญหาความขัดแย้งในประเทศ

 

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า แต่นับจากปี 2558 และ 2559 เราก็ขยายตัวได้ดีขึ้นต่อเนื่อง เป็นร้อยละ 2.9 และ 3.2 ตามลำดับ เนื่องจากความมีเสถียรภาพในประเทศ และความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทั้งในและระหว่างประเทศ แม้ภาพรวมของโลกจะยังชะลอตัวอยู่บ้าง และค่อยๆ ฟื้นตัวที่ผ่านมา ภาครัฐก็ได้ทำงานอย่างเต็มที่ ในการที่จะออกมาตรการต่างๆ ทั้งการใช้จ่าย การลงทุน และมาตรการด้านภาษี กฎหมาย เพื่อจะกระตุ้นให้เศรษฐกิจได้มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง มีการขยายตัวอย่างราบรื่นสม่ำเสมอ ปัจจุบันเราก็เห็นว่าภาคเอกชน ได้เริ่มออกมาใช้จ่าย ลงทุนกันมากขึ้น ตามลำดับ มากบ้างน้อยบ้าง รวมถึงการส่งออกที่ฟื้นตัว และแข็งแกร่งขึ้น มีการขยายวงกว้างมากขึ้นไปในหลายหมวดสินค้า โดยเฉพาะในไตรมาสล่าสุดนี้

 

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ทั้งนี้สินค้าส่งออกสำคัญ ที่ขยายตัวในอัตราที่สูง ได้แก่ชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง ข้าว มันสำปะหลัง และน้ำตาล ซึ่งก็จะเป็นรายได้ให้กับภาคธุรกิจ และพี่น้องประชาชน ที่อยู่ใน ห่วงโซ่การผลิต ของกลุ่มสินค้าเหล่านี้ เราต้องย้อนกลับมาดูว่าราคาวัสดุที่เกษตรกรได้รับนั้นมีความสมดุลหรือไม่ กับการที่มูลค่าสินค้าเหล่านี้ในการส่งออกมีมากขึ้น เพราะบางอย่างกลไกการตลาดกดทับอยู่ ซึ่งเราก็จำเป็นต้องหารือกับทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นการยากพอสมควร เพราะทุกประเทศก็แข่งขันกันในการที่จะลดราคาสินค้าเพื่อจะขายได้มากขึ้น ของเราก็จำเป็นต้องไปดูที่ต้นทางด้วย อยากเรียนพี่น้องเกษตรกรให้เข้าใจ เราพยายามเต็มที่แล้ว แต่ก็จะทำให้ดีขึ้นต่อไป

 

“อย่างไรก็ตาม การที่เราทยอยฟื้นตัว จากช่วงที่เศรษฐกิจผ่านเหตุการณ์หลายๆ อย่าง รวมถึงความท้าทายของโลกยุคนี้ ซึ่งได้แก่การที่ราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำทั่วโลกมายาวนาน เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าจนอาจเข้ามาทดแทนแรงงานมนุษย์ และภัยธรรมชาติที่เกิดบ่อยครั้งสร้างความเสียหายรุนแรงขึ้น แต่การกระจายตัวของรายได้ ผลตอบแทนจากการลงทุน อาจจะยังลงไปไม่ทั่วถึงพี่น้องประชาชนบางส่วน โดยเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมาก และยังไม่สามารถปรับตัวได้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ผมจึงอยากจะเรียนว่า ภาครัฐได้ตระหนักถึงปัญหานี้ และไม่ได้หลงใหลได้ปลื้มไปกับตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีขึ้นแต่เพียงอย่างเดียว จนไม่ได้มองว่าจะมีการกระจายตัวของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้อย่างไร ยังลงไปไม่ถึงทุกกลุ่ม หรือไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว



27/Nov/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา