ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

การเลือกตั้งท้องถิ่นไม่ง่าย ต้องแก้กฎหมายให้สอดคล้องกับ รธน.ปี 60 - สยามรัฐออนไลน์ 27 พ.ย.60

“ถ้าจะเลือกตั้งท้องถิ่นทั้งหมดเป็นไปไม่ได้ เพราะท้องถิ่นขณะนี้มีรูปแบบ กทม.เมืองพัทยา อบต.เทศบาล และ อบจ.รัฐบาลจะต้องแก้กฎหมาย 5 ฉบับ และไปแก้กฎหมายอีก 1ฉบับ ที่เรียกกฎหมาย 6 ฉบับ หรือกฎหมายกำหนดหน้าที่อำนาจของท้องถิ่น”

 

ที่หอประชุมกองทัพเรือ ถนนอรุณอมรินทร์ กรุงเทพฯ นิตยสารสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ จัดงานปาฐกถาพิเศษ ในโอกาสครบรอบ 64 ปี โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายรัฐมนตรี ได้กล่าวปาฐกถาหัวข้อ “อนาคตประเทศไทย ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี” นอกจากนี้ยังมี ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรยายในหัวข้อ “อนาคตท้องถิ่นภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่” นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และ รศ.นที ขลิบทอง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ร่วมสะท้อนแนวคิดการขับเคลื่อนประเทศ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

 

ศ.ดร.โกวิทย์ กล่าวว่า หากมีแต่เลือกตั้งท้องถิ่นจะทำอย่างไร เรื่องนี้ตนมี 2 มุมมอง คือ มุมมองที่ 1. รัฐธรรมนูญเป็นตัวกำหนดกรอบทางเดินอนาคตการปกครองท้องถิ่น ที่บัญญัติเรื่องเจตนารมณ์การปกครองท้องถิ่น โครงสร้างท้องถิ่น อำนาจหน้าที่ท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของประชาชน สมาชิกสภาท้องถิ่น และ ผู้บริหารท้องถิ่น เรื่องเหล่านี้ถูกบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญปี 2560 แต่จะบัญญัติอย่างไร หน่วยงานที่เป็นกลไกรับลูก หรือกฎหมายลูกจากรัฐธรรมนูญ คือรัฐบาล พบว่าขณะนี้ยังไม่เข้าไปทำ

 

“มุมมองที่ 2.การเลือกตั้งท้องถิ่นไม่ง่ายที่จะเกิดขึ้น ถ้าไม่ได้ไปแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญปี 2560 เช่น มีอยู่มาตราหนึ่งเขียนเรื่องสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง ซึ่งเรื่องนี้เป็นข้อบัญญัติในทุกรัฐธรรมนูญตั้งแต่ รัฐธรรมนูญ ปี 2540 รัฐธรรมนูญ ปี 2550 และรัฐธรรมนูญ ปี 2660 ส่วนผู้บริหารท้องถิ่นถูกระบุว่าให้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนหรือให้มาจากการให้ความเห็นชอบจากสมาชิกสภาท้องถิ่น ประเด็นนี้จึงเป็นประเด็นสำคัญ ดังนั้นการที่จะเลือกตั้งท้องถิ่น รัฐบาล กระทรวงมหาดไทย จะต้องไปแก้กฎหมายดังกล่าวก่อน”

 

ศ.ดร.โกวิทย์ กล่าวต่อว่า คำถามคือ จะแก้อะไร ถ้าแก้บางส่วน เช่น แก้ผู้บริหารท้องถิ่นคิดว่าไม่ง่าย เพราะรัฐธรรมนูญในมาตรา 77 บอกว่า การแก้ไขกฎหมายหรือทำกฎหมายท้องถิ่นต้องไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ในรัฐธรรมนูญเขียนคุณสมบัติหลักเกณฑ์ของสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นจะต้องคำนึงถึงการป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ก็ต้องดูว่าคุณสมบัติของสมาชิก คุณสมบัติของผู้บริหารจะเขียนอย่างไรให้เป็นไปตามที่แนวทางป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพราะผู้บริหารท้องถิ่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) นายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หลายคนมีใบแดง จากมาตรา 44 ตามประกาศของนายกรัฐมนตรี

 

“ถ้าจะเลือกตั้งท้องถิ่นทั้งหมดเป็นไปไม่ได้ เพราะท้องถิ่นขณะนี้มีรูปแบบ กทม.เมืองพัทยา อบต.เทศบาล และ อบจ.รัฐบาลจะต้องแก้กฎหมาย 5 ฉบับ และไปแก้กฎหมายอีก 1ฉบับ ที่เรียกกฎหมาย 6 ฉบับ หรือกฎหมายกำหนดหน้าที่อำนาจของท้องถิ่น ผมขอเสนอว่า หากจะเลือกตั้งท้องถิ่นที่ง่ายสุด เลือก อบต. เพราะไม่วุ่นวาย เนื่องจากอยู่ในเขตชนบท ส่วน กทม. หากเลือกตั้งพรรคใหญ่ 2-3 พรรคลงสมัครรับเลือกตั้งแน่นอน และถ้าเลือก อบจ.ระดับ นายก อบจ.ทั่วประเทศจะต้องลงเลือกตั้ง ดังนั้นการเลือกตั้งท้องถิ่นจึงไม่ง่ายที่จะเกิดขึ้นถ้าไม่ได้ไปแก้ไขกฎหมายท้องถิ่นให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญปี 2560 ทั้งนี้ควรจะปฏิรูปท้องถิ่นตามกฎหมายให้หมดก่อน หากไม่ทำในสิ่งที่เสนอจะถึงทางตัน”

 

นอกจากนี้ ศ.ดร.โกวิทย์ ยังเสนอให้มีการปฏิรูปท้องถิ่นก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งเรื่องการปฏิรูปท้องถิ่นมี 3 เรื่องด้วยกัน คือ เรื่องที่ 1.การปฏิรูปท้องถิ่นโดยใช้ฐานท้องถิ่นในการพัฒนาประเทศ ประเทศไทยเคยใช้อำนาจจากส่วนกลางปกครอง ใช้กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการภูมิภาค และใช้จังหวัดเป็นฐาน ตนเป็นห่วงการทำยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งงบประมาณชาติส่วนหนึ่งให้ความสำคัญกับจังหวัด และกลุ่มจังหวัดเป็นเรื่องใหญ่ในอนาคต เรื่องนี้เห็นด้วยกับรัฐบาลครึ่งหนึ่ง ส่วนครึ่งหนึ่งไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการกลับไปสู่อำนาจของส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้แข็งตัว ขัดแย้งกับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ที่จะลดอำนาจรัฐเพิ่มอำนาจท้องถิ่น ทำให้ท้องถิ่นถูกมองว่าไม่มีความสำคัญ

 

“สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “จะต้องปฏิรูปท้องถิ่นให้ชัดเจน” ซึ่งรัฐบาลยังไม่เห็นชุดความคิด ผมในฐานะนักวิชาการมองว่า มีบทเรียนหลายประเทศซึ่งเราไม่จำเป็นจะต้องเอาแบบอย่าง แต่ต่างประเทศสอนให้รู้ว่า เวลาเปลี่ยนระบบความคิดในการพัฒนา เปลี่ยน เช่น ประเทศเยอรมนี เปลี่ยนประเทศภายใน 40 ปีหลังสงครามโลกให้เจริญก้าวหน้าเพราะใช้ท้องถิ่นปฏิรูปท้องถิ่น ปฏิรูปพลเมือง ปฏิรูปประชาชนให้เข้มแข็ง ปฏิรูปฐานรากของประชาชนให้มีความรับผิดชอบในการจัดการตนเอง ส่วนเรื่องยาเสพติด การแก้ความยากจน รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนมาให้ชุมชนจัดการตนเอง ขณะที่ญี่ปุ่นก็เป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้ฐานท้องถิ่นเป็นการพัฒนาประเทศเช่นกัน"

 

ศ.ดร.โกวิทย์ กล่าวต่อว่า เรื่องที่ 2. เพิ่มศักยภาพท้องถิ่นโดยการเพิ่มรายได้ เมื่อใช้ยุทธศาสตร์ท้องถิ่นเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ จะทำอย่างไรให้ท้องถิ่นมีศักยภาพ ถ้าชุดความคิดบอกมาว่า ท้องถิ่นคือความหวังในการพัฒนาประเทศแบบประเทศเยอรมนี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือประเทศจีน ก็มีท้องถิ่นที่พัฒนาขึ้นมาก บทเรียนเหล่านี้เป็นรูปธรรมที่สุด เราจะต้องเอาบทเรียนมาคิดในการพัฒนาประเทศ

 

คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพิ่มเติมว่า สิ่งหนึ่งที่อยากจะเสนอไว้คือ การเพิ่มศักยภาพท้องถิ่นในรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้แล้ว เช่น เพิ่มขีดความสามารถเชิงรายได้แล้วเติมเงินอุดหนุนท้องถิ่นให้มากขึ้น ปัจจุบันท้องถิ่นมีรายได้จากเงินอุดหนุนแค่ 28% จากที่รียกร้องกันไว้ 35% ซึ่งการเพิ่มรายได้ของท้องถิ่นนั้นทำหลายเรื่อง เช่น แก้กฎหมายภาษีรายได้ให้ท้องถิ่น จัดเก็บรายได้จากภาษีมากขึ้น รัฐบาลอุดหนุนเงินมากขึ้น

 

“ท้ายสุด เรื่องที่ 3.ส่งเสริมให้ชุมชนรู้จักจัดการตนเอง เมื่อชุมชนมีทุน มีเงินไม่ว่าจากรัฐบาล ท้องถิ่นหรือภาคประชาสังคมต่างๆที่จัดสรรลงไปให้ ชุมชนอย่าชะล่าใจ อย่าใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย ให้ยึดเรื่องความพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9นำมาปรับใช้ ดังนั้นการที่มีคนให้ทุนจะต้องนำมาคิดแก้ปัญหาให้ได้มากที่สุด”

 

นอกจากปฏิรูปโดยภาครัฐแล้ว คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เสนอให้พี่น้องประชาชนที่เป็นคนท้องถิ่นปฏิรูปท้องถิ่นโดยภาคประชาชน พร้อมอธิบายว่า ข้อเสนอดังกล่าวจะต้องทำคู่ขนานระหว่างการปฏิรูปโดยภาครัฐ โดยคณะปฏิรูปสังคม เพราะรัฐบาลไม่มีคณะปฏิรูปท้องถิ่น อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาตนมีความภูมิใจที่ได้ต่อสู้มาเกือบ 30 ปี เรียกร้องให้ใช้ท้องถิ่นเป็นฐานในการพัฒนาประเทศมาตลอด โดยเขียนผ่านคอลัมน์ประชาคมท้องถิ่น ในสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ซึ่งเป็นอุดมการณ์และหวังทำให้ชุมชนเข้มแข็งแก้ปัญหาคนจนในชุมชนได้

 

เรื่อง : ณัษฐพร อินทร์คง



27/Nov/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา