ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เสนอปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม “คดีเลิกจ้าง” เหตุลูกจ้างเข้าไม่ถึง- THAI PBS 12 ธันวาคม 2560

วันนี้ (12 ธ.ค.2560) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย นำเสนอสถานการณ์การเลิกจ้างแรงงานตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ในการแถลงผลงานฝ่ายกฎหมาย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยกับการช่วยเหลือคนงานให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม หลังพบว่ามีแรงงานจำนวนมาก ไม่สามารถเข้าถึงการคุ้มครองตามตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยยกตัวอย่างการฟ้องร้องคดีความที่ถูกนายจ้างบริษัทเอกชนเลิกจ้าง ซึ่งยุติลงในกระบวนการยุติธรรมเพียงชั้นไกล่เกลี่ย รับเงินชดเชยในหลักแสนบาท แต่ไม่ได้กลับเข้าทำงานอย่างที่หวัง เพื่อให้เห็นการเลิกจ้างคนงานที่ไม่เป็นธรรม และสะท้อนปัญหาจากกระบวนการยุติธรรมในคดีแรงงาน ที่ลูกจ้างเข้าไม่ถึงการคุ้มครองสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดไว้

 

 

ซึ่งตั้งแต่ ปี 2558-2560 ฝ่ายกฎหมายของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้ช่วยเหลือดำเนินคดีความทางกฎหมายให้แรงงาน 647 คน รวม 70 กรณี โดยเป็นกรณีเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยสูงสุด 40 กรณี

ทั้งนี้ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ยังเสนอให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม 10 ประการ โดยเฉพาะระบบไต่สวนของศาลแรงงาน ที่ผู้พิพากษาควรมีความเชี่ยวชาญเรื่องแรงงานเพื่อไม่ให้แรงงานเสียสิทธิ รวมทั้งเลี่ยงการใช้วิธีไกล่เกลี่ย มากกว่าสืบคดีพิจารณาในชั้นศาล ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อลูกจ้าง

 

 

 



17/Dec/2017

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา