ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตรแรกเกิดของรัฐ 600 บาทต่อเดือน ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับแล้ว , ฐานเศรษฐกิจ 1 มิ.ย. 61

ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเฮ..นอกจากรับสิทธิเงินสงเคราะห์บุตรแล้ว ยังมีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตรแรกเกิดของรัฐ 600 บาท/เดือน จนถึงอายุ 3 ขวบ ด้าน รมว.แรงงาน กำชับ สำนักงานประกันสังคม แจ้งผู้ประกันตนให้ทราบและรีบขอรับสิทธิได้แล้วตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 ก.ย. 2561

 

นายสุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาฯสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยถึง ข้อห่วงใยของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.แรงงาน ที่มีต่อผู้ประกันตนในการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรของประชาชนและภาคแรงงาน ให้สามารถเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาประเทศชาติ โดยได้กำชับสำนักงานประกันสังคมดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องว่า ขณะนี้สำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกันตนได้ทราบถึง มติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 7 พ.ย. 2560 ที่เห็นชอบให้ยกเลิกเงื่อนไขที่กำหนดว่าผู้มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดต้องไม่เป็นผู้อยู่ในระบบประกันสังคม ทั้งนี้ เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกันตนที่อยู่ในระบบประกันสังคมในการเลี้ยงดูบุตรอย่างมีคุณภาพ โดยให้เริ่มให้เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตรแรกเกิดในปีงบประมาณ 2561 จนถึง 30 ก.ย. 2561

 

นายสุรเดช กล่าวต่อว่า ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมได้มีปรับเพิ่มสิทธิกรณีสงเคราะห์บุตร 400 บาท เป็น 600 บาท/เดือน จนถึงอายุ 6 ปี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างกฎหมายเพื่อประกาศใช้ โดยผู้ประกันตนจะสามารถรับสิทธิกรณีสงเคราะห์บุตรย้อนหลังได้ถึง 1 ม.ค. 2561 อีกด้วย นอกจากผู้ประกันตนได้รับสิทธิจากประกันสังคมแล้ว ผู้ประกันตนสามารถยื่นลงทะเบียนเพื่อรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดได้อีก โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้กำหนดคุณสมบัติต้องเป็นหญิงตั้งครรภ์ มารดาของเด็กแรกเกิดหรือผู้ปกครองของเด็กแรกเกิดที่มีสัญชาติไทย อยู่ในครัวเรือนยากจนหรือเสี่ยงต่อความยากจน คือ มีรายได้รวมของครัวเรือนทั้งหมดหารด้วยจำนวนสมาชิกในครัวเรือนอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยไม่เกิน 3,000 บาท/คน/เดือน หรือไม่เกิน 36,000 บาท/คน/ปี

 

อย่างไรก็ดีหากผู้ประกันตนที่มีบุตรตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 ปี และมีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นทุกคนมีสิทธิขอรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดรายละ 600 บาท/คน/เดือน โดยผู้ที่อาศัยในกรุงเทพสามารถยื่นลงทะเบียนรับเงินอุดหนุนบุตรได้ที่สำนักงานเขตกรุงเทพ ผู้ที่อาศัยอยู่ต่างจังหวัดลงทะเบียนที่สำนักงานเทศบาลหรือที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล และผู้ที่อยู่อาศัยในเขต อ.เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ลงทะเบียนได้ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึง 30 ก.ย. 2561

 

ทั้งนี้ผู้ประกันตนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) โทร 0-2651-6532 ศูนย์ช่วยเหลือสังคม (OSCC) โทร.1300 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ศูนย์บริการสายด่วน 1506 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง



06/Jun/2018

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา