ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

กระทรวงต่างประเทศเตือนแรงงานไทย ห้ามนำยาทุกชนิดเข้าประเทศไต้หวัน

กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า ด้วยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ว่า สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ณ กรุงไทเป ได้รายงานกรณีแรงงานต่างชาติประสบปัญหาจากการที่ญาติส่งยารักษาโรคไปให้ แล้วถูกดำเนินคดีข้อหานำยาเข้าเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางการไต้หวัน และมีแรงงานไทยในไต้หวันหลายรายได้รับหมายเรียกให้ไปขึ้นศาลในกรณีการนำยา รักษาโรคประเภทยาแก้ปวดและยาแก้ไข้หวัด (เช่น ทิฟฟี่และดีคอลเจน) ที่มีส่วนผสมของตัวยาพีพีเอหรือฟีนิลโปรปาโลนามี ซึ่งเป็นยาต้องห้ามที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภทที่ 2 ของไต้หวันเข้าเมือง
 
กระทรวงการต่างประเทศจึงขอประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่า ไต้หวันมีกฎระเบียบกำหนดว่า การนำยาทุกชนิดเข้าไต้หวันจะต้องได้รับอนุญาตก่อนการนำเข้าทุกครั้ง ดังนั้น ขอให้แรงงานไทยปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
 
1. แรงงานที่จะเดินทางไปทำงานในไต้หวัน และนำยารักษาโรคติดตัวไป จะต้องยื่นขออนุญาตต่อสำนักงานอาหารและยา (Food and Drug Administration) กระทรวงสาธารณสุขไต้หวัน โดยเอกสารที่ต้องใช้ประกอบด้วย
(1) แบบฟอร์มขออนุญาตนำเข้ายา (Application for Import Certificate และ Import Certificate)
(2) ใบรับรองแพทย์ (ภาษาอังกฤษ)
(3) ใบสั่งยาจากแพทย์ (ภาษาอังกฤษ)
 
โดยส่งเอกสารทั้งสามรายการไปที่ Food and Drug Administration, Ministry of Health and Welfare, No. 161-2, Kunyang Street, Nangang District, Taipei City 11561, Taiwan. ซึ่งสำนักงานอาหารและยาไต้หวันจะจัดส่งใบอนุญาตนำเข้า (Import Certificate) ไปให้แรงงาน โดยจะต้องสำแดงใบอนุญาตดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่เมื่อเดินทางถึงไต้หวัน
 
2. โดยที่แรงงานต่างชาติในไต้หวันทุกคนจะได้รับการประกันสุขภาพ โดยสามารถไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาพยาบาลได้ จึงขอแนะนำแรงงานไทยว่า ไม่ควรแจ้งให้ญาติจัดส่งยาจากประเทศไทยไปให้ เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อการใช้ยาไม่ตรงกับโรคแล้ว ยังเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีข้อหานำเข้ายาโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย

ฐานเศรษฐกิจ 5 ธันวาคม 2556


06/Dec/2013

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา