ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

"อนค." เปิดตัวเลขเลิกจ้าง สูงกว่าช่วงวิกฤต ศก.ปี 52 ถึงร้อยละ 24 , THAIPBS 4 ตุลาคม 62

"ส.ส.อนาคตใหม่" เปิดตัวเลขแรงงานถูกเลิกจ้าง และสถิติคนว่างงานปี 2562 เข้าขั้นวิกฤต เหตุสูงกว่าปี 2552 ช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เหตุ "เศรษฐกิจแย่" พร้อมจี้รัฐคุ้มครองแรงงาน เสนอแนวทางระยะสั้น กลาง ยาว

 

4 ต.ค.2562 น.ส.วรรณวิภา ไม้สน และนายสุเทพ อู่อ้น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ แถลงข่าวกรณีปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลต่อผู้ใช้แรงงาน จากเศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่สภาวะถดถอยรุนแรง ปัญหาการเลิกจ้างงาน การไม่ปรับค่าแรง และปัญหาการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม ที่ขยายตัวในปี 2562 พร้อมเรียกร้องรัฐบาลออกมาตรการให้ความช่วยเหลือทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว 

 

น.ส.วรรณวิภา กล่าวว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างรุนแรงในปี 2562 นี้ ไม่ว่าจะเป็นภาคส่งออก ท่องเที่ยวหรืองานด้านบริการ ส่งผลให้ไม่มีการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ ขณะที่ผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศกำลังประสบปัญหาความไม่มั่นคงในการทำงาน จากข้อมูลที่ผู้ประกันตนตามสิทธิประกันสังคม ขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสาเหตุการเลิกจ้าง เดือน ม.ค. - ก.ค.2552 ที่เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เปรียบเทียบกับปี 2562 ในช่วงเดือนเดียวกัน พบว่าปี 2562 มีผู้ถูกเลิกจ้างสูงกว่าปี 2552 ถึง 24% โดยในปี 2552 มีผู้ถูกเลิกจ้างจำนวน 152,751 คน ในขณะที่ปี 2562 มีผู้ถูกเลิกจ้างจำนวน 190,002 คน
 


นอกจากนี้ น.ส.วรรณวิภา ยังระบุข้อมูลจาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ ว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2552 มีอัตราผู้ว่างงาน 436,000 คน ส่วนปี 2562 มีผู้ว่างงานถึง 490,000 คน ซึ่งมากกว่าช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ถึง 54,000 คน สถานการณ์เช่นนี้ พบว่ามีการเลิกจ้างอย่างต่อเนื่องในหลายกรณี และอาจเป็นการเลิกจ้างโดยละเมิดกฎหมายแรงงาน เช่น เลิกจ้างโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ไม่จ่ายค่าชดเชย หรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่ลูกจ้างควรได้รับ นอกจากนี้ ยังมีการปรับเปลี่ยนสภาพการจ้างงานที่ขัดกับเงื่อนไขการจ้าง หรือ ลดทอนสวัสดิการของแรงงาน เป็นต้น

 

นายจ้างบางราย ฉวยโอกาสเลิกจ้างพนักงาน โดยอ้างเรื่องสถานการณ์เศรษฐกิจตกต่ำ เพื่อย้ายฐานการผลิตไปยังพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งได้รับการอุดหนุนการลงทุนและสิทธิพิเศษจากรัฐบาล ปล่อยให้ลูกจ้างถูกลอยแพโดยไม่ได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย

 

ด้าน นายสุเทพ ระบุว่า ภาครัฐเป็นตัวอย่างของการไม่คุ้มครองสิทธิแรงงาน ไม่ปฏิบัติตามแนวทางการจ้างงานที่มีคุณภาพ เห็นได้ว่าการส่งเสริมการจ้างงานแบบเหมาช่วง เหมาค่าแรง ซึ่งจ่ายค่าแรงที่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นการจ้างงานที่ต่ำกว่าพื้นฐาน มีการเลิกจ้างจากภาครัฐอย่างไม่เป็นธรรม โดยอ้างถึงงบประมาณ นอกจากนี้ การเลิกจ้างยังส่งผลถึงแรงงานนอกระบบ กลุ่มอาชีพอิสระ ซึ่งมีอำนาจในการต่อรองที่น้อยอยู่แล้ว
 

 

กมธ.ที่เกี่ยวข้อง เสนอแนวทาง 3 ระยะ

 

สำหรับการผลักดันประเด็นดังกล่าว ในส่วนของคณะกรรมาธิการการแรงงาน และคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมี ส.ส.ของพรรคอนาคตใหม่ ทำหน้าที่เป็นประธาน กมธ. และรองประธาน กมธ. นั้น มีรายงานว่า มีการผลักดันเรื่องนี้ทั้งแนวทางระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ดังนี้

 

ระยะสั้น ภายใน 30 วัน

 

  1. ประธานกรรมาธิการแรงงาน จะประสานเข้ากรรมาธิการโดยด่วน เพื่อให้ดำเนินการต่อนายจ้างที่ละเมิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการเลิกจ้างโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ไม่จ่ายค่าชดเชย ปรับเปลี่ยนลดวันหยุด ปรับเปลี่ยนสภาพงานที่ขัดกับเงื่อนไขการจ้าง ในยุคสมัยที่พรรคอนาคตใหม่เป็นประธานกรรมาธิการแรงงานนี้ นายจ้างที่จงใจละเมิดกฎหมายแรงงานจะต้องโทษจำคุก และปรับสูงสุดอย่างเดียวเท่านั้น และจะทำการขึ้นบัญชีดำนายจ้าง
  2. เรียกหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ถึงแนวทางการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ ที่มีลูกจ้างไม่ใช่ข้าราชการกมากกว่า 9 แสนคน ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ไม่ต่ำกว่ากฎหมายแรงงานแห่งราชอาณาจักรไทย เจ้าหน้าที่รัฐระดับผู้บริหารที่ปฏิบัติต่ำกว่ากฎหมายแรงงาน จะต้องถูกเรียกมาชี้แจง และคณะกรรมาธิการจะทำหนังสือถึงผู้บังคับบัญชาระดับสูงให้เป็นแนวปฏิบัติต่อไป

 

ระยะกลาง

  1. ผลักดัน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ ที่เพิ่มสวัสดิการแรงงาน และการต่อรองรวมตัว ซึ่งพรรคอนาคตใหม่ได้นำเสนอญัตติเรียบร้อยแล้ว
  2. ผลักดันให้รัฐบาลไทย รับอนุสัญญา ILO 87-98 ทั้งฉบับ ยกร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฉบับใหม่

 

ระยะยาว

ผลักดันการปฏิรูปภาษี ทำลายกลุ่มทุนผูกขาด สร้างรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าครบวงจร จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน เพื่อเพิ่มอำนาจให้ประชาชนอย่างแท้จริง



03/Nov/2019

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา