ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ก.แรงงานฯ เผย SCCC ปิดรง.ปูนสระบุรีปลดลูกจ้าง 144 คน รง.ปูนฯ อื่นยังไม่มีรายงานเลย์ออฟ , สำนักข่าวอินโฟเควสท์ 17 เมษายน 63

นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยว่า การที่บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง (SCCC) ประกาศปิดสายการผลิตโรงงาน 1 ของกิจการสระบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.63 เป็นต้นไปนั้น ขณะนี้ได้รับรายงานจากทางจังหวัดสระบุรีว่า การปิดสายการผลิตในโรงงาน 1 ดังกล่าวจะกระทบต่อพนักงานที่มีอยู่ 144 คน ซึ่งได้แจ้งการปลดพนักงานทั้งหมดทั้งในส่วนของโรงงานและสำนักงาน จากพนักงานที่มีอยู่ทั้งหมด 2,100 คน จากโรงงานปูนซีเมนต์ 3 แห่งของ SCCC โดยให้เหตุผลในการปิดสายการผลิตดังกล่าว เนื่องจากกำลังซื้อในตลาดที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ ทำให้มีความจำเป็นต้องลดกำลังการผลิตลง

 

อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่าโรงงานปูนซีเมนต์ของบริษัทอื่นแจ้งการปิดโรงาน หรือปลดพนักงานเข้ามาแต่อย่างใด

 

"เรื่องนี้คงกระทบไปทั่วหมด เพราะตามรายงานเข้ามาแต่ละวันก็จะมีจำนวนโรงงานที่แจ้งเข้ามารายวัน มีทุกวัน มีโรงเล็ก โรงใหญ่ บางโรงมีสายป่านยาวก็ใช้การหยุดกิจการชั่วคราว ถ้าเป็นบริษัทที่ประเมินว่าสถานการณ์ยืดเยื้อยาวนาน ก็อาจจะสู้ไม่ไหว เลิกกิจการไป เทียบกับปีที่ผ่านมา เราก็ยอมรับว่าแนวโน้มค่อนข้างเยอะ ถ้าเป็นตัวเลขของหน่วยงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จากการที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างแล้วมาเรียกร้องสิทธิตามกฎหมาย เราพบว่าปีนี้มีจำนวนสถานประกอบการเลิกจ้างเป็น 2 เท่า ลูกจ้างได้รับผลกระทบจำนวนมากเกือบ 4 เท่า"

 

นายอภิญญา กล่าวว่า การจัดเก็บตัวเลขการเลิกจ้างของกรมฯ มาจากจำนวนพนักงานที่ไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายแล้วมายื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ซึ่งในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2563 (ต.ค.62- มี.ค.63) มีแจ้งการปิดกิจการทั้งสิ้น 992 แห่ง จาก 511 แห่งในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และมีพนักงานที่มายื่นคำร้องทั่วประเทศ จำนวน 13,407 คน จาก 3,040 คนในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ขณะที่สถานประกอบการที่หยุดกิจการชั่วคราว มีทั้งสิ้น 1,113 แห่ง จาก 117 แห่งในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 10 เท่า ในแง่พนักงานที่ได้รับผลกระทบมีจำนวน 271,446 คน จาก 37,821 คนในช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าจนถึงสิ้นเดือนเม.ย.น่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีก โดยตัวเลขดังกล่าวเฉพาะยอดผู้ที่เข้ามาร้องต่อกรมฯ ไม่นับรวมยอดการเลิกจ้างที่ไม่ได้เกิดข้อพิพาท

 

ทั้งนี้ การพิจารณายอดการเลิกจ้างต้องดูที่ตัวเลขของการขึ้นทะเบียนประกันตนกรณีการว่างงาน ซึ่งจะสะท้อนตัวเลขการถูกเลิกจ้าง โดยเบื้องต้นเฉพาะเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา มีประมาณ 140,000 คน ซึ่งเป็นผู้มาขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงาน ทำให้ตัวเลขยอดการว่างงานในระบบขณะนี้น่าจะอยู่ที่ราว 700,000 คน ขณะที่คาดว่าสถานการณ์ตั้งแต่เดือนเม.ย.น่าจะเพิ่มขึ้นอีก โดยในส่วนของของกรมฯก็จะมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดเพื่อให้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างได้รับสิทธิตามกฎหมาย



18/Apr/2020

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา