ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ข่าวดี!!! โรงงานเปิดรับแรงงานใหม่เพิ่ม 1.2 แสนคนสูงสุดรอบ 3 ปี , โพสต์ทูเดย์ 30 มิย. 63

ยอดขอใบอนุญาต รง.4 ช่วง 6 เดือนแรก 1,702 ราย พุ่ง 10.22% สวนทางโควิด ตั้งโต๊ะจ้างงานเพิ่มอีก 1.2 แสนคน รองรับ 5 หมวดกิจการ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหาร เครื่องจักรกล โลหะ และผลิตภัณฑ์พลาสติก

 

นายประกอบ วิวิธจินดา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยถึง สถิติการประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมว่า ยอดขอใบอนุญาตประกอบกิจการ (รง.4) และขยายกิจการใน 21 กลุ่มอุตสาหกรรมช่วงครึ่งแรกของปี' 63 (ม.ค.–มิ.ย.) มี จำนวน 1,702 ราย เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.22 % โดยมีการจ้างงานใหม่ 123,794 คน เพิ่มขึ้น 79.23 % และเงินลงทุน 174,850.47 ล้านบาท ลดลง 14.09%

 

ทั้งนี้แม้ว่าทั่วโลกจะได้รับผลกระทบจากการระบาดไวรัสโควิด-19 แต่ปริมาณการจ้างงานใหม่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมากแสดงให้เห็นว่าในส่วนของภาคอุตสาหกรรมได้มีการวางแผนการลงทุนล่วงหน้าอยู่แล้ว จึงทำให้ตัวเลขการลงทุน การจ้างงาน มีตัวเลขที่สูงขึ้น ซึ่งในช่วง 2 ไตรมาสแรก ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นน่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ โควิด-19มากนัก

 

“แม้สถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมของโลกจะได้รับผลกระทบ ซึ่งเป็นสถานการณ์ปกติที่ทั่วโลกประสบอยู่ เพราะนักลงทุนต้องรอดูสถานการณ์ผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ว่าจะคลี่คลายเมื่อไหร่ แต่ในส่วนของประเทศไทยก็ยังมีเรื่องดี ๆ 

 

โดยพบว่าตัวเลขความต้องการจ้างงานใหม่ของโรงงานที่ขออนุญาตใบ ร.ง.4 และขยายกิจการเพิ่มขึ้นจากปีก่อน และหากเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกของปีอื่น ๆ พบว่าช่วง 6 เดือนแรกของปี 63 มีความต้องการแรงงานใหม่เพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 3 ปี หรือย้อนหลังไปถึงปี 61 

 

ซึ่งอย่างน้อยก็จะสามารถเข้ามารองรับการจ้างงานในไทยให้เพิ่มขึ้นรวมถึงสามารถช่วยแก้ปัญหาการว่างงานของแรงงาน จากผลกระทบการระบาดไวรัสโควิด-19 และรองรับนักศึกษาที่จบใหม่ได้ในระดับหนึ่ง” นายประกอบ กล่าว

 

สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความต้องการแรงงานสูงสุด 5 อันดับแรกคือ กลุ่มผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์มีความต้องต้องการแรงงานเพิ่ม 39,873 คน เนื่องจากกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวมีการใช้แรงงานในการประกอบและตรวจสอบอุปกรณ์จำนวนมาก 

 

รองลงมาเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร มีความต้องการแรงงาน 20,112 คน, กลุ่มผลิตเครื่องจักรเครื่องกล 11,910 คน, กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ 6,002 และกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติก 5,814 คน 

 

ทั้งนี้หากพิจารณาตัวเลขการขอใบอนุญาตจัดตั้งโรงงานในครึ่งแรกของปี'63 เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 62 จำนวน 1,702 ราย แบ่งเป็นยอดขอใบอนุญาตประกอบกิจการ 1,267 ราย ลดลง 3.36 % จ้างงาน 52,692 ราย เพิ่มขึ้น 25.58 % และเงินลงทุน 71,121.96 ล้านบาท ลดลง 30.16 % และการขยายกิจการ จำนวน 435 ราย เพิ่มขึ้น 13.58% จ้างงาน 71,102 ราย เพิ่มขึ้น 53.65% เงินลงทุน 103,728.51 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.07 % 

 

โดยอุตสาหกรรมอาหารมีการขอใบอนุญาตขอจัดตั้งโรงงานและขยายกิจการสูงสุดจำนวน 97 ราย เพิ่มขึ้น 44.78 % มีการจ้างงาน 15,631 คน เพิ่มขึ้น 44.21 % และเงินลงทุน 14,390.43 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50.19 % สาเหตุที่มีการขออนุญาตลงทุนโรงงานประเภทนี้มากสุดเพราะกลุ่มอุตสาหกรรมนี้มีการเจริญเติบโตสูง

 

ส่วนอันดับสองเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติก 36 รายลดลง 41.94% จ้างงาน 2,363 คน ลดลง 36.16% และเงินลงทุน 2,763.92 ล้านบาท ลดลง 64.93% 

 

กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากพืช 32 ราย เพิ่มขึ้น 6.67% จ้างงาน 1,706 คน เพิ่มขึ้น 79.58 % เงินลงทุน 5,266.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 46.71%, ผลิตภัณฑ์อโลหะ 31 ราย เพิ่มขึ้น 82.35% จ้างงาน 2,474 คน เพิ่มขึ้น 1,346.78% ลงทุน 2,951 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 645.68% และกลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ 26 ราย ลดลง 15.38% จ้างงาน 3,462 คนเพิ่มขึ้น 69.54 %เงินลงทุน 3,076.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 45.63%

 

อย่างไรก็ตามทิศทางของโรงงานอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มที่ดีส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งถ้าดูจากตัวเลข จะเห็นว่ายังมีการขออนุญาตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

 

นายประกอบ กล่าวถึง แผนฟื้นฟูส่งเสริม หรือสนับสนุนสถานประกอบการอุตสาหกรรม หลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ว่า ขณะนี้ได้จัดทำข้อเสนอโครงการฯ ตามมาตรการแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยและสังคม (พ.ร.ก. กู้เงินเพื่อการเยียวยาและดูแลเศรษฐกิจ จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ) ให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาแล้ว จำนวน 5 โครงการวงเงินกว่า 148 ล้านบาท ประกอบด้วยโครงการแปลงเครื่องจักรเป็นทุน โดยการบำรุงรักษาเครื่องจักรสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 กลุ่มที่ 1 โรงงานอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ เคมี ยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ เหล็ก และต่อเรือซ่อมเรือ

 

นอกจากนี้ยังมีโครงการแปลงเครื่องจักรเป็นทุนโดยการบำรุงรักษาเครื่องจักรสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ กลุ่มที่ 2 โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม ยา ไม้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ สิ่งทอ เซรามิก แก้วและกระจก หนังและผลิตภัณฑ์หนัง, โครงการฟื้นฟูและยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมด้านความปลอดภัย มาตรฐาน ผลิตภาพ พลังงานและสิ่งแวดล้อม, โครงการพัฒนายกระดับศักยภาพการผลิตของเอสเอ็มอี กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ด้วยการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตออฟติงส์ หรือ IoTsให้ได้ชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมสนับสนุนผู้ผลิตชิ้นส่วนและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง และโครงการฟื้นฟูโรงงานอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปด้วยเทคนิควิศวกรรมอาหาร เชื่อว่าหากได้รับการสนับสนุนก็จะช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้



02/Jul/2020

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา