ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ครม.รับทราบสภาพัฒน์รายงานภาวะ ศก.ปรับตัวลดลง-เยียวยาแรงงานรับผลกระทบโควิด, ผู้จัดการออนไลน์18 ส.ค. 2563

18 ส.ค. น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ รายงาน

 

โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี ไตรมาสที่ 2 ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.2 รวมครึ่งปีแรกเศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงร้อยละ 6.9 เป็นผลจากการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การส่งออกสินค้าและบริการ การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวลดลง เช่น มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 17.8 การลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 15 ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 และการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5

 

นอกจากนี้ สภาพัฒน์ยังได้รายงานให้ ครม.รับทราบแนวโน้มเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2563 โดยคาดว่าจะปรับตัวลดลงในช่วงร้อยละ 7.8 -7.3 โดยมีข้อจำกัดจาก รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรับตัวลดลงมาก ภาวะความถดถอยรุนแรงของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 และปัญหาภัยแล้ง

 

ขณะเดียวกัน สภาพัฒน์ยังได้รายงานให้ ครม.รับทราบภาวะสังคมไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ด้วย โดยระบุว่า ในไตรมาส 2 การจ้างงานลดลงอย่างต่อเนื่อง การว่างงานเพิ่มขึ้น และค่าจ้างแรงงานลดลง

 

อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.95 สาเหตุเกิดจากสถานที่ทำงานหยุด หรือปิดกิจการ แต่ในไตรมาสที่ 2 นี้ รัฐบาลได้มีมาตรการชดเชย เยียวยาให้กับแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ประกอบด้วย

 

1. แรงงานผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยจำนวน 920,000 คน

 

2. แรงงานผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่อยู่ในสถานประกอบการที่หยุดงานด้วยเหตุสุดวิสัย แต่ไม่สามารถรับเงินชดเชยเนื่องจากจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนไม่ครบ 6 เดือน จำนวน 59,776 คน ส่วนนี้ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน

 

3. แรงงานนอกระบบที่เป็นกลุ่มแรงงานอิสระ 15.3 ล้านคน และเกษตรกร 7.75 ล้านคน ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ทำให้แรงงานกลุ่มนี้มีสภาพคล่องมากขึ้น และบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 ได้

 

และรัฐบาลยังมีมาตรการด้านอื่น เช่น มาตรการภาษี มาตรการลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม มาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งช่วยลดผลกระทบให้ผู้ประกอบการ และรักษาการจ้างงานส่วนหนึ่งไว้ได้



22/Aug/2020

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา