ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ก.แรงงานต่ออายุแรงงานต่างด้าว 1.3 แสนราย ไม่ต้องกลับปท.-ลดติดโควิด , ประชาชาติธุรกิจ 5 ตค. 63

วันที่ 5 ตุลาคม 2563 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผย คบต.เห็นชอบให้แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตาม MoU และกำลังจะครบวาระการจ้างงาน 4 ปี ในเดือน พฤศจิกายน 2563 สามารถอยู่และทำงานต่อไปได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่ต้องเดินทางกลับประเทศ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 และอาจก่อให้เกิดการระบาดซ้ำในไทย ขณะนี้เตรียมนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาต่อไป


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.) ครั้งที่ 4/2563 โดยมีนางธิวัลรัตน์ อังกินันท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม

 

เพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินการให้แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามบันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ (MoU) ซึ่งวาระการจ้างงานครบ 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 – 31 ธันวาคม 2564 ให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานต่อไป


นายสุชาติ กล่าวว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การเดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อดำเนินการตามขั้นตอน MoU ตามปกตินั้น ทำได้ยากและมีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องให้ความสำคัญกับมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ตามนโยบายรัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มุ่งสร้างความเชื่อมั่นรองรับการฟื้นฟูและขยายตัวทางเศรษฐกิจ ของประเทศไทย


ดังนั้นเพื่อมิให้นายจ้างและสถานประกอบการที่มีความจำเป็นต้องใช้แรงงานต่างด้าว ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน กระทรวงแรงงานจึงได้เสนอแนวทางการดำเนินการดังกล่าว

 

ซึ่งจากการตรวจสอบในระบบฐานข้อมูลของกรมการจัดหางาน ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 พบว่ามีแรงงานต่างด้าวที่ใบอนุญาตทำงานกำลังจะสิ้นสุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 – ธันวาคม 2564 จำนวนถึง 131,587 คน เป็นแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา 34,053 คน ลาว 24,597 คน และเมียนมา 72,937 คน

 

ด้านนายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวถึงขั้นตอนดำเนินการว่า แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่เข้ามาทำงานตาม MoU ซึ่งวาระการจ้างงานครบ 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 – 31 ธันวาคม 2564 สามารถดำเนินการดังนี้ 

 

1. ตรวจสุขภาพ เพื่อนำใบรับรองแพทย์ไปยื่นขออนุญาตทำงานและขออยู่ต่อในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป


2. ยื่นขออนุญาตทำงานกับกรมการจัดหางาน (มีอายุไม่เกินครั้งละ 2 ปี)

 

3. ขอตรวจลงตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจัก (Visa) ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี ค่าธรรมเนียมคำขอ 1,900 บาท

 

4. จัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ณ สำนักเขตกรุงเทพมหานคร ศูนย์ทะเบียนภาคจังหวัดสาขาหรือที่กรมการปกครองกำหนดในพื้นที่ที่คนต่างด้าวทำงาน

 

ทั้งนี้นายจ้าง/สถานประกอบการ และแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 10 หรือที่ไลน์ @service_workpermit หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน ซึ่งมีการจัดล่ามในภาษากัมพูชา เมียนมา และอังกฤษ ให้บริการข้อมูลข่าวสาร แนะนำวิธีการทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย” อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าว



09/Oct/2020

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา