ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดระบบตรวจสอบสิทธิรับเงินเยียวยา ม.33 ใน 9 กิจการที่ได้รับผลกระทบพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด , ประชาชาติธุรกิจ 19 กค. 64

วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 นายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ โฆษกสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ตามที่ คณะรัฐมนตรีได้ให้การเห็นชอบมาตรการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา 


ขณะนี้สำนักงานประกันสังคมได้เปิดระบบให้ตรวจสอบสิทธิแล้ว นายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา

 

ใน 9 ประเภทกิจการ ได้แก่

 

1. ก่อสร้าง 2. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 3. ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ 4. กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ 5. การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ 6. การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 7. ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 8. กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ 9. กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน 


สามารถเข้าตรวจสอบสิทธิได้ที่หน้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th ผู้ประกันตนมาตรา 33 เพียงกรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ก็สามารถตรวจสอบได้ นายจ้างสถานประกอบการให้กรอกเลขบัญชีนายจ้าง 10 หลัก และเลขลำดับที่สาขา 6 หลัก

 

ช่องการตรวจสอบสิทธิ์ สามารถเช็กสิทธิ์ผ่านเว็บไซต์ประกันสังคมได้ 


โดยการช่วยเหลือเยียวยาในครั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมได้รับการจัดสรรงบประมาณ ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 


เงื่อนไขการเยียวยา ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่มีสัญชาติไทย จะได้รับการเยียวยา เป็นเงิน 2,500 บาท โอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น นายจ้างจะได้รับการเยียวยา ตามจำนวนลูกจ้าง หัวละ 3,000 บาท สูงสุดลูกจ้างไม่เกิน 200 คน 


โดยนายจ้างบุคคลธรรมดา จะได้รับเงินโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชนเช่นกัน นายจ้างสถานะนิติบุคคล จะโอนเข้าบัญชีธนาคารตามชื่อนิติบุคคล

 

โฆษกสำนักงานประกันสังคม กล่าวในตอนท้ายว่า 


เมื่อสำนักงานประกันสังคมร่วมกับกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ท่านจะได้รับการโอนเงินเข้าบัญชีตามที่กล่าวข้างต้น โดยท่านไม่ต้องมายื่นเรื่องหรือติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่/จังหวัด/สาขา แต่อย่างใด 


และผู้ประกันตนมาตรา 33 และนายจ้างบุคคลธรรมดา เมื่อท่านตรวจสอบสิทธิเรียบร้อยแล้ว ขอให้ท่านตรวจสอบบัญชีธนาคารของตนเองด้วยว่าได้ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชนไว้แล้วหรือยัง หากยังขอให้เร่งดำเนินการด่วน และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ สายด่วน 1506 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

 

สอดคล้องกับคำแถลงของ นางสาวลัดดา แซ่ลี้ รองโฆษกสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เพิ่มสูงขึ้น สำนักงานประกันสังคมพร้อมปฏิบัติตามมาตรการของรัฐอย่างเข้มงวด จึงขอความร่วมมือนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน งดการมาติดต่องานหรือธุรกรรมกับสำนักงานประกันสังคม ทั้งนี้ ด้วยความห่วงใยในความปลอดภัยต่อสุขภาพอนามัยของผู้ประกันตน ผู้ใช้บริการ และเพื่ออำนวยความสะดวก ลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

 

ประกันสังคม จ่ายทุกบริษัท สูงสุด 6 แสน – ม. 33 ได้ 2,500 ทุกคน


วิธีเตรียมเอกสาร ประกันสังคม ฟรีแลนซ์ ม.39-40 รับเงิน 5,000 บาท


สามารถติดต่อได้ที่ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์หรือระบบออนไลน์แทน ดังนี้


การตรวจสอบสิทธิประโยชน์ ผู้ประกันตน ม. 33  ม. 39 ที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศของรัฐบาล เมื่อวันที่ 13 กรกฏาคม 2564 ผ่านช่องทางเว็บไซต์ประกันสังคม 

 

กรณีผู้ประกันตน ขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ว่างงาน และชราภาพ สามารถรับแบบขอรับสิทธิประโยชน์ได้ที่ช่องทาง download แบบฟอร์มขอรับประโยชน์ทดแทนใน www.sso.go.th ส่งแบบพร้อมเอกสารได้ที่ไปรษณีย์ลงทะเบียน (AR ตอบรับ) โทรสาร (Fax) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) แอปพลิเคชั่น (Line)


รายละเอียดของแต่ละหน่วยงานท่านสามารถเข้าดูได้ที่ www.sso.go.th หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับงานประกันสังคมสามารถติดต่อสอบถามที่หน้าเว็บไซต์ www.sso.go.th ผ่านช่องทาง e-mail : info@sso1506.com, กระดานสนทนา (webboard), live chat และเฟซบุ๊ก www.facebook.com/ssofanpage


กรณีนายจ้างขอทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้นายจ้างเข้าช่องทาง e-service ในเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th ในหัวข้อบริการอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อขอ user สถานประกอบการ และ password เพื่อการนำส่งข้อมูลเงินสมทบ แจ้งผู้ประกันตน เข้า-ออก จากงาน หรือแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ประกันตน พร้อมชำระเงินสมทบของผู้ประกันตน ผ่านระบบ e-payment ได้ตลอดเวลา


กรณีการตรวจสอบข้อมูลของผู้ประกันตน สามารถตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตนส่งเงินสมทบยอดเงินชราภาพ และการรับสิทธิประโยชน์รวมถึงเงื่อนไขการรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ทุกกรณี โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลและสิทธิประโยชน์ ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ ช่องทางระบบสมาชิกผู้ประกันตนในเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th หรือทางโทรศัพท์มือถือ สามารถดาวน์โหลดแอป SSO Connect หรือสอบถามผ่านการส่งข้อความในเฟซบุ๊ก www.facebook.com/ssofanpage ของสำนักงานประกันสังคม หรือโทรสายด่วน 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


สำนักงานประกันสังคมจึงขอความร่วมมือ นายจ้าง ผู้ประกันตน ใช้ช่องทางดังกล่าว เพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดการรวมตัวกัน ป้องกันการแพร่กระจายไวรัสโควิด-19


ด้านนางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยถึงกรณีที่ น.ส.เกณิกา ตาปสนันทน์ รองโฆษกพรรคไทยสร้างไทย โพสต์เฟซบุ๊กว่า ให้รีบควักเงินสมัครมาตรา 40 แต่ยังไม่มีความชัดเจน จะแน่ใจได้ยังไงว่าจะได้เงินเยียวยา เพราะตอนนี้แม้แต่ในเว็บไซต์ของประกันสังคมเอง ผู้ประกันตนเข้าไปเช็กสถานะก็ยังรวน เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา แล้วแบบนี้ผู้ที่สมัคร ม.40 ใหม่ ที่เร่งให้สมัครก่อนสิ้นเดือน จะแน่ใจได้อย่างไรว่าเสียเงินสมัครไปแล้วจะได้เงินเยียวยาแน่นอน


ในเรื่องนี้ นางเธียรรัตน์ ชี้แจงว่า กรณีเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคมนั้น แท้จริงแล้วเว็บไซต์ไม่ได้ล่ม เพียงแต่สำนักงานประกันสังคมได้ปิดปรับปรุงเว็บไซต์ 1 วัน เพื่อปรับปรุงระบบฐานข้อมูลให้สอดคล้องกับประกาศศูนย์บริหารสถานการณ์โรคโควิด-19 (ศบค.) ที่จากเดิมกำหนดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดใน 6 จังหวัดและเพิ่มเติมเป็น 10 จังหวัด

 

รวมทั้งขยายประเภทกิจการที่ให้ความช่วยเหลือจากเดิม 4 เป็น 9 ประเภทกิจการ เป็นเวลา 1 เดือน ซึ่งเป็นคนละส่วนกับข้อมูลผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 และ 40 ที่มีรายชื่อทั้งหมดอยู่ในระบบฐานข้อมูลอยู่แล้ว ไม่ได้มีปัญหาอะไร


ส่วนกรณีที่สำนักงานประกันสังคมให้ผู้ที่ยังไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมและต้องการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท ได้สมัครมาตรา 40 นั้น ในเรื่องการสมัครเป็นผู้ประกันตน ม.40 นั้นเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่สามารถมี 3 ทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบรายเดือนระยะยาว เพื่อรับการคุ้มครองที่ต่างกัน คือ ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท

 

เพื่อให้ได้มีหลักประกันทางสังคมจากรัฐบาล เป็นการออมในระยะยาวเป็นการสร้างความมั่นคงในชีวิต รวมทั้งรัฐจะมีฐานข้อมูลในการให้ความช่วยเหลือและอุดหนุนเยียวยาจากมาตรการต่าง ๆ ซึ่งสามารถอนุมัติงบประมาณ ในอนาคตได้อย่างรวดเร็ว ตรงตามวัตถุประสงค์ โดยไม่ต้องมีการสำรวจข้อมูลใหม่



21/Jul/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา