ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ แจกเงินเยียวยาผู้ประกันตน มาตรา 33-39-40 เพิ่ม 3 จังหวัด “ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-พระนครศรีอยุธยา” , ประชาชาติธุรกิจ 20 กค. 64

วันที่ 20 กรกฎาคม 2564 การประชุมคณะรัฐมนตรีที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานผ่านระบบ Video Conference ได้มีมติเห็นชอบมาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 จ่ายเงินในมาตรการเยียวยาผู้ประกันตน มาตรา 33 และ 39 และมาตรา 40


สืบเนื่องจากศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ประกาศยกระดับล็อกดาวน์ขั้นสูงสุดในพื้นที่สีแดงเข้มควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพิ่มเป็น 13 จังหวัด จากประกาศเดิม 10 จังหวัด ได้แก่ 


กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา, สงขลา เพิ่มอีก 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา คณะรัฐมนตรีจึงเห็นชอบในหลักการเยียวยา ตามที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) นำเสนอ


ทั้งนี้การเยียยว 3 จังหวัด (ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา) ที่เพิ่มเข้ามา จะได้รับเงินเยียวยาภายหลังจากคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้พิจารณาแล้ว จากนั้นต้องนำกลับเข้ามาให้คณะรัฐมนตรี รับทราบอีกรอบ


นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงานกล่าวว่า สำหรับ 3 จังหวัดที่ได้รับการเยียวยาเพิ่มเติม ผู้ประกันตน ม.33 แบ่งออกเป็นลูกจ้าง 272,000 คน นายจ้าง 19,000 กว่าราย ใช้งบเงินกู้ 1,500 ล้านบาท


ส่วนผู้ประกันตน ม.39 ในจังหวัดชลบุรี มี 9.1 หมื่นราย ฉะเชิงเทรา 2.3 หมื่นราย อยุธยา 3.4 หมื่นราย ใช้งบประมาณจากวงเงินกู้ รายละ 5,000 บาท


ผู้ประกันตน ม.40 ในจังหวัดชลบุรี 6.6 หมื่นราย ฉะเชิงเทรา 3.5 หมื่นราย อยุธยา 3.6 หมื่นราย ใช้งบประมาณจากวงเงินกู้ รายละ 5,000 บาท


ก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบมาตรการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในพื้นที่ควบคุม 10 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา 


สำนักงานประกันสังคมได้รับการจัดสรรงบประมาณ ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยงบประมาณ 42,000 ล้านบาท (แบ่งเป็นจ่ายเงินเยียวยา 30,000 ล้าน และอุดหนุนค่าน้ำ-ค่าไฟ 12,000 ล้านบาท )


แรงงาน ม.33 ได้ 2,500 นายจ้างได้สูงสุด 6 แสนบาท


มติ ครม.ดังกล่าว คือ ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่มีสัญชาติไทย จะได้รับการเยียวยา เป็นเงิน 2,500 บาท โอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น ส่วนนายจ้างจะได้รับการเยียวยา ตามจำนวนลูกจ้าง หัวละ 3,000 บาท สูงสุดลูกจ้างไม่เกิน 200 คน โดยนายจ้างบุคคลธรรมดา จะได้รับเงินโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชนเช่นกัน นายจ้างสถานะนิติบุคคล จะโอนเข้าบัญชีธนาคารตามชื่อนิติบุคคล

 

กรณีบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งรัฐบาล นายจ้างต้องขึ้นทะเบียน e-service เพื่อแจ้งว่าไม่สามารถจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างตามมาตรา 33 โดยระบุให้ชัดเจนว่าลูกจ้างมีกี่คน และหยุดงานตั้งแต่วันที่อะไรถึงวันที่อะไร ส่วนลูกจ้างมีหน้าที่กรอกแบบ สปส.2-01/7 และแนบสมุดปัญชีออมทรัพย์ ส่งให้นายจ้างรวบรวมเพื่อนำส่ง สำนักงานประกันสังคม ภายใน 3 วันหลังจากที่ยายจ้างลงทะเบียน e-service แล้ว เพื่อจะได้รับเงินโดยเร็วซึ่งเงินกองทุนประกันสังคมจะจ่าย 50% (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) กรณีว่างงานสูงสุด 90 วัน ทั้งคนไทยและต่างชาติที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33

 

ส่วนวงเงินเยียวยาเพิ่มเติม ตามมติ ครม. มาจากเงินกู้วงเงิน 30,000 ล้านบาท โดยใช้ฐานข้อมูลของประกันสังคม ในส่วนนี้ เจาะจงจ่ายช่วยเหลือเร่งด่วนแก่กลุ่มแรงงานไทยและผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุด 10 จังหวัด กรณีได้รับผลกระทบจากคำสั่งรัฐบาลใน 9 กิจการ โดยลูกจ้างมาตรา 33 ที่ได้รับเงินจากประกันสังคมเยียวยาเดิมได้รับ 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) รัฐบาลจะเพิ่ม่ให้สบทบลูกจ้างสัญชาติไทยอีก 2,500 บาทต่อคน (รวมแล้วได้สูงสุด 10,000 บาท)

 

9 กิจการที่ได้รับสิทธิเงินเยียวยา
กิจการก่อสร้าง
กิจการที่พักแรงบริการด้านอาหาร
กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ
กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ
สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
สาขาขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์
สาขากิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
สาขากิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชกาการ
สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร


ม.39-40 กลุ่มฟรีแลนซ์ อาชีพอิสระ ได้ 5,000 บาท


สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และ 40 ซึ่งเป็นกลุ่มฟรีแลนซ์และอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ครั้งล่าสุดนี้ รัฐบาลจะเยียวยา 5,000 บาท โดยผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 และ 40 ก่อนวันที่ 28 มิ.ย. 2564 ให้รีบสมัครภายในวันที่ 30 ก.ค. 2564 เพื่อสำนักงานประกันสังคมจะได้ส่งข้อมูลนำเข้า ครม.พิจารณาเห็นชอบต่อไป



21/Jul/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา