ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

19 กย. 64 : เช็กเลย! เงินเยียวยาผู้ประกันตน ม.33 – ม.39 – ม.40 รอบ 2 เข้าวันไหน , ประชาชาติธุรกิจ

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2564 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าข้อสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในการเร่งกำชับให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเร่งดำเนินการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนให้ทั่วถึงทุกกลุ่ม


ในส่วนของการดำเนินการจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ,39 และ40 ที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศล็อกดาวน์ 2 เดือน ในรอบ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ล่าสุด เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 64 ที่ผ่านมา โดยสำนักงานประกันสังคมได้กำหนดระยะเวลาในการทยอยโอนเงินเยียวยาเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชนของผู้ประกันตน ดังนี้


วันที่ 20 – 21 กันยายน 2564 นี้ โอนเงินเยียวยา ม. 40 ในพื้นที่ 16 จังหวัดสีแดงเข้มที่ขึ้นทะเบียนใหม่และจ่ายเงินสมทบเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ระหว่างวันที่ 4 ส.ค.- 24 ส.ค. 64 จำนวน 2.3 ล้านคน กลุ่มนี้ได้รับเงินเยียวยา 1 เดือน คนละ 5,000 บาท


วันที่ 21 กันยายน 2564 โอนเงินเยียวยา ม. 39 ที่ประกาศล็อกดาวน์ 2 เดือนในพื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้มคนละ 5,000 บาท จำนวน 1.17 ล้าน


วันที่ 22-23 กันยายน 2564 โอนเงินเยียวยา ม.40 รอบ 2 ในพื้นที่ 13 จังหวัด จำนวน 4 ล้านคน จะได้รับเยียวยารอบ 2 อีกคนละ 5,000 บาท


วันที่ 27 กันยายน 2564 โอนเงินเยียวยาผู้ประกันตน ม. 33 ในพื้นที่ 13 จังหวัด ที่ประกาศล็อกดาวน์ 2 เดือน จำนวน 3.5 ล้านคน จะได้รับเยียวยารอบ 2 อีกคนละ 2,500 บาท


วันที่ 28 กันยายน 2564 โอนเงินเยียวยา ม.40 ในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา จำนวน 3.45 แสนคน ที่ขึ้นทะเบียนใหม่และจ่ายเงินสมทบเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ระหว่างวันที่ 4 – 24 สิงหาคม 2564 จะได้รับเยียวยารอบ 2 อีกคนละ 5,000 บาท รวมเป็น 10,000 บาท


นายธนกร กล่าวว่า ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ประกันตน ม. 33 ม.39 และ ม.40 ไปแล้วเกือบ 10 ล้านคน แบ่งเป็น 1) ผู้ประกันตน ม. 33 จำนวนโอนแล้ว 3,292,889 ราย จำนวนเงิน 8,388.22 ล้านบาท


2) นายจ้าง จำนวนโอนแล้ว 150,472 ราย จำนวนเงิน 6,270.09 ล้านบาท


3) ผู้ประกันตน ม. 39 จำนวนโอน 1,342,519 ราย จำนวนเงิน 6,712.60 ล้านบาท


และ 4) ผู้ประกันตน ม. 40 จำนวนโอน 4,377,972 ราย จำนวนเงิน 21,889.86 ล้านบาท


รวมจำนวนผู้ประกันตนและนายจ้างที่ได้รับเงินโอนแล้ว จำนวน 9,163,852 ราย จำนวนเงินทั้งสิ้น 43,104.77 ล้านบาท ซึ่งทำการโอนสำเร็จประมาณ ร้อยละ 97 ของยอดตั้งโอนที่ผ่านมา


“ท่านนายกรัฐมนตรี ได้ย้ำเสมอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเร่งดำเนินการช่วยเหลือให้ทั่วถึงทุกกลุ่ม หากมีผู้ประกันตนที่ตกหล่น และอยู่ในพื้นที่ได้รับการเยียวยา แต่ได้ไม่รับเงินเยียวยา ยังสามารถยื่นแบบทบทวนสิทธิเยียวยาได้ที่ www.sso.go.th ได้ถึงวันที่ 31 ตุลาคม นี้”



26/Sep/2021

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา