ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

12 มกราคม 2565 : “วิรไท” มูลนิธิปิดทองหลังพระชี้วิกฤตโควิด-19 ผลักแรงงานเคลื่อนย้ายกลับชนบทหลายล้านคนครั้งแรกในรอบ 20 ปี แนะกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น-ใส่มือประชาชน, ประชาชาติธุรกิจ

วันที่ 12 มกราคม 2565 นายวิรไท สันติประภพ กรรมการมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กล่าวในงานเสวนาออนไลน์ “อยู่รอด และยั่งยืน หลังโควิด” ภายใต้หัวข้อ “ใครจะอยู่รอดในสังคม แล้วจะอยู่รอดอย่างไรที่ยั่งยืน” ร่วมกับ นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ ที่ปรึกษาสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ ว่า


วิกฤตโควิดในครั้งนี้ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานไทยหลายล้านคนจากในเมืองกลับสู่ชนบทเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี โดยเฉพาะแรงงานจากภาคบริการ


เหตุการณ์เช่นนี้ตรงกันข้ามกับช่วงที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี พ.ศ. 2540 ที่เกิดการย้ายถิ่นของแรงงานจากชนบทเข้าเมืองจำนวนมาก ทำให้ภาคชนบทอ่อนแอ

เนื่องจากมีเพียงแรงงานผู้สูงอายุและเด็ก ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพต่ำ เกิดความเหลื่อมล้ำทางรายได้สูงระหว่างเมืองหลักและเมืองรอง


นายวิรไทกล่าวว่า ดังนั้น ไทยควรจะหาทางสนับสนุนให้แรงงานที่เคลื่อนย้ายกลับสู่ชนบทจากผลกระทบของวิกฤตโควิดในครั้งนี้ ให้สามารถคงอยู่ในชนบทได้อย่างเป็นสุขและยั่งยืน เพราะแรงงานที่กลับไปเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ มีศักยภาพ และรู้จักใช้เทคโนโลยี


“ประเทศไทยสามารถสร้างความเข้มแข็งให้ชนบทได้ ด้วยการให้ความสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น โดยการสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาครัฐในส่วนท้องถิ่นในการทำงานพัฒนาโดยคำนึงถึงบริบทในเชิงพื้นที่และควรเป็นการพัฒนาทั้งภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมควบคู่กันไปอย่างเกื้อหนุนกัน”


นายวิรไทกล่าวว่า รัฐ ท้องถิ่น ภาคประชาสังคม เช่น มูลนิธิปิดทองหลังพระฯควรร่วมกันทำงานเพื่อสนับสนุนให้แรงงานที่กลับไปยังชนบทเป็น change agent ที่จะช่วยสร้างโอกาสและความเข้มแข็งให้ประเทศได้ในอนาคต


นอกจากนี้ยังควรสนับสนุนให้มีการศึกษาที่เหมาะสมในภาวะวิกฤตและในอนาคต เพราะประชาชนต้องการ reskill และ upskill ให้สอดคล้องกับบริบทของโลกใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป


“รัฐควรช่วยอำนวยให้ประชาชนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลาและตลอดชีวิต” นายวิรไทกล่าว


นายวิรไทย้ำว่า ประชาชนไทยควรเปลี่ยน mindset จากความคิดพึ่งพาภาครัฐแต่เพียงอย่างเดียว มาเป็นการพึ่งตนเองได้ในระยะยาว เช่น การเยียวยาจากภาครัฐในวิกฤตโควิดเป็นสิ่งสำคัญในช่วงแรก ๆ ทว่าอาจจะไม่สามารถทำได้อย่างเหมาะสมเมื่อวิกฤตดังกล่าวผ่านมาถึง 2 ปีแล้ว


“รัฐสามารถสนับสนุนให้ประชาชนเริ่มพึ่งตนเองได้ด้วยการเน้นการกระจายอำนาจและให้อำนาจในการตัดสินใจไปอยู่ในมือของท้องถิ่นประชาชนเองมากขึ้น”


นายวิรไทกล่าวว่า จากการที่ตนทำงานร่วมกับมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ได้เห็นอย่างชัดเจนว่าพื้นที่ใดที่ประชาชนมีความเข้มแข็งก็จะเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการพัฒนา และหากได้รับการสนับสนุนที่ตรงจุด ตรงตามความต้องการของพื้นที่ โดยเฉพาะจากภาครัฐในระดับท้องถิ่น ก็จะทำให้การพัฒนานั้นสำเร็จลุล่วง


นายวิรไทกล่าวทิ้งท้ายว่า ประเทศไทยสามารถผ่านวิกฤตต่าง ๆ มาได้ในอดีตจากการน้อมนำแนวพระราชดำริเรื่องความพอเพียงที่มีหลักสำคัญ 3 ประการ ได้แก่


ประการแรก ความพอประมาณ ความสมเหตุสมผล การมีภูมิคุ้มกัน


ประการที่สอง การตั้งอยู่บนฐานของคุณธรรม มีความอดทน มีวิริยะอุตสาหะ ซื่อสัตย์


และประการที่สาม การมีความรู้


“วิกฤตโควิดในครั้งนี้ทำให้ประชาชนไทยเห็นอย่างชัดเจนมากขึ้นถึงความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อให้อยู่รอดท่ามกลางโลกใหม่ที่มีความผันผวนสูง”



25/Jan/2022

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา