ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

14 เมษายน 2565 : ผู้ประกันตน ม.40 ยื่นรับเงินสมทบเดือน ก.พ. ที่จ่ายเกิน คืนได้ , ประชาชาติธุรกิจ

ประกันสังคมแจงผู้ประกันตน ม. 40 ที่จ่ายเงินสมทบเกินงวดเดือน ก.พ.–ก.ค.65 ไม่ต้องกังวล ขอรับเงินคืนได้


วันที่ 14 เมษายน 2565 นางสาวลัดดา แซ่ลี้ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข่าวผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่ได้ไปชำระเงินสมทบที่ร้านสะดวกซื้อ โดยได้มีการชำระเงินเต็มจำนวนในอัตราเดิม หลังจากที่ ครม.ได้เห็นชอบลดอัตราเงินสมทบไปแล้วนั้น และผู้ประกันตนมีความกังวลว่าจะไม่ได้รับเงินสมทบคืน


“ในเรื่องนี้ผู้ประกันตนไม่ต้องกังวล เมื่อประกาศกฎกระทรวงลดอัตราเงินสมทบออกแล้ว ผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถดำเนินการยื่นคำร้องขอรับเงินคืนในส่วนที่ชำระไว้เกินจำนวนได้


ตามที่มติคณะรัฐมนตรีที่ได้เห็นชอบหลักการลดอัตราเงินสมทบประกันสังคมของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประกันตน ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ให้เหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบ ต่ออีกเป็นระยะเวลา 6 เดือน ในงวดเดือน กุมภาพันธ์– กรกฎาคม 2565


โดยผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในอัตราใหม่ 3 ทางเลือก ดังนี้


ทางเลือกที่ 1 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย จากเดิมจ่ายในอัตรา 70 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่ เป็น 42 บาท/เดือน


ทางเลือกที่ 2 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และกรณีชราภาพ จากเดิมจ่ายในอัตรา 100 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่เป็น 60 บาท/เดือน


ทางเลือกที่ 3 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร จากเดิมจ่าย ในอัตรา 300 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่เป็น 180 บาท/เดือน


รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวต่อไปว่า สำหรับผู้ประกันตนที่ได้ชำระเงินสมทบเต็มจำนวนในอัตราเดิม เมื่อประกาศกฎกระทรวงลดอัตราเงินสมทบออก ผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถยื่นคำร้องขอรับเงินคืนในส่วนที่ชำระไว้เกินจำนวนโดยโหลดแบบฟอร์ม (สปส.1-40/7) ในเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th


พร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ยื่น ณ สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา หรือยื่นทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ประกันตนไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ประกันตน


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการไม่เว้นวันหยุดราชการ ตลอด 24 ชั่วโมง



25/Apr/2022

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา