ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

11 พฤษภาคม 2565 : 3 กลุ่มอาชีพ 16 สาขา รับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน, ประชาชาติธุรกิจ

ครม. อนุมัติกำหนดค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน 3 กลุ่มอาชีพ 16 สาขา มีผลใช้บังคับ 90 วัน หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา เห็นชอบกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 3 กลุ่มอาชีพ 16 สาขา ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ซึ่งมาตรฐานฝีมือแรงงาน เป็นข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับฝีมือ ความรู้ ความสามารถและทัศนคติในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพสาขาต่าง ๆ ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน


โดยแบ่งเกณฑ์วัดระดับฝีมือแรงงาน เป็น 3 ระดับ และมีเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงานที่แตกต่างกันในแต่ละสาขา ซึ่งผู้ที่ผ่านการทดสอบจะได้ใบรับรองผ่านการทดสอบของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน


การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในครั้งนี้ มีการกำหนดเพิ่มเติมขึ้นใหม่ 1 กลุ่มสาขาอาชีพ รวม 4 สาขา โดยมีอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ดังนี้


กลุ่มสาขาอาชีพช่างก่อสร้าง (กลุ่มสาขาอาชีพเดิม) รวม 5 สาขา 


1. สาขาช่างติดตั้งยิปซั่ม มาตรฐานฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 450 บาท/วัน ระดับ 2 ค่าจ้าง 595 บาท/วัน


2. สาขาช่างเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ มาตรฐานฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 645 บาท/วัน


3. สาขาช่างปูกระเบื้องผนังและพื้น มาตรฐานฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 450 บาท/วัน ระดับ 2 ค่าจ้าง 550 บาท/วัน ระดับ 3 ค่าจ้าง 650 บาท/วัน


4. สาขาช่างสีอาคาร มาตรฐานฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 465 บาท/วัน ระดับ 2 ค่าจ้าง 600 บาท/วัน


5. สาขาช่างก่อและติดตั้งคอนกรีตมวลเบา มาตรฐานฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 475 บาท/วัน ระดับ 2 ค่าจ้าง 575 บาท/วัน


กลุ่มสาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ (กลุ่มสาขาอาชีพที่กำหนดขึ้นใหม่) รวม 4 สาขา 


1. สาขาช่างเครื่องประดับ (รูปพรรณ) มาตรฐานฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 450 บาท/วัน ระดับ 2 ค่าจ้าง 550 บาท/วัน ระดับ 3 ค่าจ้าง 650 บาท/วัน


2. สาขาช่างประกอบติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ มาตรฐานฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 430 บาท/วัน ระดับ 2 ค่าจ้าง 550 บาท/วัน


3. สาขาช่างฝีมือเครื่องประดับแนวอนุรักษ์ (เทคนิคโบราณ) มาตรฐานฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 525 บาท/วัน


4. สาขาช่างเครื่องถม มาตรฐานฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 625 บาท/วัน


กลุ่มสาขาอาชีพภาคบริการ (กลุ่มสาขาอาชีพเดิม) รวม 7 สาขา คือ


1. สาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไทยสัปปายะ (หัตถบำบัด) มาตรฐานฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 460 บาท/วัน ระดับ 2 ค่าจ้าง 475 บาท/วัน


2. สาขาผู้ประกอบขนมอบ มาตรฐานฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 400 บาท/วัน ระดับ 2 ค่าจ้าง 505 บาท/วัน


3. สาขาพนักงานต้อนรับส่วนหน้า มาตรฐานฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 440 บาท/วัน ระดับ 2 ค่าจ้าง 565 บาท/วัน


4. สาขาพนักงานแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่มในธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร มาตรฐานฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 440 บาท/วัน


5. สาขาช่างแต่งผมสตรี มาตรฐานฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 440 บาท/วัน ระดับ 2 ค่าจ้าง 510 บาท/วัน ระดับ 3 ค่าจ้าง 650 บาท/วัน


6. สาขาช่างแต่งผมบุรุษ มาตรฐานฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 430 บาท/วัน ระดับ 2 ค่าจ้าง 500 บาท/วัน ระดับ 3 ค่าจ้าง 630 บาท/วัน


7. สาขาการดูแลผู้สูงอายุ มาตรฐานฝีมือระดับ 1 ค่าจ้าง 500 บาท/วัน


ทั้งนี้ อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานจะมีผลบังคับใช้ 90 วัน หลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 



12/May/2022

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา