ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม จัดตั้งแผนกคดีทุจริต-คดียาเสพติด-คดีค้ามนุษย์ ในศาลอาญา

เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2558 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม 3 เรื่อง ได้แก่ การจัดตั้งแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในศาลอาญา การจัดตั้งแผนกคดียาเสพติดในศาลอาญา และการจัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา

 

เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในศาลอาญา (อ่านประกาศฉบับนี้ click ตรงนี้)

 

อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา 4 มาตรา 7 และมาตรา 10 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมออกประกาศให้จัดตั้งแผนกในศาลอาญา ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในศาลอาญา”

 

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

ข้อ 3 ในประกาศนี้

“คดีทุจริตและประพฤติมิ ชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ” หมายความว่า คดีความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ ความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม และให้หมายความรวมถึงคดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะเหตุร่ํา รวยผิดปกติหรือมีทรพยั ์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ

 

ข้อ 4 ให้จัดตั้งแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในศาลอาญาโดยให้มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(1) พิจารณาพิพากษาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐที่อยู่ในเขตอํานาจและที่โอนมาตามกฎหมาย
(2) ดําเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ เกี่ยวกับคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของศาลอาญา

 

ข้อ 5 ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในศาล อาญาเป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนกหนึ่งคน และให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาจัดให้ผู้พิพากษาที่มีความรู้เชี่ยวชาญด้าน คดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐจํานวนตามที่เห็นสมควรเป็นผู้ พิพากษาประจําแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ

ในกรณีที่มีความจําเป็น เพื่อประโยชน์แก่ราชการ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาอาจมอบหมายให้ผู้พิพากษาในแผนกคดีทุจริตและประพฤติ มิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐพิจารณาพิพากษาคดีอื่นใดตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้

 

ข้อ 6 แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในศาลอาญาจะเริ่มทําการเมื่อ ใด ให้เป็นไปตามประกาศของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ

 

ข้อ 7 ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญารักษาการตามประกาศนี้

 

เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดียาเสพติดในศาลอาญา (อ่านประกาศฉบับนี้ click ตรงนี้)

 

อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา 4 มาตรา 7 และมาตรา 10 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมออกประกาศให้จัดตั้งแผนกในศาลอาญา ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดียาเสพติดในศาลอาญา”

 

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

ข้อ 3 ในประกาศนี้

“คดียาเสพติด” หมายความว่า คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดียาเสพติด

 

ข้อ 4 ให้จัดตั้งแผนกคดียาเสพติดในศาลอาญาโดยให้มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(1) พิจารณาพิพากษาคดียาเสพติดที่อยู่ในเขตอํานาจและที่โอนมาตามกฎหมาย
(2) ดําเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ เกี่ยวกับคดียาเสพติดที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของศาลอาญา

 

ข้อ 5 ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดียาเสพติดในศาลอาญาเป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนก หนึ่งคน และให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาจัดให้ผู้พิพากษาที่มีความรู้เชี่ยวชาญด้าน คดียาเสพติดจํานวนตามที่เห็นสมควรเป็นผู้พิพากษาประจําแผนกคดียาเสพติด

ในกรณีที่มีความจําเป็น เพื่อประโยชน์แก่ราชการ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาอาจมอบหมายให้ผู้พิพากษาในแผนกคดียาเสพติดพิจารณา พิพากษาคดีอื่นใดตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้

 

ข้อ 6 แผนกคดียาเสพติดในศาลอาญาจะเริ่มทําการเมื่อใด ให้เป็นไปตามประกาศของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ

 

ข้อ 7 ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญารักษาการตามประกาศนี้

 

เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา  (อ่านประกาศฉบับนี้ click ตรงนี้)

 

อาศัยอํานาจตามความใน มาตรา 4 มาตรา 7 และมาตรา 10 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมออกประกาศให้จัดตั้งแผนกในศาลอาญา ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม เรื่อง การจัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา”

 

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

ข้อ 3 ในประกาศนี้

“คดีค้ามนุษย์” หมายความว่า คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้า มนุษย์ พ.ศ. 2551 ไม่ว่าจะมีข้อหาความผิดตามกฎหมายอื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึงกรณีที่มีการขอให้ศาลดําเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551

 

ข้อ 4 ให้จัดตั้งแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญาโดยให้มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(1) พิจารณาพิพากษาคดีค้ามนุษย์ที่อยู่ในเขตอํานาจและที่โอนมาตามกฎหมาย
(2) ดําเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551

 

ข้อ 5 ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญาเป็นผู้รับผิดชอบงานในแผนก หนึ่งคน และให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาจัดให้ผู้พิพากษาที่มีความรู้เชี่ยวชาญด้าน คดีค้ามนุษย์จํานวนตามที่เห็นสมควรเป็นผู้พิพากษาประจําแผนกคดีค้ามนุษย์

ในกรณีที่มีความจําเป็น เพื่อประโยชน์แก่ราชการ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาอาจมอบหมายให้ผู้พิพากษาในแผนกคดีค้ามนุษย์พิจารณา พิพากษาคดีอื่นใดตามที่เห็นสมควรด้วยก็ได้

 

ข้อ 6 แผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญาจะเริ่มทําการเมื่อใด ให้เป็นไปตามประกาศของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ

 

ข้อ 7 ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญารักษาการตามประกาศนี้

 

ประกาศ ณ วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ดิเรก อิงคนินันท์
ประธานศาลฎีกา
ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม



13/Jun/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา