ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

31 ตุลาคม 2558 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ

โดยที่มาตรา ๕ (๔) แห่งพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติให้มีคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ประกอบด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวนเก้าคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้แทนองค์กรสตรีและองค์กรที่ทํางานด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการทํางานที่เกี่ยวกับความเท่าเทียมระหว่างเพศไม่น้อยกว่าห้าปีจํานวนหกคน และผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนิติศาสตร์ ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านสังคมศาสตร์ หรือด้านจิตวิทยาจํานวนสามคน

 

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๕ (๔) แห่งพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๘ อนุมัติให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ จํานวน ๙ คน ดังนี้


๑. ผู้แทนองค์กรสตรีและองค์กรที่ทํางานด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการทํางานที่เกี่ยวกับความเท่าเทียมระหว่างเพศ ไม่น้อยกว่า ๕ ปี จํานวน ๖ คน ประกอบด้วย


๑.๑ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์
๑.๒ ศาสตราจารย์เกียรติคุณเพ็ญศรี พิชัยสนิธ
๑.๓ นางสาวปาตีเมาะ เปาะอิแตดาโอะ
๑.๔ นางสาวอรุณี ศรีโต
๑.๕ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุชาดา ทวีสิทธิ์
๑.๖ นายพงศ์ธร จันทร์เลื่อน


๒. ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนิติศาสตร์ ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านสังคมศาสตร์ หรือด้านจิตวิทยา จํานวน ๓ คน ประกอบด้วย
๒.๑ นายวัชรินทร์ ปัจเจกวิญญูสกุล
๒.๒ นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์
๒.๓ นางสาวสุชีลา ตันชัยนันท์

 

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย
รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน
นายกรัฐมนตรี



02/Nov/2015

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา