ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

13 มกราคม 2559 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่กฎกระทรวงการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558

เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 บัญญัติว่า บุคคลใดจะประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต้องจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต่อนายทะเบียน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

 

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง และมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1 บุคคลใดจะประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ตามแบบ ทน. 1 ท้ายกฎกระทรวงนี้ ต่อนายทะเบียน พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้

 

(1) กรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา

 

(ก) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว

 

(ข) สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือหลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

 

(ค) สำเนาใบอนุญาตประกอบธุรกิจหรือสำเนาหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ในกรณีที่เป็นคนต่างด้าว

 

(ง) แผนที่สังเขปแสดงบริเวณที่ตั้งของสถานประกอบธุรกิจทวงถามหนี้

 

(จ) หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของสถานประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ หรือหนังสือแสดงความยินยอมให้ใช้เป็นสถานประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ในกรณีที่สถานที่นั้นเป็นของผู้อื่น

 

(ฉ) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ขนาด 4 x 6 เซนติเมตร ของผู้ขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือน จำนวนหนึ่งรูป

 

(2) กรณีที่เป็นนิติบุคคล

 

(ก) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งแสดงรายการเกี่ยวกับชื่อวัตถุประสงค์ ที่ตั้งสำนักงาน และผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล โดยทำขึ้นไว้ไม่เกินสามเดือน

 

(ข) สำเนาใบอนุญาตประกอบธุรกิจหรือสำเนาหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ในกรณีที่เป็นนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย

 

(ค) หนังสือแต่งตั้งผู้แทนนิติบุคคลซึ่งต้องเป็นกรรมการหรือบุคคลซึ่งมีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล

 

(ง) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้แทนนิติบุคคล

(จ) สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองของผู้แทนนิติบุคคล

 

(ฉ) แผนที่สังเขปแสดงบริเวณที่ตั้งของสถานประกอบธุรกิจทวงถามหนี้

 

(ช) หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของสถานประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ หรือหนังสือแสดงความยินยอมให้ใช้เป็นสถานประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ในกรณีที่สถานที่นั้นเป็นของผู้อื่น

 

(ซ) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ขนาด 4 x 6 เซนติเมตร ของผู้แทนนิติบุคคลที่ขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือน จำนวนหนึ่งรูป

 

ข้อ 2 ทนายความหรือสำนักงานทนายความใดจะประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ตามแบบที่คณะกรรมการสภาทนายความกำหนด พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้

 

(ก) สำเนาบัตรประจำตัวสมาชิกสภาทนายความ หรือสำเนาใบอนุญาตให้เป็นทนายความ

 

(ข) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนสำนักงานทนายความที่จดทะเบียนกับสภาทนายความ หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งแสดงรายการเกี่ยวกับชื่อ วัตถุประสงค์ที่ตั้งสำนักงาน และผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล โดยทำขึ้นไว้ไม่เกินสามเดือน ในกรณีที่เป็นสำนักงานทนายความ

 

(ค) แผนที่สังเขปแสดงบริเวณที่ตั้งของสถานประกอบธุรกิจทวงถามหนี้

 

(ง) หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของสถานประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ หรือหนังสือแสดงความยินยอมให้ใช้เป็นสถานประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ในกรณีที่สถานที่นั้นเป็นของผู้อื่น

 

(จ) รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก สวมครุยเนติบัณฑิตยสภาขนาด 4 x 6 เซนติเมตร ของผู้ขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือนจำนวนหนึ่งรูป

 

(ฉ) เอกสารหรือหลักฐานอื่นตามที่คณะกรรมการสภาทนายความกำหนด

 

ข้อ 3 การยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ ให้ยื่นคำขอ ดังต่อไปนี้

 

(1) กรณีที่ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานทะเบียนที่สถานประกอบธุรกิจหรือสำนักงานแห่งใหญ่ของผู้ยื่นคำขอตั้งอยู่ และให้ยื่นคำขอได้เพียงแห่งเดียวสำหรับผู้ประกอบธุรกิจแต่ละราย โดยในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นคำขอที่สำนักงานทะเบียนกองบัญชาการตำรวจนครบาล ในจังหวัดอื่นให้ยื่นคำขอที่สำนักงานทะเบียน ที่ทำการปกครองจังหวัด

 

(2) กรณีที่ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นทนายความหรือสำนักงานทนายความ ให้ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการสภาทนายความซึ่งทำหน้าที่นายทะเบียน ณ สภาทนายความ

ข้อ 4 เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้พร้อมทั้งเอกสารและหลักฐานตามข้อ 1 แล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของคำขอ

 

หากคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้นายทะเบียนแจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันยื่นคำขอ พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาให้ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขหากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนไม่ดำเนินการแก้ไข ให้นายทะเบียนคืนคำขอแก่ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียน

 

ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าเอกสารและหลักฐานในการขอจดทะเบียนถูกต้องและครบถ้วนให้รับจดทะเบียนและออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ตามแบบ ทน. 2ท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้แก่ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน

 

ข้อ 5 ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อที่ใช้ในการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ ที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ หรือผู้แทนนิติบุคคล ให้ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนตามแบบ ทน. 1/1 ท้ายกฎกระทรวงนี้ พร้อมทั้งเอกสารและหลักฐานประกอบ

 

การเปลี่ยนแปลงต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

 

เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนพร้อมทั้งเอกสารและหลักฐานตามวรรคหนึ่งแล้ว หากเห็นว่ารายการที่แสดงในคำขอเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนพร้อมทั้งเอกสารและหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน ให้ออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ฉบับใหม่ตามแบบ ทน. 2 ท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ไว้เป็นหลักฐาน

 

ข้อ 6 ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนของทนายความหรือสำนักงานทนายความเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ ให้ทนายความหรือสำนักงานทนายความที่ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนตามแบบที่คณะกรรมการสภาทนายความกำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

 

ข้อ 7 ในกรณีที่หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้สูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ตามแบบ ทน. 1/2 ท้ายกฎกระทรวงนี้ ต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายหรือถูกทำลายดังกล่าว โดยให้นายทะเบียนออกใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ไว้เป็นหลักฐาน

 

ใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ตามวรรคหนึ่งให้ใช้แบบ ทน. 2 ท้ายกฎกระทรวงนี้ โดยมีคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ที่ด้านบน

 

ข้อ 8 ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ประสงค์จะเลิกประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ให้แจ้งความประสงค์เป็นหนังสือให้นายทะเบียนทราบภายในเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันที่จะเลิกประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ และให้นายทะเบียนจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้

 

ให้ไว้ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

 

ดูรายละเอียดกฎกระทรวง



15/Jan/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา