ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

กฎกระทรวงกำหนดชื่อยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๕๙ บังคับใช้ ๘ เมษายน ๒๕๕๙

อาศัยอำนาจตามความในบทนิยามคำว่า “ยาเสพติด” ในมาตรา ๓ และมาตรา ๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิก


(๑) กฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔


(๒) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๔๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔


ข้อ ๒ ยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมีดังต่อไปนี้


(๑) กัญชา (Cannabis)
(๒) คีตามีน (Ketamine)
(๓) โคคาอีน (Cocaine)
(๔) ซาฟรอล (Safrole)
(๕) ซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine)
(๖) เดกซ์โตรไลเซอร์ไยด์ ((+)-Lysergide) หรือแอลเอสดี (LSD) หรือแอลเอสดี-๒๕ (LSD 25)
(๗) เดกซ์แอมเฟตามีน (Dexamphetamine)
(๘) ไดเมทอกซีโบรโมแอมเฟตามีน (Dimethoxybromoamphetamine, DOB)
(๙) ไดเมทอกซีแอมเฟตามีน (Dimethoxyamphetamine, DMA)
(๑๐) ๒,๕-ไดเมทอกซี-๔-เอทิลแอมเฟตามีน (2,5-dimethoxy-4-ethylamphetamine, DOET)
(๑๑) ไดเมทิลแอมเฟตามีน (Dimethylamphetamine)
(๑๒) ไตรเมทอกซีแอมเฟตามีน (Trimethoxyamphetamine, TMA)
(๑๓) ไนตราซีแพม (Nitrazepam)
(๑๔) ไนเมตาซีแพม (Nimetazepam)
(๑๕) ฝิ่น
(๑๖) พาราเมทอกซีแอมเฟตามีน (Paramethoxyamphetamine, PMA)
(๑๗) พืชฝิ่น
(๑๘) ฟีนาซีแพม (Phenazepam)
(๑๙) เฟนเตอมีน (Phentermine)
(๒๐) เฟนนิลโพรพาโนลามีน (Phenylpropanolamine)
(๒๑) มอร์ฟีน (Morphine)
(๒๒) มิดาโซแลม (Midazolam)
(๒๓) เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine)
(๒๔) เมทิลีนไดออกซิไพโรวาเลโรน (Methylenedioxypyrovalerone, MDPV)
(๒๕) เมทิลลีนไดออกซีแอมเฟตามีน (Methylenedioxyamphetamine, MDA)
(๒๖) ๓,๔-เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน (3,4-methylenedioxymeth amphetamine,MDMA)
(๒๗) เมทิโลน (Methylone)
(๒๘) ๕-เมทอกซี-๓,๔ เมทิลลีนไดออกซีแอมเฟตามีน (5-methoxy-3,4-methylenedioxyamphetamine,MMDA)
(๒๙) เมฟีโดรน (Mephedrone)
(๓๐) อาเซติค แอนไฮไดรด์ (Acetic Anhydride)
(๓๑) อาเซติล คลอไรด์ (Acetyl Chloride)
(๓๒) อีเฟดรีน (Ephedrine)
(๓๓) เอทิลิดีน ไดอาเซเตต (Ethylidine Diacetate)
(๓๔) แอมเฟตามีน (Amphetamine)
(๓๕) ไอโซซาฟรอล (Isosafrole)
(๓๖) เฮโรอีน (Heroin)


ข้อ ๓ ยาเสพติดตามข้อ ๒ ให้รวมถึงวัตถุที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น แต่มีสูตรโครงสร้างทางเคมีอย่างเดียวกับยาเสพติดดังกล่าว


ข้อ ๔ ยาเสพติดตามข้อ ๒ ยกเว้น (๑) (๔) (๑๗) (๓๐) (๓๑) (๓๓) และ (๓๕) ให้รวมถึง


(๑) ไอโซเมอร์ใด ๆ ของยาเสพติดดังกล่าว ยกเว้นไอโซเมอร์อื่นของยาเสพติดที่ได้ระบุตัวไอโซเมอร์นั้น ๆ เป็นยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทไว้แล้วโดยเฉพาะ


(๒) เกลือ เอสเทอร์ และอีเทอร์ใด ๆ ของยาเสพติดดังกล่าว


ให้ไว้ ณ วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙
พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม



หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันมียาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ชนิดที่มีความต้องการใช้หรือมีการแพร่ระบาดสูงในกลุ่มผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดหรือกลุ่มผู้ลักลอบผลิตยาเสพติด และการกำหนดชื่อยาเสพติดตามกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๔๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ ยังไม่ครอบคลุมถึงยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าว ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจดำเนินการตรวจสอบและยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้ สมควรกำหนดชื่อยาเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้ครอบคลุมถึงยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่มีความต้องการใช้ หรือมีการแพร่ระบาดสูงในกลุ่มผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติด หรือกลุ่มผู้ลักลอบผลิตยาเสพติดทุกชนิด จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

 

ดูรายละเอียด



28/Apr/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา