ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

หากลูกจ้างติดหนี้บัตรเครดิตแต่ได้รับเงินเดือนไม่เกินสองหมื่นบาท เจ้าพนักงานบังคับคดีจะอายัดเงินเดือนของลูกจ้างไม่ได้

ในปัจจุบันมีลูกจ้างในสถานประกอบการต่างๆเป็นหนี้บัตรเครดิตจำนวนมาก และต่อมาถูกบริษัทเจ้าของบัตรเครดิตฟ้องและดำเนินคดีทางแพ่ง จนศาลมีคำพิพากษาให้ลูกจ้างชดใช้หนี้ค่าบัตรเครดิตดังกล่าว

 

อย่างไรก็ตามหากลูกจ้างคนนั้นได้รับเงินเดือนไม่เกิน 2 หมื่นบาท เจ้าพนักงานบังคับคดีจะอายัดเงินเดือนของลูกจ้างไม่ได้ นอกจากนี้ยังไม่สามารถไปยึดทรัพย์ที่บ้านของลูกจ้างคนนั้นได้อีกด้วย

 

อ้างอิงจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) ซึ่งบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2560 ได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่า

 

(1) ในกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลกำหนดให้ชำระเงิน เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ (ลูกจ้าง) ที่จะเรียกให้บุคคลภายนอก (บริษัท) ชำระเงิน ได้ตามมาตรา 296 (2)

 

(2) อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นอยู่ในมาตรา 302 ซึ่งบัญญัติว่า ในส่วนที่ 2 ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี คือ (3) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน  ที่นายจ้างได้จ่ายให้แก่บุคคลเหล่านั้น  เป็นจำนวนรวมกันไม่เกิน เดือนละสองหมื่นบาท หรือตามจำนวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร

 

ดังนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีจะไม่สามารถอายัดเงินเดือนของลูกจ้างได้

 

(3) ขณะเดียวกันทรัพย์สินอย่างอื่นของลูกจ้าง เช่น เครื่องใช้ในครัวเรือนหรือเครื่องใช้สอยส่วนตัว ประมาณรวมกันไม่เกินสองหมื่นบาท หรือ สัตว์ สิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ในการประกอบอาชีพเท่าที่จำเป็น ราคารวมกันไม่เกินหนึ่งแสนบาท

 

หรือ สัตว์ สิ่งของ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แทนอวัยวะของลูกหนี้ ฯ ทรัพย์สินต่าง ๆ เหล่านี้ เจ้าหนี้ก็ไม่สามารถนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดเพื่อนำมาขายทอดตลาดชดใช้หนี้ได้เช่นกัน (มาตรา 301)

 

(4) อย่างไรก็ตามหนี้ไม่ได้สูญหายไป สิ่งที่ควรทำ คือ ลูกจ้างควรติดต่อกับบริษัทเจ้าของบัตรเครดิตเพื่อขอประนีประนอมปรับโครงสร้างหนี้และนำเงินเดือนบางส่วนมาผ่อนชำระหนี้จะดีกว่า

 

ปล. การอายัดเงินตามข้อกฎหมาย มีดังนี้

 

1. หากเป็นพนักงานบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจที่มีเงินเดือนเกิน 20,000 บาท จะถูกอายัดได้ไม่เกิน 30 % ของเงินเดือน แต่ถ้าหลังจากหัก 30% แล้วเหลือเงินไม่ถึง 20,000 บาท เจ้าหนี้ไม่สามารถหักเต็ม 30% ได้ ต้องเหลือเงินให้ไว้ใช้จ่าย 20,000 บาท

 

2. ลูกหนี้ที่เป็นข้าราชการ/ลูกจ้างประจำของข้าราชการ จะได้รับงดเว้นไม่ถูกอายัดเงินเดือน

 

3. เงินโบนัสสามารถอายัดได้ไม่เกิน 50 %

 

4. เงินตอบแทนการออกจากงาน จะถูกอายัดได้เต็ม 100 %

 

4. เงินค่าตอบแทน ค่าสวัสดิการต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าตำแหน่ง ให้ทำการร้องขอต่อศาลว่าจะอายัดจำนวนเท่าใด

 

5. บัญชีเงินฝาก สามารถอายัดได้ทั้งหมด

 

6. เงินค่าวิทยฐานะ (ค่าตำแหน่งทางวิชาการ) ถ้าเป็นข้าราชการจะไม่ถูกอายัด แต่ถ้าเป็นพนักงาน-ลูกจ้างที่สังกัดเอกชนจะถูกอายัด เพราะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือน

 

7. หุ้น สามารถยึดใบหุ้นเพื่อขายทอดตลาดได้ หรือถ้ามีเงินปันผล ก็จะทำเรื่องอายัดเงินปันผลได้

 

8. เงินสหกรณ์ ทั้งข้าราชการหรือพนักงานบริษัท สามารถอายัดเงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน เงินค่าหุ้นสหกรณ์ได้

 

9. ในกรณีที่ลูกหนี้เปิดบริษัท โดยร่วมทุนกับผู้อื่นในการเปิดบริษัท หากผู้ร่วมลงทุนมีปัญหาถูกอายัดทรัพย์ กรมบังคับคดีจะอายัดเฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์สินของผู้ถูกอายัดเท่านั้น ไม่ได้อายัดทั้งหมด

 

#adminเวบไซด์

24-08-61



24/Aug/2018

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา