ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

ลงเวลาแทนผิดหรือไม่ ?

หลายบริษัทมักจะมีกฎระเบียบในการทำงาน ที่เกี่ยวกับการทำงานในเรื่องของการลงเวลามาทำงานเอาไว้ว่า ห้ามพนักงานลงเวลาทำงานแทนกัน ถ้าหากฝ่าฝืนจะถือว่าทุจริต และบริษัทจะพิจารณาเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย เพราะถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง โดยพนักงานจะต้องลงเวลามาทำงานทุกครั้งที่เข้าและออกจากสถานที่ทำงาน

 


อยู่มาวันหนึ่ง "ชวนพิศ" ต้องออกไปติดต่อลูกค้าในช่วงบ่าย ซึ่ง "ชวนพิศ" ก็รู้ดีว่ากว่าจะไปถึงบริษัทลูกค้า กว่าจะพูดคุยกับลูกค้าเสร็จก็คงเย็นหรือค่ำ แล้วถ้าต้องฝ่าการจราจรเพื่อกลับมารูดบัตรลงเวลาออกจากบริษัทคงไม่ทันเป็นแน่ ก็เลยฝากบัตรพนักงานไว้กับ "ชิดชม" เพื่อนซี้ในแผนกเดียวกันให้ช่วยรูดบัตรในช่วงเย็นให้ด้วย

ตกเย็น "ชิดชม" ไปรูดบัตรออกจากบริษัททั้งของตัวเองและของ "ชวนพิศ"ปรากฏว่า รปภ.เห็นเข้าว่า "ชิดชม" รูดบัตรสองใบ ก็เลยแจ้งไปที่ฝ่ายบุคคล วันรุ่งขึ้นฝ่ายบุคคลก็แจ้งมาที่หัวหน้างานของ "ชวนพิศ" และ "ชิดชม" ว่า ทั้งสองคนทำผิดกฎระเบียบของบริษัทโดยรูดบัตรแทนกันถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ดังนั้นบริษัทจะต้องเลิกจ้างทั้งสองคนโดยไม่จ่ายค่าชดเชยใด ๆ ทั้งสิ้น

หัวหน้าของ "ชวนพิศ" และ "ชิดชม" ก็เรียกลูกน้องมาสอบถามว่าเรื่องราวเป็นยังไง ทั้งสองคนก็ให้การมาตามที่ผมเล่าให้ฟังมาตั้งแต่ต้นแล้วละครับ และเมื่อหัวหน้างานโทร.ไปหาลูกค้า ทางลูกค้าก็ยืนยันว่า "ชวนพิศ" ไปพบในเรื่องงานของบริษัทจริงกว่าจะประชุมเลิกก็หกโมงเย็นแล้ว อีกทั้ง "ชวนพิศ" และ "ชิดชม" ก็บอกว่าเธอไม่ได้ทุจริตยักยอกเงินทอง หรือมีการจ้างวานให้รูดบัตรอะไรนี่นา แต่ยอมรับว่ารูดบัตรแทนกันจริงเพราะ "ชวนพิศ" ไม่อยากจะฝ่ารถติดเพื่อเข้ามารูดบัตรตอนค่ำที่บริษัท

ประเด็นของเรื่องนี้คือ ตกลงว่าการรูดบัตรแทนกันแบบนี้ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง เพราะเข้าข่ายทุจริตหรือไม่ ?

เรื่องทำนองนี้เคยต้องไปถึงศาลแรงงานมาแล้วนะครับ ผมขอนำคำพิพากษาศาลฎีกามาให้ท่านดูตามนี้

ฎ.3095/2537 "การตอกบัตรแทนกันช่วงเลิกงานไม่ได้ค่าจ้างเพิ่ม นายจ้างไม่เสียหายแต่เป็นการผิดข้อบังคับการทำงานเท่านั้น ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง..."

จากกรณีข้างต้นเมื่อดูจากข้อเท็จจริงแล้ว พนักงานทั้งสองคนมีความผิดในเรื่องรูดบัตรแทนกันจริง แต่ความผิดนี้ "ไม่ร้ายแรง" เพราะไม่ได้เป็นการทุจริตนะครับ

ดังนั้น ในกรณีนี้ข้อแนะนำคือ บริษัทควรออกหนังสือตักเตือนพนักงานทั้งสองคนว่า ห้ามรูดบัตรลงเวลาแทนกันอีก 

ถ้าลงเวลาแทนกันอีกบริษัทจะลงโทษยังไงต่อไป เช่น จะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยเพราะบริษัทได้เคยตักเตือนในเรื่องนี้ไว้แล้ว เป็นต้น

แต่การที่บริษัทจะเลิกจ้างทันทีในครั้งนี้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย ถ้าทั้งสองคนนี้ไปฟ้องศาลแรงงานบริษัทก็เตรียมค่าชดเชยตามอายุงานเอาไว้จ่ายพนักงานทั้งสองคนด้วยก็แล้วกันนะครับ

แล้วแบบไหนล่ะที่บริษัทสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่พนักงานลงเวลาแทนกัน ?

ก็เช่น...บริษัทให้ชวนพิศทำงานล่วงเวลาตั้งแต่ 17.00-22.00 น. แต่พอถึงเวลาทำโอที "ชวนพิศ" กลับแวบไปดูหนังกับแฟนแล้วฝากบัตรให้ "ชิดชม" ช่วยรูดบัตรแทนให้ด้วย แล้วเอาค่าโอทีมาแบ่งกัน

อย่างนี้แหละครับเข้าข่ายทุจริตเพราะรับเงินค่าโอทีของบริษัทไปแล้วแต่ไม่ได้ทำงานให้บริษัทจริง แถมยังเอาเงินค่าโอทีมาติดสินบนเพื่อนให้รูดบัตรกลับบ้านแทนเสียอีก พฤติการณ์แบบนี้แหละครับถึงจะเข้าข่ายทุจริตต่อหน้าที่ และบริษัทสามารถเลิกจ้างทั้งสองคนได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามอายุงาน

ประเด็นหลักที่สำคัญในเรื่องนี้ก็คือ...ให้ดูที่ข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร และข้อเท็จจริงนั้นเข้าข่ายทุจริตเป็นความผิดร้ายแรงจริงหรือไม่

ถึงตรงนี้ผมเชื่อว่าท่านคงเข้าใจความผิดที่เกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้ดีขึ้นแล้วนะครับ

 

 

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 01 ม.ค. 2559

คอลัมน์ เอชอาร์คอร์เนอร์ โดย ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์



04/Jan/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา