ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (justice delayed is justice denied) เฉกเช่นคำขวัญศาลแรงงานที่ว่า "ประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม" ก็ด้วยการตระหนักว่าความยุติธรรมมิใช่เพียงการตัดสินโดยองค์กรตุลาการที่เป็นกลางเท่านั้น หากต้องมิใช่กระบวนการที่ใช้เวลายาวนาน เพราะคำตัดสินที่มาอย่างเชื่องช้าอาจทำให้ผู้ได้รับความเสียหายไม่สนใจต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งยังทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่ความที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน

คลายทุกข์ชาวบ้าน : ถ้าผู้เช่าซื้อ หรือผู้ให้เช่าซื้อตาย สัญญาเช่าซื้อไม่ระงับ

สัญญาเช่าซื้อนั้น วัตถุประสงค์ของสัญญาไม่ได้อยู่ที่การใช้ หรือการได้รับประโยชน์ในรถยนต์ที่ เช่าซื้อเพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่ผู้เช่าซื้อชำระเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วต้องการให้กรรมสิทธิ์ ในรถยนต์ด้วย โดยค่าเช่าซื้อคือราคารถยนต์รวมกับค่าเช่ารถยนต์ ดังนั้น สิทธิการเช่าซื้อจึงไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของคู่สัญญา ด้วยเหตุนี้ เมื่อผู้เช่าซื้อ หรือผู้ให้เช่าซื้อตาย สัญญาเช่าซื้อย่อมไม่ระงับ ทายาทของคู่สัญญาจึงสามารถสืบสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อได้ ถือได้ว่าสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อเป็นทรัพย์มรดก

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2578-2579/2515 วินิจฉัยว่าสัญญาเช่าซื้อมิใช่เป็นสัญญาเช่าธรรมดา แต่มีคำมั่นว่าจะขายทรัพย์โดยมีเงื่อนไขการชำระเงินกันเป็นครั้งคราวรวมอยู่ ด้วยถ้าผู้เช่าซื้อชำระเงินแก่ผู้ให้เช่าซื้อครบถ้วนตามเงื่อนไข ก็ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ซึ่งสิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนี้ มิใช่สิทธิเฉพาะตัว สัญญาเช่าซื้อจึงมีผลที่อาจสืบสิทธิกันได้ เมื่อผู้เช่าซื้อตาย ทายาทจึงสืบสิทธิของผู้เช่าซื้อได้

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2516 วินิจฉัยว่า สัญญาเช่าซื้อก็คือสัญญาเช่าทรัพย์บวกด้วยคำมั่นจะขายทรัพย์สินนั้น สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวผู้เช่า คำมั่นจะขายทรัพย์สินที่ให้เช่าเป็นสิทธิในทรัพย์สินซึ่งอาจตกเป็นมรดกของ คู่สัญญาที่ถึงแก่กรรมได้

 

แต่ถ้าผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อ มีข้อกำหนดในสัญญาเช่าซื้อระบุชื่อบุคคลที่จะรับสิทธิในสัญญาเช่าซื้อแทน ถ้าผู้เช่าซื้อถึงแก่ความตายในระหว่างการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อข้อสัญญาเช่น นี้ ถือได้ว่าเป็นข้อสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ต่อมาหากผู้เช่าซื้อถึงแก่ความตาย บุคคลที่ผู้เช่าซื้อกำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อจะต้องแสดงเจตนาเช่าซื้อตาม สัญญาเช่าซื้อนั้นต่อผู้ให้เช่าซื้อก่อน บุคคลนั้นจึงจะมีสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อนั้นต่อไป

 

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 บัญญัติว่า “ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกไซร้ ท่านว่าบุคคลภายนอกมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้โดยตรงได้ ในกรณีดังกล่าวมาดังวรรคต้นนั้น สิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะ ถือประโยชน์จากสัญญานั้น”

 

มาตรา 375 บัญญัติว่า “เมื่อสิทธิของบุคคลภายนอกได้เกิดมีขึ้นตามบทบัญญัติแห่งมาตราก่อนแล้ว คู่สัญญาหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่”

 

กฎหมายให้ความการคุ้มครองบุคคลภายนอกในเรื่องการเช่าซื้อด้วย ผู้ให้เช่าซื้อต้องพึงระวังการใช้สิทธิของตนในกรณีผู้เช่าซื้อตาย ผู้ให้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยเหตุแห่งการตายของผู้เช่าซื้อไม่ได้ และทายาทของผู้เช่าซื้อควรใช้สิทธิตามกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ผู้ เช่าซื้อผ่อนเงินค่าเช่าซื้อไปแล้วจำนวนมากอีกไม่กี่งวดก็จะครบ จึงต้องรู้ทัน
ผู้ให้เช่าซื้อ

 

แนวหน้า 18 มิ.ย. 2559



19/Jun/2016

เกาะติดข่าวกฎหมาย

>> อ่านต่อ

บทความพิเศษ

 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร 7 มีนาคม 67 : ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร

ผ่อนรถไม่ไหว อยากจะคืนรถทำอย่างไร   ทนายพรนารายณ์ ทุยยะค่าย 6 มีค. 67   &nb...

UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH UPDATE 16-02-66: การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมการทำงานนอกสถานที่ทำงาน , THE STANDARD WEALTH

ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานที่ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านมากขึ้น...

>> บทความอื่นๆ

กฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ประมวลกฎหมายอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
พระราชกำหนด การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมจัดหางาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สำนักงานประกันสังคม
สำนักแรงงานสัมพันธ์
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
ศาลแรงงานกลาง
คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร
คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา